ชายเกาหลี วัย50ปี เสียชีวิตจาก “อะมีบากินสมอง” เผยประวัติเดินทางกลับจากไทย

Home » ชายเกาหลี วัย50ปี เสียชีวิตจาก “อะมีบากินสมอง” เผยประวัติเดินทางกลับจากไทย
1อะมีบากินสมอง

ชายเกาหลี วัย50ปี เสียชีวิตจาก “อะมีบากินสมอง” รายแรกของประเทศเกาหลีใต้ ข้อมูลเผยว่า ประวัติเดินทางกลับจากประเทศไทย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของเกาหลีใต้ หรือ KDCA ยืนยันว่า ผู้เสียชีวิต เพศชาย อายุ 50 ปี ข้อมูลเบื้องตันมีประวัติเดินทางกลับจากประเทศไทย และติดเชื้ออะมีบาชนิดนีเกลอเรีย (Naegleria fowleri) ที่สามารถทำลายสมองของมนุษย์ได้ ซึ่งถือว่าเป็นรายแรกของประเทศเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม KDCA ยืนยันว่า ความเสี่ยงที่เชื้อตัวนี้จะแพร่ระบาดจากคนสู่คนต่ำมาก แต่แนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในพื้นที่ที่พบโรคนี้แพร่ระบาด

  • คลิป! กระบะเสียหลัก ประสานมอไซค์ขาดครึ่ง เด็กหญิงวัย 15 ปี ดับ 1 เจ็บสาหัส 1
  • สลด นักท่องเที่ยวต่างชาติตกรถไฟ บริเวณถ้ำกระแซ ล่วง 20 เมตร เสียชีวิต
  • เรื่องราวดีๆ! เจ้าของรถบัสน้ำใจงาม อาสาส่งคนกลับบ้าน ปีใหม่ 2566 ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

อะมีบากินสมอง

ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว รายงานว่า ชายอายุ 50 ปี เดินทางกลับถึงเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 65 หลังจากพำนักอยู่ในไทยเป็นเวลา 4 เดือน เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในวันถัดมา (11 ธ.ค. 65) และเสียชีวิตในวันอังคาร (13 ธ.ค. 65) ชายคนนี้ ถือเป็นผู้ติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบารายแรกของประเทศ นับตั้งแต่มีการพบผู้ติดเชื้อคนแรกของโลก ที่รัฐเวอร์จิเนีย ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2480

Close up x-ray brain concept. 3d render.
  • อะบีมาชนิดนีเกลอเรีย มักพบทั่วไปในแหล่งน้ำจืด เช่น ทะเลสาบ, แม่น้ำ, คลอง, และ บ่อน้ำ
  • อะบีมาชนิดนีเกลอเรีย พบได้ทั่วโลก
  • อะบีมาชนิดนีเกลอเรีย เมื่อเข้าสู่ร่างกายเชื้อตัวนี้จะวิ่งไปยังสมอง และทำลายเนื้อเยื่อสมอง
  • มักจะมีอาการ ปวดศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน คอแข็ง ความรู้สึกตัวลดลง ชักเกร็ง อาการจะค่อยๆ แย่ลงและเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
  • ในปี 2561 มีรายงานผู้ป่วยโรคดังกล่าวอย่างน้อย 381 คนทั่วโลก เช่น สหรัฐ, อินเดีย, และไทย

วิธีการป้องกันติดเชื้ออะมีบา Naegleria fowleri จากการสำลักน้ำ ได้แก่

1.หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำหรือดำน้ำในเเหล่งน้ำธรรมชาติที่ไม่สะอาด
2.ระมัดระวังไม่ให้สำลักน้ำเข้าโพรงจมูก ถ้าสำลักให้รีบสั่งน้ำออกแรงๆทางจมูก
3.รีบล้างจมูกด้วยน้ำต้มสุกที่สะอาดหรือน้ำเกลือ
4.ผู้ที่มีประวัติเสี่ยงร่วมกับมีอาการป่วยน่าสงสัย ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีและแจ้งประวัติการสัมผัสน้ำไม่สะอาด การสำลักน้ำ หรือการใช้น้ำในการล้างจมูก เพื่อประโยชน์ต่อการวินิจฉัย

ทั้งนี่ทางด้านนายเเพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แนะนำว่า ไม่ควรใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่ไม่สะอาดสาดเล่นกัน และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะล้างจมูก ส่วนสระว่ายน้ำควรรักษาความสะอาดตามมาตรฐานตามคำแนะนำของกรมอนามัย

ขอบคุณข้อมูล – สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ