อีลอน มัสก์ ลบทวิตเตอร์บลู “บียอนเซ่-โป๊ปฟรานซิส” หวังทำกำไรจากค่าสมัครรายปี

Home » อีลอน มัสก์ ลบทวิตเตอร์บลู “บียอนเซ่-โป๊ปฟรานซิส” หวังทำกำไรจากค่าสมัครรายปี



บีบีซี รายงานกระแสถกเถียง หลังจาก อีลอน มัสก์ ประธานบริหารสูงสุดของ ทวิตเตอร์ หนึ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยม ลบ “ทวิตเตอร์บลู” เครื่องหมายยืนยันตัวตนบนทวิตเตอร์จากเหล่าคนดัง

เพราะหวังจะทำกำไรโดยเก็บเงินจากการสมัครสมาชิกทวิตเตอร์บลู ส่งผลให้เหล่าคนดังออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าว ด้านผู้เชี่ยวชาญเผยการเปลี่ยนแปลงนี้อาจเป็นการเพิ่มจำนวนมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์

หากถามว่า “บียอนเซ่” นักร้องสาวดีว่าชื่อดัง และ “สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส” ประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีสิ่งใดที่เหมือนกัน คำตอบก็คือในวันนี้พวกเขาไม่ได้รับการยืนยันตัวตนบนทวิตเตอร์อีกต่อไป โดยเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาบริษัทสื่อโซเชียลยักษ์ใหญ่เริ่มทำการลบเครื่องหมายถูกสีน้ำเงินจากหลายพันบัญชี ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงว่าเป็นบัญชีที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว

อีลอน มัสก์ ลบทวิตเตอร์บลู

อีลอน มัสก์ ลบทวิตเตอร์บลู – A flurry of impostor accounts sprung up after the $8 Twitter Blue subscription was launched. Photograph: Andre M Chang/Zuma Wire/Rex/Shutterstock

การเคลื่อนไหวครั้งนี้ถูกดำเนินโดยนายมัสก์ซึ่งพยายามปรับปรุงบริษัทเพื่อทำกำไร ผู้ใช้คนไหนต้องการเครื่องหมายยืนยันตัวตนไว้ข้างๆ ชื่อบัญชีก็ต้องจ่ายเงินสมัครสมาชิกทวิตเตอร์บลู ในราคา 84 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 2,883 บาทต่อปี

จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หลายบัญชีที่เคยได้รับการยืนยันตัวตนบนทวิตเตอร์แห่โพสต์ล้อเลียน ไม่ก็แสดงความอาลัยอาวรณ์ให้กับการสูญเสียทวิตเตอร์บลู โลโล โจนส์ นักกีฬาโอลิมปิกจากสหรัฐอเมริกา ยังได้รับเครื่องหมายยืนยันอยู่ คนต่างพากันตั้งคำถามในการเลือกลบครั้งนี้หรือที่ไม่ลบเป็นเพราะโปรไฟล์การออกเดทของเธอ

ผู้ใช้รายอื่นสังเกตเห็นความตลกร้ายจากกรณีที่เจสัน ซูเดคิส นักแสดงและโปรดิวเซอร์ สูญเสียเครื่องหมายยืนยันตัวตน แต่เท็ด ลาสโซ ซึ่งเป็นตัวละครในนิยายที่เขาแสดงนั้นไม่ได้ถูกลบ ขณะที่ไอซ์-ที แร็ปเปอร์ชาวอเมริกัน กล่าวเหน็บแนมบนความวุ่นวายว่าเรื่องเครื่องหมายนี้ไม่จำเป็น เขาโพสต์ว่า “ความจริงที่เรามานั่งถกเถียงกันเรื่องเครื่องหมายเช็คสีน้ำเงินนี้เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากในสังคม”

อีลอน มัสก์ ลบทวิตเตอร์บลู

อีลอน มัสก์ ลบทวิตเตอร์บลู – What do Beyoncé and Pope Francis have in common? As of today, they are no longer verified on Twitter. The social media giant began removing the once-coveted blue check verification from thousands of accounts on Thursday. /Twitter/

ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ได้เริ่มใช้ฟีเจอร์การยืนยันตัวตนครั้งแรกเมื่อปี 2552 หลังอดีตนักเบสบอลมืออาชีพฟ้องสื่อโซเชียลยักษ์ใหญ่เรื่องบัญชีปลอม เครื่องหมายการยืนยันนี้จึงเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะและความมีชื่อเสียง แต่ในฟีเจอร์ใหม่ของทวิตเตอร์ครั้งนี้ อีลอน มัสก์ต้องการให้ผู้ใช้จ่ายเงินสำหรับการยืนยันตัวตนซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนวัฒนธรรมและอำนาจครั้งใหญ่บนแพลตฟอร์ม

ในช่วงก่อนการใช้ระบบยืนยันตัวตน คานเย เวสต์ ศิลปินดัง, แชค หรือ แชคิล ราชอน โอนีล นักบาสเก็ตบอลเอ็นบีเอ และ ยวน แม็คเกรเกอร์ นักแสดงชาวสกอต เป็นกลุ่มคนดังกลุ่มแรกๆ ที่ออกมาพูดเกี่ยวกับการถูกแอบอ้างบนทวิตเตอร์

และในตอนนี้ที่เครื่องหมายยืนยันตัวตนได้ถูกลบไปแล้ว จำนวนผู้ติดตามของคนดังอาจกลายเป็นสิ่งเดียวที่บ่งบอกถึงความแตกต่างระหว่างคนดังกับนักตัมตุ๋น หลังเครื่องหมายหายไปไม่กี่ชั่วโมงบัญชีผู้ใช้งานในชื่อ ฮิลลารี คลินตัน ซึ่งใช้โปรไฟล์เดียวกันบัญชีจริงของนางคลินตัน อดีตวุฒิสมาชิกสหรัฐ ได้ทวีตว่าเธอจะลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง ด้าน

อีลอน มัสก์ ลบทวิตเตอร์บลู

อีลอน มัสก์ ลบทวิตเตอร์บลู – The move comes as owner Elon Musk attempts to overhaul the social media company to turn a profit. Users who wish to retain the check beside their name must pay $84 a year to subscribe to Twitter Blue. /Twitter/

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวเตือนว่านี่เป็นทวีตประเภทที่จะนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้ นายมัสก์พยายามวางกรอบการตัดสินใจที่จะเลิกใช้เครื่องหมายยืนยันตัวตนเพื่อทำให้เนื้อหาในแอพพลิเคชั่นเป็นประชาธิปไตย

แต่นักวิจารณ์กล่าวแย้งว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะยิ่งเพิ่มข้อมูลที่บิดเบือน เพราะสมาชิกทวิตเตอร์บลูจะได้รับการจัดลำดับความสำคัญไว้ต้นๆ นายมัสก์กล่าวว่าเฉพาะบัญชีที่ได้รับการยืนยันเท่านั้นที่จะปรากฏในหน้าฟีดฟอร์ยู ที่โดดเด่นของแอพพลิเคชั่น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

  • โละอีกรอบ! ทวิตเตอร์ประกาศเลย์ออฟพนักงานกว่า 200 คน-สร้างความมั่นคงให้บริษัท
  • เผยแฮกเกอร์เจาะข้อมูล “อีเมล-โทรศัพท์” ผู้ใช้ทวิตเตอร์กว่า 200 ล้านบัญชี
  • “ทวิตเตอร์บลู” คัมแบ็ก! สาวก “ไอโอเอส” มีเซ็ง ขึ้นค่าบริการพุ่ง 380 บาทต่อเดือน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ