เรียกได้ว่าช่วงนี้มีประเด็นหนึ่งที่กำลังเป็นกระแสอย่างมากกับการ เชื่อมจิต สอนธรรมมะ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ต่างเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ ที่ไม่มีใครสามารถตัดสินผิดถูกได้ โดยล่าสุดหากใครติดตามข่าวนี้ ก็คงรู้จักกับ อาจารย์เด็กคนดัง ที่ไม่ว่าจะเลื่อนช่องทางโซเชียลมีเดียไปทางไหน ก็จะเห็น อาจารย์เด็ก คนนี้เต็มไปหมด ซึ่งอาจารย์เด็กรายนี้ เด่นในเรื่องของการ เชื่อมจิต เพื่อเข้าไปในจิตใจและสอนธรรมมะให้กับประชาชน
แต่แล้วเชื่อมจิตไปมาดันมีดรามาขึ้นจนได้ โดยกลุ่มคนที่ปกป้อง อาจารย์เด็กคนดัง นั้นได้ยื่นหลักฐานให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบและเชื่อว่า อาจารย์เด็กคนดัง ถูกผู้ไม่หวังดีบิดเบือนใส่ร้ายโจมตีในเรื่องของการออกสอนธรรมะ นอกจากนั้น อาจารย์เด็ก เองก็ได้ออกมาอธิบายเกี่ยวกับการ เชื่อมจิต ผ่านผู้สื่อข่าวอมรินทร์ว่า
พระพุทธเจ้า ในสมัยที่ท่านสอนธรรมะบางคนบอกว่าไม่มีการเชื่อมจิตแต่ที่จริงมีการเชื่อมจิตครับคือการสอนในสมาธิครับในยุคนั้นไม่มีไมโครโฟนคนมาฟังท่านตั้งร้อยพันคนถ้าท่านไม่สอนในจิตเขาจะได้ยินได้ยังไงคิดกันบ้างสิครับ
ซึ่งหลังจากการชี้แจงนั้น ข้อความนี้ได้รับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไปอย่างแพร่หลายและอีกคนที่ออกมาเคลื่อนไหวประเด็นนี้นั้นคือ แพรรี่ ไพรวัลย์ วรรณบุตร นั้นเอง โดยแพรรี่เองก็ได้ออกมาอธิบายในส่วนที่ตนได้ร่ำเรียนมาและจบการศึกษาถึงขั้น เปรียญ 9 โดยแพรรี่ได้อธิบายเกี่ยวกับสอนธรรมมะของพระพุทธเจ้าในสมัยก่อนว่า
- ชนะคดี! ศาลยกฟ้อง แพรรี่ ไพรวัลย์ ปมหมิ่นประมาท หลวงพี่น้ำฝน
- ซวยอีกดอก! แพรรี่ ไพรวัลย์ อดีตผู้จัดการโกงเงิน ลั่น ติดคุกบานแน่ๆ
- เลิกไม่เลิก? ฟอร์ด พูดแล้วหลัง แพรรี่ ไพรวัลย์ ร้องไห้กลางไลฟ์ ปมส่อแววรักล่ม
พระพุทธเจ้าสอนคนเป็น 100 เป็น 1,000 ได้ยังไง
ประเด็นเรื่องที่ว่าพระพุทธเจ้าสอนธรรมอย่างไร ในกรณีที่คนฟังมีอยู่เป็นร้อยเป็นพัน ท่านได้เชื่อมจิตไปสอนในสมาธิแบบที่มีคนกล่าวอ้างหรือไม่ ดิฉันจะขอตอบให้แบบสั้นๆ นะคะ
เรื่องนี้ ถ้าคนที่เคยศึกษาคัมภีร์ทางศาสนามาบ้าง จะเข้าใจได้ไม่ยากเลยค่ะ มีหลายที่ในพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสชมภิกษุบริษัทของท่านว่ามีกิริยาอาการงดงาม มีความเคารพเป็นอย่างดีทั้งในตัวท่านและในพระธรรมที่ท่านเทศนาสั่งสอน
ในสมัยพุทธกาล เวลาที่ภิกษุบริษัทท่านอยู่ในธรรมสภานะคะและท่านเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมา ทุกรูปจะต้องพร้อมใจกันเงียบเสียงค่ะ นี่ในพระสูตรและอรรถกถากล่าวตรงกันเลย เป็นเรื่องของพุทธคาระวะตา และธรรมคารวะตา (คือการแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้าและพระธรรม)
ในพระสูตรกล่าวถึงขนาดว่า แม้แต่เสียงจามและเสียงไอยังไม่มีเลยนะคะ ดังนัันไม่ต้องพูดถึงว่า พวกภิกษุบริษัทเหล่านั้นจะพากันสนทนาหรือพูดคุยเรื่องอื่นใดๆ ต่อหน้าพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าท่านตรัสเปรียบด้วยว่า ถ้าท่านเงียบอยู่อย่างนั้นตลอดกัป ภิกษุบริษัทก็จะพากันเงียบอยู่อย่างนั้น จะไม่มีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งกล้ายกเรื่องอื่นขึ้นพูดก่อนที่พระองค์จะแสดงธรรม นี่เป็นเรื่องของมารยาทและอาจาระของภิกษุในสมัยพุทธกาลนะคะ
เรื่องนี้ พระเจ้าอาชาตศัตรูก็เคยพูดถึงไว้อย่างอัศจรรย์พระทัยเมื่อคราวที่หมอชีวกโกมารภัจจ์พาพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรกที่อัมพวัน คือที่อัมพวันเนี่ย พระพุทธเจ้าประทับอยู่กับภิกษุ 1,250 รูป แต่พอพระเจ้าอชาตศัตรูไปถึงกลับเหมือนวัดร้าง คือมันไม่มีเสียงเจี๊ยวจ๊าวหรือเสียงพูดคุยกันของภิกษุในอัมพวันนั้นเลย
ความเงียบที่ว่านี้ ถึงกับทำให้พระองค์สงสัยว่า ตัวเองกำลังถูกลวงมาลอบปลงพระชนม์นะคะ
อันนี้ก็เป็นเรื่องของอาจาระและวัตรปฏิบัติในการอยู่อย่างสมณะในสมัยพุทธกาลค่ะ ไม่ใช่เรื่องของความวิเศษอะไรเลย ถ้าใครศึกษาคัมภีร์ทางศาสนามาบ้างจะทราบดีว่า พระพุทธเจ้าตำหนิการอยู่แบบคลุกคลีตีมง (การเผยแผ่ศาสนาในยุคแรกจึงห้ามการไปทางเดียวกัน 2 รูปไงคะ)
นอกจากพระเจ้าอชาตศัตรู ก็ยังมีพระเจ้าปเสนทิโกศลอีกพระองค์หนึ่งนะคะ ที่อัศจรรย์พระทัยกับอากัปกิริยาของภิกษุบริษัทของพระพุทธเจ้า อย่างที่เคยตรัสถึงเหตุที่ทำให้พระองค์มีความเคารพศรัทธาอย่างมากเหลือเกินในพระพุทธเจ้าและพระธรรมว่า
สมัยใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่บริษัททั้งหลายอยู่ ในบริษัทนั้นสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่มีเสียงจามหรือเสียงไอเลย เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มาก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกพระสาวกได้ดีแล้วอย่างนี้ โดยไม่ต้องใช้อาชญา โดยไม่ต้องใช้ศาสตรา ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทรงเคยได้เห็นบริษัทอื่นที่ฝึกได้ดีอย่างนี้ นอกจากบริษัทในพระธรรมวินัยนี้
คือแม้แต่พระองค์เองซึ่งเป็นกษัตริย์ มีอำนาจมากก็ยังไม่อาจฝึกข้าราชบริพารไม่ให้พูดสอดขึ้นในระหว่างที่พระองค์กำลังตรัสอยู่ได้เช่นพระพุทธเจ้าเลย
ดังนั้น การสอนธรรมกับคนจำนวนมากของพระพุทธเจ้า จึงเป็นเรื่องของการสื่อสารจำเพาะ ระหว่างพระองค์กับกลุ่มสาวกบริษัทที่ได้รับการฝึกหัดด้วยพระธรรมวินัยอย่างดีแล้วค่ะ ไม่ใช่เรื่องของการเชื่อมจิต หรือใช้เทคนิคทางอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์แต่อย่างใด
ที่มา : ไพรวัลย์ วรรณบุตร