ไขข้อสงสัย นายกเถื่อน เปิดกฏหมายรัฐธรรมนูญ2560 ห้ามเป็นนายกเกิน8ปี

Home » ไขข้อสงสัย นายกเถื่อน เปิดกฏหมายรัฐธรรมนูญ2560 ห้ามเป็นนายกเกิน8ปี
1-106

เปิด กฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช2560 เป็นนายกครบ 8 ปีต้องพ้นจากตำแหน่ง ที่มา นายกเถื่อน ร้อนระอุการเมืองไทย

ร้อนระอุ ลุกเป็นไฟกับสถานการณ์ทางการเมืองในตอนนี้ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และดำรงตำแหน่งติดต่อกันมาโดยลำดับ ถึงแม้ กฏหมายรัฐธรรมนูญ จะมีการปรับปรุงในปี 2560 ยังคงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งเมื่อ 9 มิถุนายน 2562 จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2565 เป็นเวลา 8 ปีแล้วที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นายกเถื่อน8
ขอบคุณรูปภาพ : ไทยคู่ฟ้า
  • เปิดแนวทางศาลรัฐธรรมนูญชี้ชะตา ประยุทธ์ ปมวาระนายก 8 ปี
  • ส่องผลงานนายก 8 ปี ประยุทธ์ ฝ่ากระแสกดดัน มุ่งมั่นแก้ไขทุกปัญหา (คลิป)
  • ประยุทธ์ ลั่นเจ็บคอ ปัดตอบปมวาระนายก 8 ปี ยกเลิกภารกิจครม.กะทันหัน

23 สิงหาคม 2565 ประชาชนรวมตัวชุมนุมเพื่อกดดันและขับไล่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ธรรมเนียบรัฐบาล และหลายอีกพื้นที่ อีกฟากฝั่งของ คณะหลอมรวมประชาชน จัดกิจกรรม หยุด8ปี ประยุทธ์ ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ต้องการให้นายกลาออกก่อน 23:59น. ของวันที่23 สิงหาคม 2565 และนำผู้ชุมนุมปักหลักเคาต์ดาวน์นับถอยหลังไล่ นายกเถื่อน จนถึงเวลา 00:00 น.

นายกเถื่อน2
ขอบคุณรูปภาพ : ทะลุฟ้า
นายกเถื่อน3
ขอบคุณรูปภาพ : lawbreker

ที่มา นายกเถื่อน

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำเนินมาถึงปีที่ 8 แล้ว แต่ยังไม่มีวี่แววที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะลาออก โดยตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ2560 มาตรา 158 ระบุไว้ชัดเจนว่า

มาตรา ๑๕๘  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินสามสิบห้าคนประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน
นายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบตามมาตรา ๑๕๙
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง

มาตรา ๑๗๑  พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ

มาตรา ๒๖๔ ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

นายกเถื่อน1-1
ขอบคุณรูปภาพ : เพื่อไทย

โดยเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ สอดคล้องกับถ้อยคำตามลายลักษณ์อักษรของรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 มาตรา 171 และมาตรา 264 ยากที่จะปฏิเสธได้ว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 สิงหาคม 2565
เป็นข้อถกเถียงกันเรื่องวันดำรงตำแหน่งว่า ให้เริ่มนับตั้งแต่วันเป็นนายกรัฐมนตรีหลังเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 คือมิถุนายน 2562 ถ้าสมัยนี้อยู่จนครบวาระในปี 2566 จะเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยหน้าได้อีก 1 สมัย ถึงปี 2570 กรณีเป็นนายกรัฐมนตรี 8 ปี จะเป็นวิกฤตของประเทศอีกครั้งหนึ่ง และอาจนำมาซึ่งความไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมืองขึ้น

ศาลรัฐธรรมนูญคือ องค์กรเดียวที่จะชี้ขาดเรื่องนี้ได้ และไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยออกมาอย่างไร ขัดหรือค้านสายตาของสาธารณชนหรือไม่อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยนั้นก็เป็นอันสิ้นสุด

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ