กฟน. ออกแจง หลังแชร์สนั่น ปม บิลค่าไฟรอบปี 2566 มีการใส่ค่า Ft ผิดพลาด

Home » กฟน. ออกแจง หลังแชร์สนั่น ปม บิลค่าไฟรอบปี 2566 มีการใส่ค่า Ft ผิดพลาด

1ใส่ค่าFt

การไฟฟ้านครหลวง กฟน. ออกแจง หลังโลกออนไลน์แชร์สนั่น ปม บิลค่าไฟรอบปี 2566 มีการใส่ค่า Ft ผิดพลาด หลังจากตรวจสอบ พบว่าเป็นข่าวปลอม

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 ทางด้านเว็บไซต์ antifakenewscenter รานงานว่า ตามที่มีการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับประเด็นเรื่องบิลค่าไฟรอบปี 2566 มีการใส่ค่า Ft ผิดพลาด ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย การไฟฟ้านครหลวง กระทรวงมหาดไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

  • รัฐบาล ยัน “ค่าไฟฟ้า” จะทยอยปรับลดลงในอนาคต ชี้ งวด พ.ค.-ส.ค. ค่าFt 4.77 บาทต่อหน่วย
  • รีสอร์ทระยอง เหงื่อตก “ค่าไฟ” พุ่งกระฉูดเฉียดล้านบาท เปิดมา40ปี ไม่เคยเจอ…
  • อั๋น ภูวนาท โชว์บิลค่าไฟ รวมเฉียดแสน! ฟาดรัฐบาลหาเสียง ลั่น มัวเสนอหน้า แต่ไม่ทำ!

จากกรณีที่มีการโพสต์ข้อมูลถึงบิลค่าไฟรอบปี 2566 มีการใส่ค่า Ft ผิดพลาดนั้น ทางการไฟฟ้านครหลวง ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ภาพใบแจ้งค่าไฟฟ้าในโพสต์ดังกล่าวไม่ใช่ใบแจ้งค่าไฟฟ้าในรอบปีปัจจุบัน แต่เป็นใบแจ้งค่าไฟฟ้าในอดีต สังเกตได้จากวันจดหน่วยคือเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ทั้งประเภทบ้านอยู่อาศัย (1.2) และประเภทกิจการขนาดเล็ก (2.1.2) มีอัตราเดียวกัน คือ -0.1160 บาทต่อหน่วย

การเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะว่ามีการคิดค่า Ft ผิด จึงไม่เป็นความจริง อีกทั้ง MEA ได้ตรวจสอบข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้าเจ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าดังกล่าว ยังพบว่าไม่ใช่บุคคลเดียวกับที่เป็นผู้โพสต์ข้อมูล และไม่ได้มีข้อร้องเรียนถึงการจดค่า Ft ผิด อย่างที่ผู้โพสต์ข้อมูลนำมาเผยแพร่ อีกทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าเจ้าของบิลค่าไฟฟ้าดังกล่าว ยังไม่ทราบถึงการนำใบแจ้งค่าไฟฟ้าไปเผยแพร่อีกด้วย

website-stamp-3

ที่ผ่านมา ค่า Ft ของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภท จะมีอัตราเดียวกัน ยกเว้นค่า Ft ประจำเดือน มกราคม – เมษายน 2566 เท่านั้น ที่มีความแตกต่างกันระหว่าง ประเภทบ้านอยู่อาศัย (1.2) อัตรา 0.9343 บาทต่อหน่วย และประเภทกิจการขนาดเล็ก (2.1.2)อัตรา 1.5492 บาทต่อหน่วย เป็นไปตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลในกรณีของผู้ร้องเรียนรายนี้ ยังไม่มีการติดต่อหรือแจ้งส่งข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีการระบุผู้ใช้ไฟฟ้าผิดประเภทให้กับ MEA ทราบอย่างที่กล่าวอ้าง

ทั้งนี้ การจดทะเบียนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า MEA มีหลักเกณฑ์ข้อกำหนด โดยจะตรวจสอบจากชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า และลักษณะการใช้งานสถานที่ใช้ไฟฟ้า สำหรับการจดทะเบียนเป็นประเภท 2.1.2 นั้น MEA จะประเมินสถานที่มีการใช้งานในลักษณะเพื่อประกอบธุรกิจ ธุรกิจรวมกับที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม ไปจนถึงชื่อผู้ใช้ไฟฟ้ามีการจดทะเบียนในนามนิติบุคคล ซึ่งในกลุ่มอาคารห้องชุด ตลอดจนโครงการบ้านจัดสรรที่ไม่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบุคคลธรรมดา ก็อาจไม่ได้รับการเปลี่ยนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าได้

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ภาพใบแจ้งค่าไฟฟ้าในโพสต์ดังกล่าวไม่ใช่ใบแจ้งค่าไฟฟ้าในรอบปีปัจจุบัน แต่เป็นใบแจ้งค่าไฟฟ้าในอดีต สังเกตได้จากวันจดหน่วยคือเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ทั้งประเภทบ้านอยู่อาศัย (1.2) และประเภทกิจการขนาดเล็ก (2.1.2) มีอัตราเดียวกัน คือ -0.1160 บาทต่อหน่วย การเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะว่ามีการคิดค่า Ft ผิด จึงไม่เป็นความจริง

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ