สรุปให้ คดีสิระ-เจนจาคะ ศาลพิพากษาแก้ จำคุก 1 ปี ไม่รอลงอาญา

Home » สรุปให้ คดีสิระ-เจนจาคะ ศาลพิพากษาแก้ จำคุก 1 ปี ไม่รอลงอาญา

คดีสิระ-เจนจาคะ

สรุปให้ คดีสิระ-เจนจาคะ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ สั่งจำคุก 1 ปี ไม่รอลงอาญา ปม หมิ่นประมาท ‘เสรีพิศุทธ์’ เข้าร่วมปฏิวัติรัฐประหาร ปี 2549

วันที่ 13 ธันวาคม 2566 มีรายงานความคืบหน้า คดีสิระ เจนจาคะ ที่ก่อนหน้านี้ศาลพิพากษาคดีหมิ่นประมาณ พล.ต.อ.เสรี ให้จำคุก 8 เดือน ปรับ 4 หมื่น รอลงอาญา โดย ล่าสุด พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อดีตผบ.ตร. หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับ คดีที่ฟ้องนายสิระ อดีตส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ โดยระบุรายละเอียดว่า “วันนี้ (12 ธ.ค. 66) ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ สั่งจำคุกนายสิระ 1 ปี ไม่รอลงอาญา จากเดิมศาลชั้นต้นพิพากษา จำคุก 8 เดือนรอลงอาญา ประเด็นกล่าวหาว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เป็น ผบ.ตร. ได้เพราะร่วมปฏิวัติ”

คดีสิระ-เจนจาคะ (2)

โดย การฟ้องร้องครั้งนี้ สืบเนื่องจาก พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสิระ ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา สืบเนื่องจาก กรณีเมื่อวันที่ (14 พ.ย 2562) นายสิระ ได้ไปออกรายการโทรทัศน์ช่องหนึ่ง พร้อมให้สัมภาษณ์กล่าวถึงประเด็นหนึ่งว่า “พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ได้ตำแหน่งเป็น ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพราะเข้าร่วมปฏิวัติรัฐประหารเมื่อวันที่ (19 ก.ย. 2549) ต่อมา ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ (27 ก.ค. 2565) จำคุกนายสิระ รวม 8 เดือนและปรับ 40,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ทั้งนี้ มีรายงานว่า ภายหลัง นายสิระ ได้ยื่นขอปล่อยชั่วคราว พร้อมหลักทรัพย์ 120,000 บาท ศาลอาญากรุงเทพใต้พิจารณาแล้วอนุญาตให้ประกัน

  • เปิดแชท! เด็ก 17 ส่งหาเพื่อนเข้าช่วย หลังถูก นายสมรักษ์ ลวนลาม
  • หลักฐานใหม่! คลิปเด็ก 17 ยืนรอ ‘สมรักษ์’ หน้าผับ
  • เปิดขั้นตอน! สู้คดี สมรักษ์ คำสิงห์ มีสิทธิชนะหรือต้องจำคุก ข้อหา พรากผู้เยาว์

อย่างไรก็ตามคดีดังกล่าวยังไม่สิ้นสุด ต้องรอดูว่าผลสุดท้ายแล้วจะเป็นอย่างไร ตัวนายสิระ จะถูกจำคุกจริงหรือไม่ เนื่องจาก เมื่อปี 62 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 โดยมีรายละเอียดดังนี้
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยซัวคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2548 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบ้ญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548 ประกอบมาตรา 110 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (บับที่ 30) พ.ศ.2558 ประธานศาลฎีกาออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562”
ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 5.3 แห่งข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

คดีสิระ-เจนจาคะ (1)

“คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 10 ปี ให้ศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้ โดยไม่ต้องมีประกัน หากมีเหตุจำเป็นต้องมีประกันให้กำหนดวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท เว้นแต่มีเหตุสมควรที่จะสั่งเป็นอย่างอื่น ก็ให้ระบุเหตุนั้นไว้โดยชัดแจ้ง”
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ 5.4 แห่งข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2548 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปีขึ้นไป การอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ต้องมีประกันและจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ได้ แต่วงเงินประกันต้องไม่สูงเกินควรแก่กรณี”
ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/1 แห่งข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา
หรือจำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2548
“ในกรณีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นชาวต่างประเทศขอปล่อยชั่วคราว ให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวต่อเมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยยินยอมส่งมอบหนังสือเดินทางไว้ต่อศาลด้วย และให้ศาล
มีคำสั่งห้ามผู้ต้องหาหรือจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ศาลเห็นสมควรเป็นอย่างอื่น
ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยยินยอมส่งมอบหนังสือเดินทางตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลมอบสำเนาหนังสือเดินทางให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยตังกล่าวไว้แทน เมื่อศาลมีคำสั่งห้ามผู้ต้องหาหรือจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้ศาลมีหนังสือแจ้งคำสั่งไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อระงับการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรจนกว่าศาล
จะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น โดยให้ส่งสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ต้องหาหรือจำเลยแนบไปพร้อมด้วย และเมื่อคดีถึงที่สุดหรือไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาหนังสือเดินทางของผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ ให้คืนหนังสือเดินทางแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย พร้อมทั้งแจ้งยกเลิกคำสั่งห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยเร็ว”

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ