29 ตุลาคม 2566 วันสะเก็ดเงินโลก รณรงค์ให้สังคมเข้าใจต่อโรค

Home » 29 ตุลาคม 2566 วันสะเก็ดเงินโลก รณรงค์ให้สังคมเข้าใจต่อโรค

29 ตุลาคม วันสะเก็ดเงินโลก-min (1)

รู้หรือไม่!? วันที่ 29 ตุลาคม ของทุกปี องค์การอนามัยโลก กำหนดให้เป็น วันสะเก็ดเงินโลก เพื่อให้สังคมเข้าใจว่า ไม่ใช่โรคที่น่ารังเกียจ และให้ความเข้าใจต่อ โรคสะเก็ดเงิน มากขึ้น

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้มีมติให้วันที่ 29 ตุลาคม เป็น วันสะเก็ดเงินโลก อย่างเป็นทางการ เมื่อ ค.ศ. 2004 เพื่อรณรงค์ให้สังคมเข้าใจว่า โรคสะเก็ดเงิน ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่มีการติดเชื้อและไม่แพร่เชื้อ แต่ โรคสะเก็ดเงิน รักษาไม่หายขาด โดย โรคสะเก็ดเงิน เรียกอีกชื่อได้ว่า โรคเรื้อนกวาง (Psoriasis) ซึ่งเป็นโรคผิวหนังชนิดเรื้อรัง เกิดจากการหนาตัวของชั้นหนังกำพร้า พบได้ในทุกเพศทุกวัยแต่จะพบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี โรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และสามารถพบได้ทุกแห่งทั่วร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า

  • 24 ตุลาคม วันโปลิโอโลก World Polio Day
  • “หูดหงอนไก่” ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทั้งชาย – หญิง ไม่ควรละเลย
  • รู้หรือไม่!? สวมถุงเท้านอน มีประโยชน์กว่าที่คิด

บริเวณที่พบบ่อย ได้แก่ ศีรษะ ลำตัว แขนขา ข้อศอก หัวเข่า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เล็บมือและเล็บเท้า อาการเป็นมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันในแต่ละคน บางคนเป็น 2-3 จุด แต่บางคนเป็นมากจนลุกลามไปทั่วทั้งตัว ศีรษะเป็นรังแคบาง ๆ หรือเป็นปื้นหนาเป็นหย่อม ๆ เล็บผิดปกติ เล็บล่อนไม่ติดกับผิว หรือหนาขรุขระ

วันสะเก็ดเงินโลก-29-ตุลาคม

สะเก็ดเงิน มีกี่ชนิด?

โรคสะเก็ดเงินสามารถจำแนกออกได้หลายชนิด ตามลักษณะภายนอกที่ปรากฎและการกระจายตัวของโรค ดังต่อไปนี้

  1. สะเก็ดเงินชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis/Psoriasis vulgaris) เป็นสะเก็ดเงินที่มีรอยโรคเป็นผื่นแดง แผ่นหนา ขยายตัวอย่างช้า ๆ ขอบชัด หลายรูปทรง ปกคลุมด้วยขุยขาว หรือขุยเงินบริเวณหนังศีรษะ ลำตัว ข้อศอก แขนขา หลังส่วนล่าง หัวเข่า บริเวณที่มีการเสียดสีกันของผิวหนัง เช่น รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ โดยสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนาเป็นสะเก็ดชนิดที่พบบ่อยที่สุดถึงร้อยละ 80-90 ของสะเก็ดเงินทั้งหมด
  2. สะเก็ดเงินชนิดขนาดเล็ก (Guttate psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินที่มีรอยโรคเป็นผื่นแดง หรือตุ่มแดงแข็งทรงหยดน้ำขนาดเล็กไม่เกิน 1 เซนติเมตร เป็นขุยขาวกระจายตามลำตัว แขนขา และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยพบว่าผู้ที่เป็นสะเก็ดเงินชนิดขนาดเล็กมักมีสาเหตุจากการติดเชื้อสเตปโตคอคคัสในระบบทางเดินหายใจส่วนบนนำมาก่อน
  3. สะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินที่มีรอยโรคเป็นตุ่มหนองอักเสบบวมแดงขนาดเล็ก 2-3 มิลลิเมตรจำนวนมาก กระจายตัวทั่วบริเวณผิวหนัง ลำตัว แขนขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใต้เล็บ มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน หากสะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนองเห่อมาก อาจมีไข้ร่วม
  4. สะเก็ดเงินชนิดผื่นแดงลอกทั้งตัว (Erythrodermic psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินชนิดรุนแรงที่มีรอยโรคเป็นผื่นแดง คัน ลอกเป็นขุยขาวถึงกว่าร้อยละ 90 ของร่างกาย โดยอาจเป็นทั้งแบบสั้นหรือเฉียบพลัน หรือแบบระยะยาวหรือเรื้อรัง และอาจมีอาการเริ่มต้นจากการเป็นสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนานำมาก่อน อาจมีตุ่มหนอง อาการอ่อนเพลีย และมีไข้สูงร่วม
  5. สะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ (Inverse psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินเรื้อรังที่มีรอยโรคเป็นผื่นแดงขึ้นเป็นหย่อม ๆ มักไม่ค่อยมีขุย ขึ้นตามบริเวณผิวหนังที่มีการเสียดสีและมีเหงื่อออก เช่น ตามซอกพับต่าง ๆ ของร่างกาย ใต้ราวนม รักแร้ ขาหนีบ ร่องก้น
  6. สะเก็ดเงินบริเวณมือเท้า (Palmoplantar psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินที่มีรอยโรคเป็นผื่นแดง ขอบชัด ขึ้นที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า เป็นขุยขาว ลอกออกเป็นขุย โดยผื่นสะเก็ดเงินอาจลามมาที่บริเวณหลังมือ หรือหลังเท้าได้
  7. เล็บสะเก็ดเงิน (Psoriatic nails) เป็นสะเก็ดเงินที่เล็บมือ เล็บเท้า ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเล็บ เช่น เล็บผิดรูป เล็บร่อน เล็บเป็นหลุม เล็บหนาผิดปกติ และผิวหนังบริเวณเล็บเปลี่ยนสี
  8. สะเก็ดเงินที่คาบเกี่ยวกับโรคเซ็บเดิร์ม (Sebopsoriasis) เป็นสะเก็ดเงินที่มีรอยโรคเป็นตุ่มบนหนังศีรษะ ใบหน้า หู และหน้าอก ลอกออกเป็นขุยเหลืองของคราบไขมัน อันมีสาเหตุเกิดจากโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic dermatitis) หรือโรคผื่นแพ้ไขมัน

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ