ไทยทำได้! อภ. วิจัย ‘ยาเลิกบุหรี่’ คาดผลิตออกสู่ตลาดได้ต้นปี 2567

Home » ไทยทำได้! อภ. วิจัย ‘ยาเลิกบุหรี่’ คาดผลิตออกสู่ตลาดได้ต้นปี 2567

jpg-1

องค์การเภสัชกรรม วิจัยพัฒนายาเม็ด “ไซทิซีน” ยาเลิกบุหรี่ ประหยัดงบค่ายาให้ประเทศ 3-4 เท่า คาดผลิตออกสู่ตลาดได้ต้นปี 2567

เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 66 พญ.มิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2564 พบว่าคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่ถึง 9.9 ล้านคน และเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ ด้วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร ถุงลมโป่งพอง และโรคหัวใจ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย มียา 5 รายการ ที่ใช้สำหรับเลิกบุหรี่ ได้แก่

ยาเม็ด Varenicline, ยาเม็ด Bupropion , นิโคตินทดแทน (Nicotine replacement therapy), ยาเม็ด nortriptyline และยาชงสมุนไพรหญ้าดอกขาว โดยปัจจุบันมีเพียงยา 2 รายการ ที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ ยาเม็ด nortriptyline และยาชงสมุนไพรหญ้าดอกขาว ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยผู้ที่ติดบุหรี่ให้เข้าถึงยาเลิกสูบบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพ และช่วยลดการเกิดโรคดังกล่าว

  • นายอาร์ม งัดปริญญาโชว์ หลังชาวเน็ตติง ไม่เหมาะรับตำแหน่งรมช.ดิจิทัลฯ
  • ไรเดอร์กร่าง! เฉี่ยวคนบนฟุตบาท เจอเตือนหัวร้อน ถอยซ้ำ กลับมาตบหน้าหัน
  • ระทึก กลาโหม เกิดเสียงระเบิดดังสนั่น ก่อน บิ๊กตู่ จะมาประชุม ทหาร – นักข่าว แตกตื่น

วิจัยยาเลิกบุหรี่

องค์การเภสัชกรรม ได้วิจัยและพัฒนายาเลิกสูบบุหรี่ชนิดใหม่ คือ ยาเม็ด ไซทิซิน จีพีโอ (1.5 มิลลิกรัม) เป็นรายแรกในประเทศไทย สำหรับยาเม็ดไซทิซิน จีพีโอ โดยองค์การเภสัชกรรม ร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ศึกษาวิจัยทางคลินิกในมนุษย์ ผลการวิจัยมีความปลอดภัย และมีประสิทธิผลดี ซึ่งอยู่ระหว่างการขออนุมัติทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประเภทยาควบคุมพิเศษ ที่จำหน่ายได้ในสถานพยาบาลเท่านั้น

ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวต่อไปว่า หากเปลี่ยนมาใช้ยาเม็ดไซทิซิน จีพีโอ มาใช้ในการรักษาแทนการรักษาในปัจจุบันที่ใช้ยาเม็ด Varenicline จะทำให้ประหยัดงบประมาณค่ายาต่อคอร์สและลดระยะเวลาในการรักษาได้ 3-4 เท่า รวมทั้งลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้ประมาณ 12 ล้านบาทต่อปี โดยองค์การเภสัชกรรม จะเริ่มผลิตจำหน่ายยาในเดือน มกราคม 2567

การมียาเลิกบุหรี่คุณภาพดีและราคาถูก ผลิตได้เองโดยองค์การเภสัชกรรม จึงนับเป็นก้าวย่างสำคัญของการเลิกบุหรี่ในประเทศไทยที่จะช่วยให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีขึ้นต่อไป

.webp

ขอบคุณข้อมูล : องค์การเภสัชกรรม

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ