จากรณี ที่เพจ ໂທລະໂຄ່ງ THOLAKHONG ของทาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ออกหนังสือประกาศฉุกเฉิน เตือนประชาชนห้ามลงเล่นน้ำ ห้ามนำปลาที่ตายมาปรุงอาหาร หรือขาย เนื่องจากมีการเกิดอุบัติเหตุ รถบรรทุกสารเคมี ยังไม่ทราบชนิด เกิดพลิกคว่ำ เป็นเหตุให้สารเคมีที่ขนมา รั่วไหลลงแม่น้ำคาน แม่น้ำโขง เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2567 และออกหนังสือเตือนวันที 4 เม.ย. 2567 เรื่องราวดังกล่าวที่เราได้นำมาเสนอมานั้น ตกเป็นที่พูดถึงในโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก จนเกิดความสงสัยขึ้นว่าจะมีผลกระทบอะไรกับทางประเทศไทยหรือไม่
ล่าสุด สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้มีการโพสต์ข้อความ “ประกาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2567 เรื่อง เฝ้าระวังผลกระทบจากคุณภาพน้ำในแม่น้ำโขง” โดยระบุว่า
ตามที่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้มีหนังสือแจ้งเตือนประชาชน เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 แจ้งการเกิดอุบัติเหตุรถบรรทุกสารเคมีพลิกคว่ำ ทำให้กรดซัลฟิวริกไหลลงสู่แม่น้ำคาน บริเวณแขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 ซึ่งระยะทางจุดเกิดเหตุห่างจากอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ประมาณ 293 กิโลเมตร สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง พบว่าสารเคมีจะเคลื่อนตัวผ่านเขื่อนไซยะบุรี วันที่ 5 เมษายน 2567 ซึ่งจะทำให้สารเคมีเจือจางลง จากนั้นจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย (จังหวัดเลย) ช่วงวันที่ 8 – 10 เมษายน 2567 และจากการประเมินใน เบื้องต้น คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำแม่น้ำโขงในประเทศไทย
- โดนด่ายับ! หนุ่มหัวหมอ แชร์ทริค สั่งกาแฟ 2 จ่าย 1 ฉบับมิจฉาชีพ
- ป้าเสื้อม่วง เปิดใจ! หลังทัวร์ลง ปม หยอดทิชชู่ในหม้อชาบู
- กก.ตร. ยัน! ‘บิ๊กโจ๊ก’ ผิดจริง! หลังผลสอบออกมีส่วนรู้เห็นในการฟอกเงิน
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยได้ติดตามสถานการณ์และประสานสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ให้พิจารณาประสาน สปป.ลาว ในการบริหารจัดการน้ำเขื่อนไซยะบุรี เพื่อเจือจางสารเคมี
พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ดำเนินการตรวจวัดคุณภาพน้ำพร้อมรายงานสถานการณ์ให้จังหวัดทราบอย่างต่อเนื่อง เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ดังกล่าว และขอให้จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี โปรดประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง และแจ้งเตือนให้ประชาชนที่สัญจรและประกอบกิจกรรมในบริเวณแม่น้ำโขง การประมงสัตว์น้ำ รวมทั้งผู้ที่อาศัยในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และเตรียมการเฝ้าระวังผลกระทบจากคุณภาพน้ำในแม่น้ำโขง จนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ