เพิ่งรู้! เปิดกฎหมาย "ฟ้องชู้" ต้องใช้อะไร เรียกเงินได้แค่ไหน?

Home » เพิ่งรู้! เปิดกฎหมาย "ฟ้องชู้" ต้องใช้อะไร เรียกเงินได้แค่ไหน?
เพิ่งรู้! เปิดกฎหมาย "ฟ้องชู้" ต้องใช้อะไร เรียกเงินได้แค่ไหน?

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีข่าวการหย่าร้างจากการนอกใจมากมาย ซึ่งเราจะเห็นกันบ่อย ๆ ว่าเดี๋ยวนี้คนที่ถูกนอกใจไม่ได้เพียงแค่ฟ้องหย่ากับคู่สมรสเฉย ๆ แต่ยังมีการแก้เผ็ดชู้ด้วยกันฟ้องชู้อีกด้วย ซึ่งหลายคนก็คงอดสงสัยไม่ได้เลยว่าการฟ้องชู้ที่เกิดขึ้นเนี่ยเป็นอย่างไร และชู้ต้องจ่ายค่าเสียหายเท่าไรบ้าง วันนี้ Sanook เลยพาทุกคนมาไข้ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมายการฟ้องชู้ 

เงื่อนไขในการฟ้องชู้ของสามีและภริยาต่างกัน

  • กรณีสามีฟ้องชู้: สามารถฟ้องได้ทันทีหากมีชายใดล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาว
  • กรณีภริยาฟ้องชู้: สามารถฟ้องได้หากมีการคบกับชู้แบบเปิดเผย เช่น เดินจับมือ หรือโอบกอดในที่สาธารณะ

เอกสารและหลักฐานที่ควรเตรียมก่อนยื่นฟ้อง

1.เอกสารทางราชการ

  • หนังสือรับรองการทำงาน สลิปเงินเดือน
  • วุฒิการศึกษา
  • หลักฐานแสดงการประกอบธุรกิจ เช่นหนังรับรองบริษัท
  • หลักฐานอื่นๆที่แสดงถึงรายได้ เช่น หลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินและธุรกิจ
  • หลักฐานที่แสดงถึงฐานะทางสังคม  เช่น นักแสดง แพทย์ นักการเมือง
  • สำเนาใบสำคัญการสมรส
  • สูติบัตรของลูก
  • หลักฐานค่าใช้จ่ายต่างๆ และค่าการศึกษาของบุตร เช่น ใบเสร็จค่าเทอม
  1. เอกสารอื่น ๆ

เนื่องจากการฟ้องชู้ของสามีและภริยามีเงื่อนไขต่างกัน จึงทำให้ตัวหลักฐานในการฟ้องแตกต่างกันไปด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้: 

  • กรณีสามีฟ้องชู้: ต้องเป็นหลักฐานที่ชี้ว่าชู้ล่วงเกินภริยา เช่น ภาพการโอบกอดกันเชิงชู้สาว,แชทคุยเชิงชู้สาว,มีภาพถ่าย วิดีโอ หรือใบเสร็จที่แสดงว่าชู้และภริยาอยู่ด้วยกันสองต่อสอง
  • กรณีภริยาฟ้องชู้: ต้องเป็นหลักฐานที่ชัดเจน มัดตัวได้ว่าทั้งสองคบกันแบบเปิดเผยจริง เช่น การโพสต์รูปคู่เชิงชู้สาวลงโซเชียลมีเดีย, หลักฐานการโอนเงิน ซื้อของ เช่าห้องให้กัน 

 

10 หลักพิจารณาในการกำหนดค่าทดแทน

สำหรับค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละกรณี แต่จะมีหลักคิดตามเกณฑ์ ต่อไปนี้ 

1.ฐานะทางสังคม อาชีพการงาน การศึกษาของทุกฝ่าย ทั้งคู่สมรส และตัวชู้

 หากคู่สมรส หรือชู้ มีอาชีพการงาน การศึกษาที่สูง จะยิ่งค่าทดแทนสูง 

2.ระยะเวลาที่แต่งงานใช้ชีวิตร่วมกัน 

หากแต่งงานนานก็ยิ่งมีค่าทดแทนสูง เนื่องจากเป็นครอบครัวที่มั่นคงแล้ว

3. มีการจัดงานแต่งงานหรือไม่ 

หากมีงานแต่งงานที่ใหญ่โตมากวินิจฉัยในการกำหนดค่าทดแทนให้สูงขึ้น เพราะที่ชู้ไปทำให้ครอบครัวแตกแยก ก็เหมือนทำให้คู่สมรสได้รับความเสียหายอับอายต่อบุคคลอื่นเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีสักขีพยาน ร่วมรู้เห็นกับการสมรสเป็นจำนวนมาก   

4.การมีบุตรร่วมกัน

หากมีบุตรยังเล็กก็สามารถต่อรองค่าเสียได้มากกว่าครอบครัวที่ไม่มีบุตร เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อจิตใจของเด็กได้

5. ลักษณะความสัมพันธ์ในครอบครัวก่อนเกิดเหตุการณ์มีชู้

6. ความเปิดเผยในการเป็นชู้

หากชู้ไม่มีศีลธรรม เปิดตัวต่อสังคมว่าเป็นชู้ ไม่มีความละอายใจ อาจได้รับค่าเสียหายสูงขึ้น

7. ระยะเวลาเป็นชู้

8. ผู้เป็นชู้ รู้หรือไม่ว่ากำลังเป็นชู้

9. ความสำนึกผิดหลังถูกจับได้ว่าคบชู้

10. มีการฟ้องหย่า เพื่อเรียกทรัพย์สินจากอีกฝ่ายร่วมด้วยหรือไม่

หากมีก็อาจต้องดูเรื่องประเด็นการแบ่งสินทรัพย์อีกที

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ