องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้มีมติให้วันที่ 29 ตุลาคม เป็น วันสะเก็ดเงินโลก อย่างเป็นทางการ เมื่อ ค.ศ. 2004 เพื่อรณรงค์ให้สังคมเข้าใจว่า โรคสะเก็ดเงิน ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่มีการติดเชื้อและไม่แพร่เชื้อ แต่ โรคสะเก็ดเงิน รักษาไม่หายขาด โดย โรคสะเก็ดเงิน เรียกอีกชื่อได้ว่า โรคเรื้อนกวาง (Psoriasis) ซึ่งเป็นโรคผิวหนังชนิดเรื้อรัง เกิดจากการหนาตัวของชั้นหนังกำพร้า พบได้ในทุกเพศทุกวัยแต่จะพบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี โรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และสามารถพบได้ทุกแห่งทั่วร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า
- 24 ตุลาคม วันโปลิโอโลก World Polio Day
- “หูดหงอนไก่” ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทั้งชาย – หญิง ไม่ควรละเลย
- รู้หรือไม่!? สวมถุงเท้านอน มีประโยชน์กว่าที่คิด
บริเวณที่พบบ่อย ได้แก่ ศีรษะ ลำตัว แขนขา ข้อศอก หัวเข่า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เล็บมือและเล็บเท้า อาการเป็นมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันในแต่ละคน บางคนเป็น 2-3 จุด แต่บางคนเป็นมากจนลุกลามไปทั่วทั้งตัว ศีรษะเป็นรังแคบาง ๆ หรือเป็นปื้นหนาเป็นหย่อม ๆ เล็บผิดปกติ เล็บล่อนไม่ติดกับผิว หรือหนาขรุขระ
สะเก็ดเงิน มีกี่ชนิด?
โรคสะเก็ดเงินสามารถจำแนกออกได้หลายชนิด ตามลักษณะภายนอกที่ปรากฎและการกระจายตัวของโรค ดังต่อไปนี้
- สะเก็ดเงินชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis/Psoriasis vulgaris) เป็นสะเก็ดเงินที่มีรอยโรคเป็นผื่นแดง แผ่นหนา ขยายตัวอย่างช้า ๆ ขอบชัด หลายรูปทรง ปกคลุมด้วยขุยขาว หรือขุยเงินบริเวณหนังศีรษะ ลำตัว ข้อศอก แขนขา หลังส่วนล่าง หัวเข่า บริเวณที่มีการเสียดสีกันของผิวหนัง เช่น รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ โดยสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนาเป็นสะเก็ดชนิดที่พบบ่อยที่สุดถึงร้อยละ 80-90 ของสะเก็ดเงินทั้งหมด
- สะเก็ดเงินชนิดขนาดเล็ก (Guttate psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินที่มีรอยโรคเป็นผื่นแดง หรือตุ่มแดงแข็งทรงหยดน้ำขนาดเล็กไม่เกิน 1 เซนติเมตร เป็นขุยขาวกระจายตามลำตัว แขนขา และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยพบว่าผู้ที่เป็นสะเก็ดเงินชนิดขนาดเล็กมักมีสาเหตุจากการติดเชื้อสเตปโตคอคคัสในระบบทางเดินหายใจส่วนบนนำมาก่อน
- สะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินที่มีรอยโรคเป็นตุ่มหนองอักเสบบวมแดงขนาดเล็ก 2-3 มิลลิเมตรจำนวนมาก กระจายตัวทั่วบริเวณผิวหนัง ลำตัว แขนขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใต้เล็บ มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน หากสะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนองเห่อมาก อาจมีไข้ร่วม
- สะเก็ดเงินชนิดผื่นแดงลอกทั้งตัว (Erythrodermic psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินชนิดรุนแรงที่มีรอยโรคเป็นผื่นแดง คัน ลอกเป็นขุยขาวถึงกว่าร้อยละ 90 ของร่างกาย โดยอาจเป็นทั้งแบบสั้นหรือเฉียบพลัน หรือแบบระยะยาวหรือเรื้อรัง และอาจมีอาการเริ่มต้นจากการเป็นสะเก็ดเงินชนิดผื่นหนานำมาก่อน อาจมีตุ่มหนอง อาการอ่อนเพลีย และมีไข้สูงร่วม
- สะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ (Inverse psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินเรื้อรังที่มีรอยโรคเป็นผื่นแดงขึ้นเป็นหย่อม ๆ มักไม่ค่อยมีขุย ขึ้นตามบริเวณผิวหนังที่มีการเสียดสีและมีเหงื่อออก เช่น ตามซอกพับต่าง ๆ ของร่างกาย ใต้ราวนม รักแร้ ขาหนีบ ร่องก้น
- สะเก็ดเงินบริเวณมือเท้า (Palmoplantar psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินที่มีรอยโรคเป็นผื่นแดง ขอบชัด ขึ้นที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า เป็นขุยขาว ลอกออกเป็นขุย โดยผื่นสะเก็ดเงินอาจลามมาที่บริเวณหลังมือ หรือหลังเท้าได้
- เล็บสะเก็ดเงิน (Psoriatic nails) เป็นสะเก็ดเงินที่เล็บมือ เล็บเท้า ที่ทำให้เกิดความผิดปกติของเล็บ เช่น เล็บผิดรูป เล็บร่อน เล็บเป็นหลุม เล็บหนาผิดปกติ และผิวหนังบริเวณเล็บเปลี่ยนสี
- สะเก็ดเงินที่คาบเกี่ยวกับโรคเซ็บเดิร์ม (Sebopsoriasis) เป็นสะเก็ดเงินที่มีรอยโรคเป็นตุ่มบนหนังศีรษะ ใบหน้า หู และหน้าอก ลอกออกเป็นขุยเหลืองของคราบไขมัน อันมีสาเหตุเกิดจากโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic dermatitis) หรือโรคผื่นแพ้ไขมัน
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY