FootNote กาละ เทศะ เวทีปราศรัย "ใหญ่" ดัชนี ชี้วัด จุดต่าง พรรคการเมือง

Home » FootNote กาละ เทศะ เวทีปราศรัย "ใหญ่" ดัชนี ชี้วัด จุดต่าง พรรคการเมือง


FootNote กาละ เทศะ เวทีปราศรัย "ใหญ่" ดัชนี ชี้วัด จุดต่าง พรรคการเมือง

FootNote กาละ เทศะ เวทีปราศรัย “ใหญ่” ดัชนี ชี้วัด จุดต่าง พรรคการเมือง
หากถือว่าวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม เป็นวันสำคัญ เป็นวันในการตัดสินชี้ขาดว่าชัยชนะจาก “การเลือกตั้ง” จะเป็นของพรรคการเมืองใด แนวโน้มที่ใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี
การปราศรัยใหญ่ในวันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคมของแต่ละพรรคการเมืองก็มีความสำคัญเป็นอย่างสูง
สำคัญต่อสถานะและความคาดหมายในทางการเมือง
สะท้อนให้เห็นสถานะและการดำรงอยู่ของแต่ละพรรคการเมืองว่ามีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร จากการเคลื่อนไหวหาเสียงต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ 2 เดือน
อย่างน้อยก็มี 6 พรรคการเมืองที่กำหนดวันปราศรัยใหญ่อันเป็นนัดสำคัญในการปิดท้ายก่อนเข้าสู่ “การเลือกตั้ง” ไม่ว่าจะเป็น 1 พรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะเป็น 1 พรรคก้าวไกล ไม่ว่าจะเป็น 1 พรรครวมไทยสร้างชาติ ไม่ว่าจะเป็น 1 พรรคพลังประชารัฐ 1 ไม่ว่าจะเป็นพรรคภูมิใจไทย ไม่ว่าจะเป็น 1 พรรคประชาธิปัตย์
ภายในการเลือกวัน ภายในการเลือกสถานที่ก็แยกจำแนกชื่อชั้นและสถานะของพรรคการเมืองไปโดยอัตโนมัติ มองจากด้านของ “รัฐบาล” เมื่อมองจากด้านของ “ฝ่ายค้าน”
สถานที่แห่งการจัดและเปิดเวทีปราศรัยเป็นองค์ประกอบหนึ่งซึ่งสะท้อนคุณค่าและความหมายของพรรคการเมือง ยิ่งประสานกับการเคลื่อนไหวเพื่อรับมือกับวันเลือกตั้งยิ่งมีความแหลมคม
อย่าได้แปลกใจหากว่าแต่ละพรรคการเมืองจะส่งแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีลงพบปะประชาชนอย่างถี่ยิบ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางลงพื้นที่พระประแดง สมุทรปราการ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ว่าจะเป็นการเล่นบทพระยาน้อยเดินตลาดของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
รวมถึงการรุกเข้าไปยังสยามพาราก็อนของ นายเศรษฐา ทวีสิน และพรรคเพื่อไทย ขณะที่พรรคก้าวไกลนำเอาระบบ AR ในแบบสตาร์วอร์มานำเสนอให้ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สามารถเดินทางไปปรากฏตัว ประสานกับ “คาราวานก้าวไกล” บนเส้นทางสู่ “ทำเนียบ”
การเลือก “ลานคนเมือง” ของพรรคประชาธิปัตย์ การเลือก “อินดอร์ สเตเดียม หัวหมาก” ของพรรคภูมิใจไทย การเลือก “อาคารกีฬาเวสม์ 2” ของพรรคพลังประชารัฐ การเลือก “อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน” ของพรรครวมไทยสร้างชาติ การเลือก “สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น” ดินแดงของพรรคก้าวไกล และ “อิมแพค อารีนา เมืองทองธานี” ของพรรคเพื่อไทยช
จึงก่อให้เกิดการแบ่งแยก “สถานะ” โดยอัตโนมัติต่อแต่ละพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง “เก่า” ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง “ใหม่”

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ