“ปัสสาวะ” รักษาโรคได้จริงหรือ? บรรดาลูกศิษย์ “พระบิดา” ถึงขั้นแย่งกันดื่ม!

Home » “ปัสสาวะ” รักษาโรคได้จริงหรือ? บรรดาลูกศิษย์ “พระบิดา” ถึงขั้นแย่งกันดื่ม!

ลัทธิประหลาดอ้างตัวเป็น ฤาษี แจก “ขี้-ฉี่-เสมหะ-ขี้ไคล” ให้ลูกศิษย์กินรักษาโรค ชาวเน็ตสงสัย”กินฉี่แล้วหายป่วยเลยเหรอ?”

จากกรณีชายแก่อ้างตัวเป็นฤาษี แทนตัวเองว่า พระบิดา เปิดสำนักรักษาโรคแบบพิสดาร ด้วยการให้บรรดาลูกศิษย์ ดื่มปัสสาวะ, กินอุจจาระ-เสมหะ และขี้ไคล เป็นยารักษาโรค ซึ่งเปิดกระทำการแบบนี้มาแล้วร่วม 4 ปี

ขอบคุณภาพข่าวจาก Facebook : กัน จอมพลัง

โดยเมื่อวานนี้ (8 พ.ค. 65) หมอปลา และผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ได้นำกำลังบุกตรวจสำนักรักษาโรคแบบพิสดาร ดังกล่าว ท่ามกลางเสียงร้องตะโกนต่อต้าน ของบรรดาลูกศิษย์ที่ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่นำตัว พระบิดา หรือทราบชื่อภายหลังว่า นายทวี หนันรา เจ้าสำนักออกไป

ขอบคุณภาพข่าวจาก Facebook : สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

วันนี้ ทีมงานไบรท์ทูเดย์ (Bright Today) จึงได้รวบรวมบทความจากเว็บโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย และ ศ. กิตติคุณ นพ.เกรียง ตั้งสง่า ที่ได้เขียนถึง “การดื่มปัสสาวะ” ว่าสามารถรักษาโรคได้จริง อย่างที่ พระบิดา สร้างลัทธิความเชื่อแบบผิดๆ ให้กับบรรดาลูกศิษย์ หรือไม่

บทความจาก ศ. กิตติคุณ นพ.เกรียง ตั้งสง่า ได้กล่าวถึงเรื่อง “ดื่มปัสสาวะรักษาโรคได้. จริงหรือ?” เอาไว้ว่า

การดื่มปัสสาวะ ไม่สามารถรักษาโรคได้ เพราะสารต่าง ๆ ที่ร่างกายขับออกมาทางปัสสาวะเกือบทั้งหมด เป็นสารของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญของร่างกาย และร่างกายไม่ต้องการใช้ ถ้าคั่งค้างในร่างกายจะเกิดผลเสียได้

ส่วนประกอบในปัสสาวะมี 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

  • กลุ่มสารหรือของเสียที่ร่างกายกำจัดออก (Metabolic waste) ที่เกิดจากการสันดาปของร่างกาย ได้แก่ ยูรีย จากกรเผาผลาญโปรตีนและกรดอะมิโน กรดยูริค (Urc acid) จากการสลายสารอาหารกลุ่มพิวรีน สารประกอบดิโตน (Ketone compounds) จากการสลายไขมัน
  • ยาหรืออนุพันธ์ของยาที่รับประทานเข้าไป
  • เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่อาจปนเปื้อนออกมา

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดื่มปัสสาวะตนเอง

  • ปัสสาวะมีความเป็นกรด (มีค pH ประมาณ 5 – 6.5) หากดื่มในขณะท้องว่าง อาจทำให้เกิดผลสียต่อเยื่อบุผนังลำคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารได้
  • มีโอกาสได้รับสารอนุพันธ์ของตัวยา (ที่ร่งกายพยายามขจัดออกทางปัสสาวะ) กลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง เพิ่มความเสี่ยงของการสะสมยาในร่างกายมากเกินไป
  • มีความเสี่ยงของเชื้อโรคที่อาจปะปนมากับปัสสาวะ หรือ เกิดจากการจัดก็บปัสสาวะไม่ดี หรือ เก็บไว้เป็นระยะวลานานเกินไป

ประโยชน์อาจพบได้บ้างในปัสสาวะ คือ ฮอร์โมนบางประเภท เช่น urokinase ที่มีคุณสมบัติละลายลิ่มเลือดได้ แต่ก็เป็นปริมาณที่น้อยมาก

การดื่มน้ำปัสสวะ ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี ที่สำคัญคือ ทำให้มีการสะสมของเสีย (ซึ่งร่างกายต้องการขจัดทิ้งไปแล้ว) กลับเข้าไปหมุนเวียนเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งหนึ่ง จึงไม่แนะนำให้ปฏิบัติ

ขอบคุณภาพจาก : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย

ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก Facebook : สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ขนลุก หมอปลา บุกทลาย! ลัทธิประหลาดบูชา พระบิดา กิน ฉี่-อึ-นอนกับศพ 11 ศพ
  • สืบใหม่หมด! อดีต หลวงพี่กาโตะ อาจเคยเบิกเงินวัดนอกเหนือจาก 6 แสนบาท
  • ดราม่า พระเจิมรถ ความขลังติดแน่นทนนาน เจ้าของรถโอดมันลบไม่ออก ชาวเน็ตจวก ฝรั่งไม่เห็นเจิมรถก็ขับกันได้

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ