วันที่ 16 ตุลาคม 2566 มีรายงานถึงเรื่อง รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย นโยบายรัฐบาล เข้ามาว่า นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติ อนุมัติค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในเส้นทาง “รถไฟฟ้าสายสีม่วง” ตั้งแต่สถานีคลองบางไผ่ ถึงสถานีเตาปูน และ “รถไฟฟ้าสายสีแดง” ตั้งแต่สถานีกลางบางซื่อ ถึงสถานีรังสิต โดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเดินทางไปเปิดใช้ด้วยตัวเองอย่างเป็นทางการ ที่สถานีกลางบางซื่อ ในเวลา 11.00 น. และพร้อมให้บริการทันที เนื่องจากขณะนี้ระบบมีความพร้อมแล้ว
ก่อนหน้านี้ นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ค่ารถไฟฟ้า หากมีการเปลี่ยนขบวนจาก “สายสีแดง” ไป “สายสีม่วง” หรือ “สายสีม่วง” มา “สายสีแดง” ก็จะยังคงอยู่ในราคา 20 บาทตลอดสาย โดยมาตรการนี้จะมีกรอบระยะเวลาระยะหนึ่ง เนื่องจากเป็นนโยบายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด ส่วนตัวเชื่อว่าจะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าได้มากขึ้น ซึ่งถือเป็นนโยบายของ “พรรคเพื่อไทย” ตั้งแต่หาเสียง ซึ่งรัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณในการอุดหนุน ส่วนต่างค่าโดยสารรถไฟฟ้าปีละประมาณ 130 ล้านบาท
- เท่าพิภพ หนุน! เปิดผับบาร์ ถึงตี 4 แนะ! เพิ่มความเข้มงวด กม.
- จตุพร ลั่น! ‘เศรษฐา’ กระจอก ไม่บอกที่มาเงินแจก 5.6 แสนล้าน
- รัฐบาล ยัน แอปฯเสร็จทัน แจกเงินดิจิทัล พร้อมปรับเงื่อนไขบางข้อ
เส้นทาง รถไฟฟ้าสายสีแดง
รถไฟฟ้าสายสีแดง มีจุดประสงค์ที่จะสร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถเดินทางไปยังบริเวณชานเมืองต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่อยู่ชานเมืองสามารถเดินทางเข้ามาใน กรุงเทพฯ ได้ง่ายยิ่งขึ้น รถไฟฟ้าสายสีแดง ได้เปิดให้บริการโดยแบ่งออกเป็นสายสีแดงเข้ม และสายสีแดงอ่อน ซึ่งในโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะให้บริการเฉพาะสีแดงเข้มเท่านั้น โดยมีรายละเอียดสถานี ดังนี้
- สถานีกลางบางซื่อ (สถานีเริ่มต้น เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และรถไฟทางไกลไปต่างจังหวัด)
- สถานีจตุจักร
- สถานีวัดเสมียนนารี
- สถานีบางเขน
- สถานีทุ่งสองห้อง
- สถานีหลักสี่ (เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพู)
- สถานีการเคหะ
- สถานีดอนเมือง (เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมือง และรถไฟทางไกลไปต่างจังหวัด)
- สถานีหลักหก
- สถานีรังสิต
เส้นทาง รถไฟฟ้าสายสีม่วง
รถไฟฟ้าสายสีม่วง หรือ รถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร โดย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ส่วนต่อขยายเดิมช่วงเตาปูน-บางใหญ่, สายสีม่วงเดิม ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-เตาปูน และสายสีส้มเดิม ช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ)-ราษฎร์บูรณะ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน กลายเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ซึ่งในโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะให้บริการตั้งแต่สถานีคลองบางไผ่ ถึงสถานีเตาปูน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- สถานีคลองบางไผ่
- สถานีตลาดบางใหญ่
- สถานีสามแยกบางใหญ่
- สถานีบางพลู
- สถานีบางรักใหญ่
- สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ
- สถานีไทรม้า
- สถานีสะพานพระนั่งเกล้า
- สถานีแยกนนทบุรี 1
- สถานีบางกระสอ
- สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
- สถานีกระทรวงสาธารณสุข
- สถานีแยกติวานนท์
- สถานีวงศ์สว่าง
- สถานีบางซ่อน
- สถานีเตาปูน (เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน)
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY