ที่นี่ที่แรก! ความจริง 8 เรื่อง “ขุนพันธ์” คือใคร ต้นแบบของตำรวจน้ำดี

Home » ที่นี่ที่แรก! ความจริง 8 เรื่อง “ขุนพันธ์” คือใคร ต้นแบบของตำรวจน้ำดี
.jpg

ตำรวจนครบาล ตีแผ่ความจริง 8 เรื่อง “ขุนพันธ์” คือใคร บุคคลผู้เป็นต้นแบบของตำรวจน้ำดีในประเทศไทย ที่ยังคงเป็นตำนานสร้างชื่อ

เพิ่งเข้าโรงกันหมาดๆสำหรับภาพยนต์ที่ครองใจใครหลายๆคนกับเรื่อง ขุนพันธ์ 3 ที่นำแสดงโดยพระเอกหนุ่มหล่ออย่าง อนันดา เอเวอริ่งแฮม พร้อมกับ มาริโอ้ เมาเร่อและโตโน่ ภาคิน เป็นภาพยนตร์ไทยแนวแอคชั่นจากค่ายสหมงคลฟิล์ม ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ที่ได้สองนักแสดงมากฝีมือมารับบทสองโจร ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังระส่ำระสายจากเหตุการณ์ต่างๆ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

โดยหลายคนคงสงสัยกันไม่น้อยว่าใครคือ ขุนพันธ์ มีความสำคัญอย่างไร รู้หรือไม่ว่า ขุนพันธ์ นั้นมีชีวิตจริงๆโดยเพจ สืบสวนนครบาล IDMB นั้นออกมาสรุปเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ของ ขุนพันธ์ ซึ่งเป็นต้นแบบในเรื่องของความซื่อสัตย์และความกล้าหาญ ของตำรวจหลายๆคน

  • ส่องความน่ารัก! คาปิบารา เจ้าของฉายา หมามะพร้าว หมากีวี่ กะปิปลาร้า
  • เวียนเทียนออนไลน์ ได้บุญเหมือนกัน แถมสนุกอีกด้วย! เลือกวัดได้ตามใจศรัทธา
  • แชร์ทริค! 6 วิธีเช็กตรวจ แบงค์ปลอม ธนบัตรปลอม รู้ทันก่อนตกเป็นเหยื่อ

8 เรื่องจริง ขุนพันธ์

1- พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช หรือชื่อเดิมว่า “บุตร พันธรักษ์” เกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรชายของนายอ้วน นางทองจันทร์ พันธรักษ์ โดยขุนพันธ์ใช้ชีวิตอยู่ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2446 – 2549)

2- ขุนพันธ์ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ (โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ในปัจจุบัน) โดยในขณะที่เรียนขุนพันธ์ ได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆนายร้อยในเรื่องของวิชามวยไทย โดยขุนพันธ์​ได้เป็นครูสอนมวยไทยด้วย ขุนพันธ์เรียนอยู่ 5 ปี และได้สำเร็จหลักสูตรในปี พ.ศ. 2472

3- ในช่วงนั้น กรมตำรวจ ได้แบ่งเป็น 2 หน่วยงาน คือ กรมตำรวจภูธร และกรมตำรวจนครบาล โดยตำรวจที่จับกุมโจรผู้ร้าย ไต่สวนสำนวนฟ้องศาลโปลิศสภาโดยตรง เรียกว่า “ตำรวจนครบาล” ส่วนตำรวจที่จับกุมคนร้ายได้แล้วส่งให้อำเภอไต่สวน ทำสำนวนให้อัยการประจำจังหวัดนั้นๆเรียกว่า “ตำรวจภูธร”

4- หลังจากจบการศึกษาแล้ว ทางราชการได้แต่งตั้งให้ขุนพันธ์ไปรับราชการในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อย ที่กองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2473

5- และในปีเดียวกัน ขุนพันธ์ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับหมวดที่กองเมืองจังหวัดพัทลุง และที่แห่งนี้ได้สร้างชื่อเสียงให้กับขุนพันธ์ จากการปราบปรามผู้ร้ายสำคัญของจังหวัดพัทลุง คือ เสือสัง หรือเสือพุ่ม ซึ่งเป็นคนร้ายที่แหกคุกมาจากเมืองตรัง และมีผู้ใหญ่หลายคนในจังหวัดให้การอุ้มชู (คำว่า “เสือ” คือคำเรียกสำหรับ โจร ที่มีการซ่องสุมผู้คนในการกระทำผิดต่างๆ)

6- หลังจากนั้น 1 ปี ขุนพันธ์ก็ได้ปราบผู้ร้ายสำคัญอื่นๆ อีกมากมาย เช่น เสือเมือง เสือทอง เสือย้อย เป็นต้น จากผลงานดังกล่าว ทำให้ขุนพันธ์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนพันธรักษ์ราชเดช” ในปี พ.ศ. 2474

7- การปราบโจรครั้งสำคัญที่ทำให้ขุนพันธ์มีชื่อเสียงมากคือ การปราบ หัวหน้าโจร “อะแวสะดอ ตาและ” ผู้ร้ายทางการเมืองที่นราธิวาส ในปี พ.ศ. 2481 ที่จะเลือกปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยพุทธ แต่ในที่สุดก็ถูก ขุนพันธ์จับกุมได้ โดยขุนพันธ์ได้รับการยกย่องจากชาวบ้านเป็นอันมาก จนได้รับฉายาว่า “รายอกะจิ” หรือที่แปลว่า “อัศวินพริกขี้หนู”

8- หลังจากนั้นขุนพันธ์ฯ ก็ได้ย้ายไปประจำอีกหลายจังหวัด และมีผลงานต่างๆ เรื่อยมา ทั้งการปราบปรามผู้ร้ายหลายคน ทั้ง เสือฝ้าย เสือหวัด เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร เป็นต้น โดยขุนพันธ์ เกษียณอายุราชการยศ พลตำรวจตรี ในปี พ.ศ. 2507

ทั้งนี้ แม้ขุนพันธ์จะเกษียณอายุราชการไปนานแล้ว แต่ความดีของท่านยังอยู่ในความทรงจำของตำรวจทุกนาย ในเรื่องความกล้าหาญ ซื่อสัตย์ การต่อสู้กับความอยุติธรรมในสังคม และเป็นแบบอย่างของตำรวจรุ่นใหม่จนถึงทุกวันนี้

ขอบคุณข้อมูล : สืบสวนนครบาล IDMB

.jpeg

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ