องค์การอนามัยโรค “ยุติเตือนภัยสูงสุด” โรคฝีดาษลิง-หลังติดเชื้อลดฮวบ 90%

Home » องค์การอนามัยโรค “ยุติเตือนภัยสูงสุด” โรคฝีดาษลิง-หลังติดเชื้อลดฮวบ 90%



องค์การอนามัยโรค “ยุติเตือนภัยสูงสุด” – บีบีซี รายงานสถานการณ์ “โรคฝีดาษลิง” ว่าอยู่ในภาวะที่ไม่เป็นอันตรายแล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศยุติการเตือนภัยระดับสูงสุดของโรคนี้ เนื่องจากยอดผู้ป่วยลดลงและมีวัคซีนที่ป้องกันโรคได้แล้ว

องค์การอนามัยโลกประกาศหลังผ่านไปเกือบ 1 ปีจากการถูกคุมคามด้วยโรคฝีดาษลิงว่า “โรคดังกล่าวไม่เป็นภาวะฉุกเฉินในสาธารณสุขทั่วโลกอีกต่อไป” แม้ว่าเชื้อไวรัสยังคงมีอยู่รอบและการระบาดรอบใหม่อาจเกิดขึ้นได้ แต่การเตือนภัยระดับสูงสุดสิ้นสุดลงแล้ว

Monkeypox is no longer a global public health emergency, the World Health Organization (WHO) has said, almost a year after the threat was raised. The global health body’s chief Tedros Adhanom Ghebreyesus called on countries to “remain vigilant”. REUTERS

นพ.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ยังคงเฝ้าระวัง เพราะโรคนี้สามารถติดต่อกันได้หากอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ

โรคฝีดาษลิงมีชื่ออย่างเป็นทางการคือ “เอ็มพ็อกซ์” (Mpox) ซึ่งเกิดจาก “ไวรัสมังกี้พ็อกซ์” (Monkeypox) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสตระกูลเดียวกันกับ “ไข้ทรพิษ” (smallpox) แต่มีความรุนแรงน้อยกว่ามาก

ผู้ติดเชื้อจะมีอาการเป็นไข้ ปวดหัว บวม ปวดหลัง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เมื่อไข้ลดลงผื่นก็จะปรากฏ ส่วนใหญ่จะเริ่มขึ้นบริเวณใบหน้าแล้วค่อยๆ ลามไปบริเวณส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โโยเฉพาะบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า

ปัจจุบันมีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคนี้ได้แล้ว ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลกมีรายงานว่าพบผู้ป่วยมากกว่า 87,000 ราย และผู้เสียชีวิต 140 ราย จาก 111 ประเทศจากการระบาดทั่วโลก

นพ.กีบรีเยซุสกล่าวอีกว่า “มีผู้ติดเชื้อน้อยลงเกือบร้อยละ 90 ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ซึ่งหมายความว่าไม่จำเป็นต้องมีการเตือนภัยระดับสูงสุดอีกต่อไป ในประเทศสหราชอาณาจักร มีรายงานผู้ป่วยเพียงแค่ 10 รายนับตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา”

More than 87,000 cases and 140 deaths have been reported from 111 countries during the global outbreak, according to a WHO count. But almost 90% fewer cases were recorded over the last three months compared with the previous three-month period, meaning the highest level of alert is no longer required, Tedros said. Representational image.(HT_PRINT)

การประกาศดังกล่าวมีขึ้น 1 สัปดาห์ หลังจากองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ประกาศให้สถานการณ์ฉุกเฉินของโควิด-19 สิ้นสุดลงเช่นกัน การประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) เป็นการส่งสัญญาณให้ประเทศต่างๆ ทำงานร่วมกันเพื่อจัดการกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นเช่น การระบาดของโรค

และปัจจุบันนี้มีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศเพียงรายการเดียวที่องค์การอนามัยโลกประกาศคือ “เชื้อไวรัสโปลิโอ” ซึ่งประกาศตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557

ด้าน พญ.เคที ซิงกา หัวหน้าแผนกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของสำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักรกล่าวว่า “หากคุณมีสิทธิ์และยังจำเป็นต้องรับวัคซีน โปรดมาล่วงหน้าในช่วงเดือนฤดูร้อนเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับความคุ้มครองสูงสุด วัคซีนเข็มแรกจะสิ้นสุดในวันที่ 16 มิถุนายน และทั้งสองเข็มจะสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม”

องค์การอนามัยโรค “ยุติเตือนภัยสูงสุด”

องค์การอนามัยโรค “ยุติเตือนภัยสูงสุด” – Declaring a public health emergency of international concern (PHEIC) signals that countries need to work together to manage a shared threat, such as a disease outbreak. There is now just one WHO-declared PHEIC – for poliovirus, which was declared in May 2014. REUTERS

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

  • สหรัฐยังอ่วม “ฝีดาษลิง” ป่วยสะสมทะลุ 28,000 คน-ทั่วโลกกระฉูดเกิน 76,000 ราย
  • จีน เตือนเลี่ยงสัมผัสใกล้ชิด “ชาวต่างชาติ” หลังพบผู้ติดฝีดาษลิงรายแรก

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ