วันลอยกระทง 2565 (Loy Krathong Festival) ตรงกับวันพฤศจิกายนที่ 8 (อังคาร 8 พ.ย.) สำหรับคนที่วางแผนไปท่องเที่ยวและชมเทศกาล ลอยกระทง มาดู ประวัติวันลอยกระทง และ ที่มาวันลอยกระทงในไทย เป็นมาอย่างไร
ประวัติวันลอยกระทง 2565 ในประเทศไทย
การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานทีซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแค้วนทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา
วันลอยกระทง ตรงกับ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือตรงกับเดือนยี่ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา และราวเดือนพฤศจิกายนตามปฏิทินสุริยคติ นอกจากนี้ยังมีการจัดงานลอยกระทงกันขึ้นในหลายๆ พื้นที่ในแถบเอเชีย เช่น อินเดีย เมียนมา จีน
- เปิด คำขอขมาพระแม่คงคา คำอธิษฐาน วันลอยกระทง 2565
- “ประเพณียี่เป็ง” ลอยกระทงแบบฉบับชาวล้านนา วันเพ็ญเดือนสิบสอง
- ชวนดู ‘จันทรุปราคาเต็มดวง’ ในวันลอยกระทง 8 พ.ย. 65 นี้ ห้ามพลาด!
ความเป็นมาของเทศกาลวันลอยกระทง
- การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
- การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทม สินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
- การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไป จำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
- การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทาน ทีเมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
- การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของ พระพุทธเจ้า
- กาลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
- การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้อง ทะเลลึกหรือสะดือทะเล
ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น
ภาคเหนือ นิยมทำโคมลอย เรียกว่า “ลอยโคม” หรือ “ว่าวลม” หรือ “ว่าวไฟ” ทำจากผ้าบาง ๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูนประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย) หรือโคมลอยบนน้ำรูปทรงต่าง ๆ
จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี”ยี่เป็ง”เชียงใหม่ ในทุก ๆ ปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า
จังหวัดลำปาง มีประเพณี”ล่องสะเปา”(สะเปาหมายถึงกระทง) ซึ่งจะมีการประกวดอยู่สองวันด้วยกัน ได้แก่วันแรก”สะเปาน้ำ”จัดขึ้นในแม่น้ำวังและวันที่สองจะมี”สะเปาบก” ซึ่งการประกวดในที่นี้ จะมีตั้งแต่ระดับกลุ่มหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาต่างๆ รวมไปถึงหน่วยการของภาครัฐ แต่ละขบวนจะมีการแสดงต่างๆไม่ว่าจะเป็นฟ้อนรำ ดนตรีพื้นเมือง ความสวยงามของขบวน รวมไปถึงประกวดนางนพมาส ทั้งนี้ ชาวบ้านคนเมืองลำปาง ค่อนข้างให้ความสำคัญแก่ประเพณีล่องสะเปา เนื่องจากเป็นวันที่ทุกคนจะร่วมสนุกสนานครื้นเคร้ง พบปะเพื่อนฝูงที่กลับมาจากการทำงานในต่างจังหวัด และที่สำคัญเป็นเทศกาลกลางแจ้งที่จัดขึ้นท่ามกลางอากาศที่เย็นสบายในทุกๆปี
จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า “กระทงสาย”
จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
จังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็นตัวแทนจัดงานลอยกระทงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีชื่องานประเพณีว่า ” สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป ” ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคาในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง ความพิเศษของงานมีการแสดง แสงสีเสียง ตำนานเมืองร้อยเอ็ด จัดให้มีการตกแต่งบริเวณเกาะบึงพลาญชัย (สถานที่จัดงาน) ให้เป็นเกาะสวรรค์ ตกแต่งสวยงาม ยิ่งใหญ่ มีขบวนกระทงอาเซียน มีการประกวดกระทงประทีปใหญ่ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การประกวดกระทงอนุรักษ์ธรรมชาติ การประกวดขบวนแห่กระทงประทีป 12 หัวเมือง ตามตำนานเมืองร้อยเอ็ด การประกวดรำวงสมมาน้ำคืนเพ็งเส็งประทีป การประกวดธิดาสาเกตนคร และกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย
จังหวัดสกลนคร ในอดีตจะมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกงานนี้ว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกล
ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา
ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่น ๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา
ปี 2565 กทม. จัดงานลอยกระทง ที่ไหนบ้าง
สวนสันติชัยปราการ จัดกิจกรรมภายใต้ เทศกาลสีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง 2565 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 6-8 พฤศจิกายนนี้
สถาบันศิลปวัฒนธรรม ราชมงคลกรุงเทพ ระหว่างวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2565 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ พื้นที่เทคนิคกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ณ บริเวณรอบสระพระพิรุณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
เขตพญาไท
ณ กรมประชาสัมพันธ์
วันที่ 6-7 พ.ย. 65 เวลา 10.00 – 22.00 น.
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 10.00 – 24.00 น.
มีการจําหน่ายสินค้าธงฟ้าราคาประหยัด สินค้าพื้นบ้าน OTOP และการจําหน้ายสินค้ากว่า 150 บูธ การแสดงบนเวที วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์
เขตสาทร
ณ ท่าน้ำวัดยานนาวา
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 15.00 – 02.00 น. มีลานบุญสำหรับพุทธศาสนิกชนได้ร่วมทำบุญ มีการจัดพื้นที่จำหน่ายสินค้าในวัด
เขตบางคอแหลม
ณ เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์
วันที่ 5-8 พ.ย. 65 เวลา 10.00 – 24.00 น. มีการแสดงดนตรีสด (ศิลปิน:เปาวลี Yes Indeed ลาดา อาร์สยาม Better Weather) การแสดงศิลปะ (วิทยาลัยนาฎศิลป์) ตลอดจนมีการจัดจำหน่ายอาหารเครื่องดื่ม
ณ Termanal 21 Rama 3
วันที่ 5-13 พ.ย. 65 เวลา 10.00 – 24.00 น. มีการแสดงดนตรีสด ตลอดจนมีการจัดจำหน่ายอาหารเครื่องดื่ม
ณ วัดบางโคล่นอก
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 09.00 – 23.30 น. มีซุ้มรับประทานอาหาร สอยดาว จำหน่ายกระทง
ส่วนวัดต่าง ๆ และสวนสาธารณะริมแม่น้ำเปิดให้ลอยกระทงตามท่าน้ำ
เขตคลองเตย
ณ วัดสะพาน วันที่ 8 พ.ย. 65
เขตวัฒนา
ณ วัดภาษี และชุมชนข้างสะพานคลองตัน
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป สำหรับที่วัดภาษี จะเป็นการลอยกระทงไร้การสัมผัสน้ำ (มีไม้ชักรอก)
เขตพระโขนง
ณ คลองเฉลิมพระเกียรติ ชุมชนหน้าโรงเรียนบางจาก ซอยสุขุมวิท 56
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป พบกับการประกวดหนูน้อยนพมาศอายุ 5-10 ปี การฉายหนังกลางแปลง การแสดงจากชมรมผู้สูงอายุ การจำหน่ายสินค้าชุมชน
เขตสวนหลวง
ณ วัดปากบ่อ ซอยอ่อนนุช 35
วันที่ 7-8 พ.ย. 65 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป
วันที่ 7 พ.ย. 65 ประกวดแข่งขันคีตะมวยไทย รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี
วันที่ 8 พ.ย. 65 ประกวดหนูน้อยนพมาศ รุ่นอายุ 3-5 ปี
เขตบางนา
ณ ลานอเนกประสงค์ที่ทำการศูนย์การเรียนรู้ ชุมชนหมู่บ้านจัดสรรยาสูบ เขตบางนา
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 17.00 – 21.00 น. มีการจัดงานลอยกระทงในชุมชนหมู่บ้านจัดสรรยาสูบ เพื่อให้เยาวชนและประชาชนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมอันดีงาม เกิดความรักความสามัคคีระหว่างชุมชน โรงเรียน และสังคมรอบข้าง เกิดความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น และสืบสานประเพณีลอยกระทงให้คงอยู่สืบต่อไป
ณ ศูนย์เยาวชนบางนา และบริเวณท่าน้ำวัดบางนานอก ถนนสรรพาวุธ เขตบางนา
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 09.00 – 23.00 น. กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ 1. ขบวนแห่รถบุปผชาติและนางนพมาศของหน่วยงานต่าง ๆ 2. การประกวดหนูน้อยนพมาศ 3. การประกวดประดิษฐ์กระทงจากวัสดุธรรมชาติ ระดับประถมศึกษา 4. การแสดงนาฏศิลป์และดนตรี 5. การจำหน่ายสินค้าในตลาดนัดคนเดิน
ณ ท่าน้ำสรรพาวุธ
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 17.00 – 23.00 น. พบกับการประกวดหนูน้อยนพมาศ พิธีปล่อยขบวนนางนพมาศและขบวนรถบุปผชาติ ขบวนเคลื่อนไปตามเส้นทางถนนสรรพาวุธสู่บริเวณท่าน้ำถนนสรรพาวุธ การแสดงนาภูศิลป์และดนตรี
เขตจตุจักร
ณ สวนป่าประชาชื่น ถนนเทศบาลสงเคราะห์ เขตจตุจักร
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 09.00 – 20.00 น. มีการสาธิตประดิษฐ์กระทง การประกวดกระทง ชมการแสดงลูกทุ่งและลำตัด
เขตลาดพร้าว
ณ วัดลาดพร้าว
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 17.00 – 22.00 น. ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ จำหน่ายกระทง
ณ วัดลาดปลาเค้า
วันที่ 31 ต.ค. – 8 พ.ย. 65 เวลา 17.00 – 22.00 น. ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ จำหน่ายกระทง จำหน่ายสินค้า เครื่องเล่นต่าง ๆ การแสดงจากนักร้องนักดนตรี
ณ บึงน้ำชุมชนเฟรนชิฟ
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 17.00 – 22.00 น. จำหน่ายสินค้า ชมหนังกลางแปลง
เขตหลักสี่
ณ วัดหลักสี่ พระอารามหลวง
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 17.00 – 22.00 น. มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม และการประกวดนางนพมาศผู้สูงวัย
ณ ศูนย์การค้าไอที สแควร์
วันที่ 7 พ.ย. 65 เวลา 13.00 – 18.00 น. ประกวดประดิษฐ์กระทง ชิงทุนการศึกษากว่า 10,000 บาท-
เขตดอนเมือง
ณ วัดเวฬุวนาราม (วัดไผ่เขียว)
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป เป็นการจัดงานลอยกระทงสืบสานประเพณีสมโภช 120 ปี วัดไผ่เขียว
เขตสายไหม
ณ วัดหนองใหญ่
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 16.00 – 24.00 น.
ณ วัดเจริญธรรมาราม (วัดศูนย์)
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 16.00 – 17.00 น.
ณ วัดออเงิน
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 16.00 – 24.00 น.
ณ วัดพรพระร่วงประสิทธิ์
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 17.00 – 24.00 น.
ณ วัดราษฎร์นิยมธรรม (หนองผักชี)
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 17.00 – 24.00 น.
ณ กองทัพอากาศ
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 15.00 – 24.00 น. มีการประกวดหนูน้อยนพมาศ
เขตบึงกุ่ม
ณ วัดพิชัย และวัดนวลจันทร์
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 16.00 – 24.00 น. มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภค/บริโภค รวมถึงกิจกรรมลอยกระทง
เขตมีนบุรี
ณ วัดแสนสุข
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 17.00 – 22.00 น.
การแสดงของนักเรียนโรงเรียนมีนบุรี
การแสดงของชมรมผู้สูงอายุเขตมีนบุรี
การแสดงของชมรมผู้สูงอายุศูนย์บริการสาธารณสุข 43 มีนบุรี
การแสดงของนักเรียนโรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
การแสดงของนักเรียนโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
การแสดงดนตรี/การแสดงศิลปวัฒนธรรม โดยมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตร่มเกล้า
เขตหนองจอก
ณ ชุมชนพิบูลทรัพย์ 17 เเขวงโคกแฝด
ณ ชุมชนแผ่นดินทองวัดสามง่าม แขวงคู้ฝั่งเหนือ
ณ วัดลำพะอง แขวงลำผักชี
ณ วัดวิบูลย์ธรรมาราม แขวงลำต้อยติ่ง
ณ วัดทรพย์สโมสรนกรเกษม
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 18.00 – 24.00 น.
เขตประเวศ
ณ นัมเบอร์วันมาร์เก็ต บางนา-กม.8
วันที่ 3-13 พ.ย. 65 เวลา 17.00 – 22.00 น. การออกร้านจำหน่ายสินค้าโอทอป ของกิน ของใช้ การแสดงคอนเสิร์ต การแสดงดนตรีไทยประยุกต์ หนังกลางแปลง มวยคาดเชือก และการประกวดประดิษฐ์กระทง ชิงเงินรางวัลกว่า 25,000 บาท
เขตธนบุรี
จัดงาน Bangkok River Festival 2022 เทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ครั้งที่ 8 “รักษ์ ณ สายน้ำ” ณ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร และวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร วันที่ 5-8 พ.ย. 65 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป มีบริการเรือรับส่งฟรี (Free Shuttle Boat)
วันที่ 5-7 พ.ย. 2565 เวลา 17.00 น. – 22.00 น.
วันที่ 8 พ.ย. 2565 เวลา 17.00 น. – 24.00 น.
ณ บริเวณท่าน้ำตลาดพลู
วันที่ 6 – 8 พ.ย. 65 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ชวนมาเที่ยวงานวันลอยกระทง เขตธนบุรี พร้อมร่วมสืบสาน อนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของไทย และอัตลักษณ์ท้องถิ่นอันดีงาม โดยภายในงานพบกับ การประกวดหนูน้อยนพมาศ การแสดงทางวัฒนธรรม การออกร้านจำหน่ายสินค้า อาหารอร่อยชวนชิม และผลิตภัณฑ์ชุมชน
เขตจอมทอง
ณ วัดบางขุนเทียนกลาง
วันที่ 7-8 พ.ย. 65 เวลา 13.00 – 23.00 น. กิจกรรมประกอบด้วย แข่งขันเรือพาย แข่งขันตะกร้อลอดบ่วง ประกวดหนูน้อยนพมาศ การแสดงศิลปวัฒนธรรม การแสดงดนตรี และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน
เขตบางพลัด
ณ บริเวณสะพานพระรามแปด
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 18.30 – 20.00 น. งานประเพณีลอยกระทงกรุงเทพมหานคร จัดโดยสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร
เขตตลิ่งชัน
ณ ตลาดน้ำตลิ่งชัน
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 18.00 – 24.00 น. ชมการแสดง ดนตรีลูกทุ่ง สากล และมินิคอนเสิร์ต เลือกซื้อสินค้ามากกว่า 100 ร้านค้า
เขตบางบอน
ณ วัดบางบอน
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 13.00 – 22.00 น. มีการจัดประกวดกระทงสวยงามมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการจัดประกวดหนูน้อยนพมาศ
ณ วัดนินสุขาราม
วันที่ 8 พ.ย. 65 เวลา 16.00 – 22.00 น. มีการประกวดสาวน้อยห้อยยาดม (เพศหญิงที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป)
ณ ตลาดสุขสวัสดี
วันที่ 7-8 พ.ย. 65 เวลา 16.00 – 22.00 น.
วันที่ 7 พ.ย. 65 มีพิธีบวงสรวงที่ศาลพระพรหม
วันที่ 8 พ.ย. 65 งานลอยกระทงที่สระน้ำด้านหลังตลาด
เขตราษฎร์บูรณะ
ณ วัดสารอด
วันที่ 7-8 พ.ย. 65 เวลา 09.00 – 21.00 น. สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ ร่วมกับวัดสารอด และสภาวัฒนธรรมเขตราษฎร์บูรณะ กำหนดจัดงานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2565 ภายใต้แนวคิด สืบสานวัฒนธรรมราษฎร์บูรณะ “ลอยกระทงสายกลางทางสว่าง” ใต้ร่มพระบารมีหลวงพ่อรอด
พบกับกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การประกวดประดิษฐ์กระทง การประกวดหนูน้อยนพมาศ การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย การจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (Bangkok Brand และอาหารดี อาหารอร่อย จำนวน 70 ร้านค้า)
ฟังพระธรรมเทศนาใต้แสงจันทร์เพ็ญ “ทางสายกลาง” โดย พระศรีธีรพงศ์ ดร.เจ้าคณะเขตราษฎร์บูรณะ
นอกจากนี้ ในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ มีการจัดงานลอยกระทง ดังนี้
ณ วัดเกียรติประดิษฐ์ วันที่ 7 – 8 พ.ย. 65
ณ วัดราษฎร์บูรณะ วันที่ 7 – 13 พ.ย. 65
เขตทุ่งครุ
ณ วัดทุ่งครุ
วันที่ 7-8 พ.ย. 65
ณ วัดพุทธบูชา
วันที่ 8 พ.ย. 65
ขอบคุณข้อมูล wikipedia