FootNote:อ่าน #20สิงหาประชาธิปไปต่อ ต่อสถานะ ประยุทธ์ จันทร์โอชา

Home » FootNote:อ่าน #20สิงหาประชาธิปไปต่อ ต่อสถานะ ประยุทธ์ จันทร์โอชา



FootNote:อ่าน #20สิงหาประชาธิปไปต่อ ต่อสถานะ ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ภาพแห่งการชุมนุม #10สิงหาประชาธิปไตยไปต่อ ณ ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต กำลังถูกขยายผลในทางการเมือง

เป็นการขยายผลโดย “วิถีดำเนิน” และ “รูปธรรม” อันปรากฏ ณ เบื้องหน้าความเป็นไปของสังคมไทย

จุดที่ไม่ควรมองข้ามอย่างมีนัยสำคัญก็คือ คำประกาศของการชุมนุมมีความสัมพันธ์กับการชุมนุม ณ วัน ณ สถานที่เดียวกันนี้เมื่อปี 2563 ของ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม”

นี่คือการย้อนกลับไปสู่สภาพการณ์และบรรยากาศแห่งการชุมนุมในลักษณะ “แฟล็ชม็อบ” ตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ไม่ว่าในส่วนกลางหรือในส่วนภูมิภาคเมื่อต้นปี 2563

เป็นตัวอย่างของการชุมนุมโดย “เยาวชนปลดแอก” และทดสอบหยั่งเชิงโดย “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” กระทั่งกลายเป็นปรากฏการณ์ใหญ่และพัฒนาเป็น “คณะราษฎร”

แม้นับแต่ปลายปี 2564 ต่อเนื่องมายังปี 2565 จะมีการใช้มาตรการในทาง “นิติสงคราม” กับผู้ชุมนุมมาตรา 112 และมาตรา 116 อย่างเข้มงวด จนมีผลให้กระแสการเคลื่อนไหวตกต่ำลง

กระนั้น การปรากฏขึ้นของ#10สิงหาประชาธิปไตยไปต่อ คือกระบวนการ “ทดสอบ” อย่างมีนัยสำคัญในทางการเมือง

ภาพจากการชุมนุมเด่นชัดเป็นอย่างยิ่งว่าโดยกระบวนการบริหาร จัดการของ “สภานักศึกษา” ประสานกับ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ได้นำเอาจิตวิญญาณ “เดิม” หวนกลับคืนมา

ไม่ว่าจะมองผ่าน “ปริมาณ” ของผู้เข้าร่วม ไม่ว่าจะมองผ่าน “เนื้อหา” ในทางความคิดผ่าน#10สิงหาประชาธิปไตยไปต่อ

ความหมายของการ “ไปต่อ” นั้นแหละที่ไม่ควรมองข้าม

เนื่องจากแม้จะใช้ชื่อ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” แต่ก็ด้วยองค์ประกอบอย่างใหม่ เป็นการขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ ที่กุมการบริหารจัดการในมหาวิทยาลัย

องค์ประกอบในลักษณาการเดียวกันนี้มิได้ดำรงอยู่เพียงแต่ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เท่านั้น หากแต่เด่นชัดจากหลายแห่ง

ไม่ว่าเป็นมหาวิทยาลัย “ส่วนกลาง” หรือใน “ส่วนภูมิภาค”

ปมเงื่อนสำคัญเป็นอย่างมากก็คือ คำว่า “ไปต่อ” อันเหมือนกับเป็นคำประกาศของการเคลื่อนไหวชุมนุม ดำเนินไปในลักษณะล้อกับคำประกาศเดียวกันของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นี่เท่ากับยังถือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็น “เป้าหมาย”

ความร้อนแรงนี้จะมิได้ดำรงเพียงในกรอบวันที่ 24 สิงหาคม หากแต่ยังต่อเนื่องไปถึง “การเลือกตั้ง” ในอนาคตอันใกล้

บทบาทของ “นิสิตนักศึกษา” จะต้องมี “ส่วนร่วม” แน่นอน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ