กว่าจะมีวันนี้ไม่ง่าย กับความพยายามของพ่อลูก ผู้ว่าฯชัชชาติ – แสนปิติ สิทธิพันธุ์

Home » กว่าจะมีวันนี้ไม่ง่าย กับความพยายามของพ่อลูก ผู้ว่าฯชัชชาติ – แสนปิติ สิทธิพันธุ์

ความสำเร็จนั้นมาจากความพยายามไม่ใช่ปาฏิหาริย์ ยินดีกับพ่อลูกที่แข็งแกร่งที่สุด ผู้ว่าฯชัชชาติ และลูกชาย แสนปิติ สิทธิพันธุ์

จากกรณีที่ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.65 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เดินทางไปร่วมงานรับปริญญาลูกชาย แสนปิติ สิทธิพันธุ์ ที่สหรัฐอเมริกา ที่เตรียมจะเข้ารับปริญญาด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้ แจ้งลางานเป็นเวลา 4 วัน ระหว่างวันที่ 9-13 มิ.ย. 65 ซึ่งชาวเน็ตหรือแม้แต่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในอเมริกาก็ร่วมยินดีกันอย่สงล้นหลาม

ขอบคุณรูปภาพ : ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 

ล่าสุด เพจดังอย่าง Poetry of Bitch ได้โพสต์สรุปความสำเร็จของ 2 พ่อลูก ผู้ว่าฯชัชชาติ และลูกชาย แสนปิติ สิทธิพันธุ์ ที่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ทั้งคู่ต้องพยายามและต่อสู้ร่วมกันมาอย่างยาวนาน โดยระบุข้อความว่า

ความสำเร็จที่ไม่ได้เกิดจากปาฏิหาริย์
:

May be an image of 6 people and people standing
ขอบคุณรูปภาพ : Poetry of Bitch
  • 1- “แสนดี” (แสนปิติ สิทธิพันธุ์) บุตรชายของ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” เกิดเมื่อปี 2543 เมื่ออายุได้ 1 ขวบ 2 เดือน มีญาติตั้งข้อสังเกตว่าเรียกแล้วไม่หันเหมือนไม่ได้ยิน ชัชชาติจึงพาแสนดีไปหาหมอและพบว่าลูกหูหนวกในระดับที่หนวกสนิท
  • 2- วินาทีนั้นชัชชาติทั้งเสียใจทั้งช็อก เขาร้องไห้และปฏิเสธความจริง ไปบนบานศาลกล่าวหลายแห่งขอให้ลูกพูดได้และได้ยิน ก่อนที่เขาจะตั้งสติได้และตระหนักว่า “ชีวิตไม่มีปาฏิหาริย์ เราต้องสร้างมันด้วยตัวเอง” เขาจึงตั้งปณิธานว่าจะสู้เพื่อลูก เพื่อให้ลูกได้มีชีวิตปกติที่สุด

และนั่นคือวินาทีเปลี่ยนชีวิตของแสนดี

  • 3- จากนั้นชัชชาติหาหนังสือและงานวิจัยเกี่ยวกับคนหูหนวกมาศึกษามากมาย จนพบว่ามี 3 ทางเลือกสำหรับคนหูหนวก คือ 1. ใช้ภาษามือ 2. ใส่เครื่องช่วยฟังและอ่านปาก 3. ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
  • 4- ชัชชาติอยากให้ลูกได้รับการผ่าตัด แต่เมื่อ 20 ปีที่แล้วเมืองไทยมีการผ่าตัดแบบนี้ไม่มากและยังไม่ประสบความสำเร็จ คือคนที่ผ่าตัดยังคงพูดไม่ได้ เขาจึงตัดสินใจพาลูกไปผ่าตัดที่ออสเตรเลีย
  • 5- ตอนนั้นชัชชาติทำงานเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะลางานไปนาน ๆ ก็ไม่ได้ โชคดีที่รัฐบาลออสเตรเลียเปิดสอบชิงทุนวิจัย และเขาสอบได้ทุนในช่วงเวลาที่ลูกจะได้ผ่าตัดพอดี
  • 6- แสนดีได้รับการผ่าตัดในปี 2545 การผ่าตัดใช้เวลาเพียง 2 ชม. แต่หัวใจของการรักษาอยู่ที่การฝึกฟัง-ฝึกพูดหลังผ่าตัด ซึ่งหมอเปรียบเปรยว่า ถ้าผ่าตัดแล้วไม่ได้ฝึก ก็เปรียบเสมือนการให้เปียโนเด็กไปแล้วไม่ให้เขาฝึกเล่น
  • 7- ความท้าทายอีกอย่างคือการเลือกว่าจะให้แสนดีพูดภาษาไทยหรืออังกฤษ แต่เนื่องจากเครื่องรับเสียงสามารถรับวรรณยุกต์ได้ไม่ละเอียดเท่าหูคนปกติ จึงทำงานดีกว่าในภาษาอังกฤษ ประกอบกับความรู้ต่าง ๆ ในโลกส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ชัชชาติจึงตัดสินใจเลือกภาษาอังกฤษให้ลูก
  • 8- ครูฝึกที่ดีที่สุดของลูกก็คือพ่อแม่ ชัชชาติกับภรรยาต้องเข้าอบรมเพื่อมาฝึกให้ลูก ช่วง 6 เดือนแรกแสนดีไม่ยอมพูดเลย จนมีบางครั้งที่ชัชชาติสงสัยว่าเขามาถูกทางหรือเปล่า แต่เขาเลือกที่จะไม่ยอมแพ้ จนในที่สุดแสนดีก็พรั่งพรูออกมาและกลายเป็นเด็กช่างพูด
  • 9- หลังฝึกพูดอยู่ 1 ปีครึ่ง หลังจากนั้นแสนดีก็สามารถเติบโตและใช้ชีวิตได้อย่างเด็กทั่วไป เขาเรียนรู้ ใช้ชีวิต เล่นกีฬา และเข้าสังคมมีเพื่อนฝูงอย่างคนปกติ แสนดีบอกว่าเขามีพ่อเป็นทั้งเพื่อนสนิทและเป็นต้นแบบ โดยเฉพาะเรื่องของการไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ
  • 10- แล้วในปี 2565 แสนดีในวัย 22 ก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านประวัติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) สหรัฐอเมริกา โดยชัชชาติซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ว่าราชกรุงเทพมหานครบินไปร่วมแสดงความยินดีกับลูกชาย

สรุปและเรียบเรียงจาก:
– Thai PBS: “สู้เพื่อลูก ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” (1 ก.ย. 2558)
– นิตยสาร Hello: https://th.hellomagazine.com/…/chadchart-sittipunt-and…/
– เพจมนุษย์กรุงเทพฯ: https://www.facebook.com/bkkhumans/photos/a.1433077766976167/1646864668930808/?type=3

ขอบคุณข้อมูล Poetry of Bitch

อ่านข่าวที่น่าสนใจ

  • ชัชชาติ ตอบกระแสคนบ่น มาทำไมอเมริกา พร้อมเผยเหตุผลสำคัญ (มีคลิป)
  • ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ถึง สหรัฐอเมริกา สวมกอดลูกชาย ในไลฟ์สุดชื่นมื่นของสองพ่อลูกสุดแข็งแกร่ง
  • เปิดคลิป ชัชชาติ โชว์สกิลไลฟ์สด ช่วงต่อเครื่องสนามบินญี่ปุ่น เตรียมไปอเมริกา

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ