24 ตุลาคม ของทุกปี ถูกประกาศเป็น วันโปลิโอโลก เพื่อเป็นเกียรติแก่ นักวิทยาศาสตร์ (virologist) ชาวอเมริกัน ชื่อ Jonas Edward Salk ซึ่งได้พัฒนาวัคซีน โปลิโอ สำเร็จเป็นคนแรกในปีค.ศ. 1955 หลังจากใช้เวลาทุ่มเทศึกษาถึง 7 ปี ( เอกสารอ้างอิง : ใช้วันที่ 24 ตุลาคม เพื่อเป็นเกียรติเนื่องจากเป็นวันเกิดของ Jonas Salk แต่วันเกิดจริงของDr. Jonas Edward Salk คือ วันที่ 28 ตุลาคม 1914) โดยวัคซีนที่Salk ผลิตได้นั้นเป็นวัคซีนชนิดฉีด ที่ทำจากเชื้อโปลิโอที่ตายแล้ว ก่อนที่จะมีการค้นพบวัค ซีนในสมัยนั้นเป็นช่วงเวลาที่ประชากรทั่วทั้งโลกมีความตื่นตระหนกและกลัวกับปรากฏการหนึ่งที่ทำให้มีการเสียชีวิตและพิการเป็นจำนวนมาก ว่ากันว่าในช่วงเวลาดังกล่าวสิ่งที่ชาวอเมริกันกลัวมากที่สุดรองลงมาจากระเบิดปรมาณูคือ โปลิโอ
- ประวัติ เรือ ‘Doulos Hope’ ร้านหนังสือลอยน้ำ บนเรือสำราญที่ใหญ่ที่สุดในโลก
- 23 ตุลาคม 2566 วันปิยมหาราช 42 ปี แห่งการครองราชย์
- วันนี้วันอะไร? 19 ตุลาคม “วันเทคโนโลยีของไทย” ต้นกำเนิดเทคโนโลยีฝนหลวง
โปลิโอ คืออะไร
โปลิโอ คือโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอ สาย Enterovirus(ต่างจากCOVID-19 ที่เป็นcorona virus) สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้อย่างรวดเร็วผ่านทางการปนเปื้อนน้ำและอาหาร ติดเชื้อไปที่ระบบประสาทโดยเฉพาะไขสันหลังถูกทำลายกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาจหายใจเองไม่ได้ขาอ่อนแรง พิการหรือเสียชีวิตในที่สุด
ความเป็นมาของ โรคโปลิโอ
หากย้อนกลับเมื่อ 126 ปีก่อน มีรายงานการโรคๆหนึ่งในปี ค.ศ.1894 ที่ เมืองVermont สหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิต 18 รายและพิการขาลีบ อีก 132 คน ขณะนั้นยังไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร หลังจากนั้นโรคนี้ก็กระจายไปทั่วโลก ต่อมาจึงทราบว่าโรคนั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอ ทำให้เกิดโรคดังกล่าวเมื่อรู้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ของมนุษยชาติกับเชื้อโรคนี้เพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์มนุษย์
แม้ว่าปัจจุบัน โรคโปลิโอ จะพบน้อยในโลกตะวันตก แต่โรคโปลิโอยังพบประจำถิ่นในเอเชียใต้และทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศปากีสถานและไนจีเรียตามลำดับ นับแต่มีการใช้วัคซีนโปลิโอไวรัสอย่างกว้างขวางในกลางคริสต์ทศวรรษ 1950 อุบัติการณ์ของ โรคโปลิโอ ลดลงอย่างมากในประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศ
ปีค.ศ.2014 Sounth East Asia region ประกอบด้วย11 ประเทศ คือ บังคลาเทศ ภูฐาน เกาหลีเหนือ อินเดีย อินโดนีเซีย มัลดีฟ พม่า เนปาล ศรีลังกา ไทย ติมอร์เลสเต ได้รับการประกาศให้ปลอดจากโปลิโอหลังจากอินเดียได้กำจัดโรคโปลิโอสำเร็จเป็นประเทศสุดท้าย
ปีค.ศ.2020 ข้อมูลถึงวันที่ 21 ตุลาคม 2020 มีรายงานผู้ป่วย โปลิโอ จาก WPV1 132 ราย ใน 2ประเทศ สุดท้ายคือ อัฟกานิสถาน 53 ราย ปากีสถาน 79 ราย ซึ่งการทำงานด้านกำจัดโปลิโอได้ชลอไปตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ.2020 นับแต่มีโรค COVID-19 ระบาด ทำให้ทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะปากีสถานซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อCOVID-19 กว่า300,000 คน อยู่ในสถานการณ์ยากลำบากที่ต้องเผชิญทั้งสองโรคระบาดในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เดือน กรกฎาคม 2020 ทางปากีสถานก็กลับมาทำงานโปลิโอต่อหลังสถานการณ์โควิดเริ่มดีขึ้น
ซึ่งในปีค.ศ.2019-2023 GPEI ได้วางแผนโครงการเพื่อกำจัดโรคโปลิโอต่ออีก 5 ปี (The Polio Endgame Strategy) ต้องใช้เงินทุน 4.2 พันล้านเหรียญ มีผู้แจ้งความประสงค์ร่วมบริจาคไว้แล้ว 3.7 พันล้าน เหรียญ ยังคงขาดอีก500 ล้านเหรียญ
วัคซีนป้องกัน โรคโปลิโอ ในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ
- วัคซีนชนิดรับประทาน เป็นวัคซีนที่เตรียมขึ้นจากเชื้อไวรัสโปลิโอที่มีชีวิตที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง และไม่สามารถก่อโรคในผู้รับวัคซีนที่มีภูมิคุ้มกันปกติ และเนื่องจากเป็นวัคซีนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยการเลียนแบบการติดเชื้อโปลิโอทางธรรมชาติ ทำให้ผู้ได้รับวัคซีนมีภูมิคุ้มกันทั้งในลำไส้และในเลือด
- วัคซีนชนิดฉีด เป็นวัคซีนที่เตรียมขึ้นจากเชื้อไวรัสโปลิโอที่ตายแล้ว ทำให้มีภูมิคุ้มกันเฉพาะในกระแสเลือด ปัจจุบันวัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดฉีด มีทั้งในรูปแบบวัคซีนชนิดเดี่ยว และวัคซีนชนิดรวมกับวัคซีนอื่นๆ เช่น วัคซีนรวมคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก-โปลิโอ, วัคซีนรวมคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก-โปลิโอ-ฮิบ เป็นต้น
ที่มา โรงพยาบาลพญาไท , สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) , wikipedai
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY