ฮือฮาดวงตาจักรวาลจีน จับภาพ “สนามแม่เหล็ก” นอกทางช้างเผือกครั้งแรก

Home » ฮือฮาดวงตาจักรวาลจีน จับภาพ “สนามแม่เหล็ก” นอกทางช้างเผือกครั้งแรก


ฮือฮาดวงตาจักรวาลจีน จับภาพ “สนามแม่เหล็ก” นอกทางช้างเผือกครั้งแรก

ฮือฮาดวงตาจักรวาลจีน จับภาพ “สนามแม่เหล็ก” นอกทางช้างเผือกครั้งแรก

ฮือฮาดวงตาจักรวาลจีน – ซินหัว รายงานว่า กลุ่มนักดาราศาสตร์นานาชาติใช้ฟาสต์ (FAST) กล้องโทรทรรศน์วิทยุจานรับสัญญาณเดี่ยวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 500 เมตร หรือ “ดวงตาจักรวาลจีน” เพื่อบันทึกภาพสนามแม่เหล็กที่อยู่ใกล้การปะทุสัญญาณวิทยุแบบฉับพลัน (FRB) จากนอกกาแล็กซีทางช้างเผือกสำเร็จเป็นครั้งแรก

ผลการศึกษาที่เผยแพร่ผ่านวารสารเนเจอร์ระบุว่า การปะทุสัญญาณวิทยุแบบฉับพลันเป็นการลุกวาบสว่างที่สุดในอวกาศของคลื่นวิทยุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่กี่มิลลิวินาทีซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบแหล่งที่มา

ฮือฮา! ดวงตาจักรวาลจีนจับภาพ

Using the Five-hundred-meter Aperture Spherical Radio Telescope (FAST), or the “China Sky Eye,” an international group filmed, for the first time, the magnetic ebb and flow nearby of a fast radio burst from out of the Milky Way. Fast radio bursts (FRBs) are the brightest, highly-dispersed millisecond-duration astronomical transients in radio bands with yet unknown origins. /ChinaDaily/

คณะนักดาราศาสตร์จีนและสหรัฐอเมริกาซึ่งนำโดยนักดาราศาสตร์จากหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) ตรวจพบการปะทุ 1,863 ครั้ง ใน 82 ชั่วโมง ตลอด 54 วัน จากแหล่งสัญญาณวิทยุแบบฉับพลันที่เกิดซ้ำ รหัสเอฟอาร์บี 20201124 เอ (FRB 20201124A)

เผยให้เห็นสภาพแวดล้อมสลับซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วฉับพลัน และมีสนามแม่เหล็ก ภายในหน่วยทางดาราศาสตร์ (หรือระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์) ของแหล่งสัญญาณวิทยุข้างต้น

นอกจากนี้คณะนักวิทยาศาสตร์ค้นพบครั้งแรกว่าการวัด การหมุนแบบฟาราเดย์” ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความเข้มข้นของสนามแม่เหล็ก สั่นสะเทือนอย่างผิดปกติในช่วง 36 วันแรก ตามด้วยการคงตัวอีก 18 วัน

การปะทุสัญญาณวิทยุแบบฉับพลันและลุกวาบสิ้นสุดภายใน 72 ชั่วโมง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยตรวจพบมาก่อน ต่อมาทีมวิจัยจึงใช้ “กล้องโทรทรรศน์เคก” (Keck Telescope) ในรัฐฮาวาย ของสหรัฐ สังเกตการณ์กาแล็กซีที่มีขนาดเท่าทางช้างเผือกและอุดมไปด้วยโลหะ

ฮือฮา! ดวงตาจักรวาลจีนจับภาพ

The long-time exposure photo taken on July 25, 2022 shows China’s Five-hundred-meter Aperture Spherical Radio Telescope (FAST) under maintenance in southwest China’s Guizhou Province. (Xinhua/Ou Dongqu)

กาแล็กซีดังกล่าวเป็น “กาแล็กซีกังหันแบบมีคาน” (barred spiral) พบแหล่งกำเนิดการปะทุในภูมิภาคที่มีความหนาแน่นของดาวฤกษ์ต่ำระหว่างแขนกาแล็กซีทั้งสองฝั่ง มีระยะห่างปานกลางจากศูนย์กลางกาแล็กซี และบ่งชี้ว่าอย่างน้อยการปะทุประเภทนี้บางส่วนมีต้นกำเนิดมาจาก “ดาวแมกนีทาร์” (magnetar)

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษานี้เผยว่าแหล่งการปะทุสัญญาณวิทยุแบบฉับพลันที่เกิดซ้ำ รหัสเอฟอาร์บี 20201124เอ ไม่น่าจะเป็นดาวแมกนีทาร์อายุน้อยที่ก่อตัวระหว่างการระเบิดรุนแรงของดาวมวลมาก ซึ่งส่งผลให้เกิดการปะทุของรังสีแกมมาแบบยาวหรือ “ซูเปอร์โนวาสว่างยิ่งยวด” (superluminous supernova) สร้างความซับซ้อนเกี่ยวกับที่มาของการปะทุดังกล่าวมากยิ่งขึ้น

ฮือฮา! ดวงตาจักรวาลจีนจับภาพ

Chinese and U.S. astronomers led by those from the National Astronomical Observatories under the Chinese Academy of Sciences, reported the detection of 1,863 bursts in 82 hours over 54 days from the repeating source FRB 20201124A. (Xinhua)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

  • กล้องโทรทรรศน์จีนใน “แอนตาร์กติกา” เริ่มสำรวจหา “ดาวเคราะห์คล้ายโลก”
  • นักดาราศาสตร์พบกาแล็กซี “ถั่วลันเตา-บลูเบอร์รี-องุ่น” นอกทางช้างเผือก

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ