เปิดโทษ กฎหมายเยาวชน เมื่อกระทำผิดจะต้องรับโทษอย่างไร?

Home » เปิดโทษ กฎหมายเยาวชน เมื่อกระทำผิดจะต้องรับโทษอย่างไร?
กฎหมายเยาวชน-ปก-min

เปิดโทษ พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565 เมื่อ ‘เยาวชนกระทำผิด’ จะต้องรับโทษอย่างไร?

เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งในข้อถกเถียงของสังคมเกี่ยวกับ การลงโทษเด็ก หรือ เยาวชนที่กระทำผิดกฎหมาย ในหลายคดีเกิดเป็นความเสียหายทั้งต่อทรัพย์สิน ร่างกาย และชีวิต แต่ด้วยความเป็นเด็กและเยาวชน “เหตุกราดยิงที่พารากอน” ศูนย์การค้าชื่อดังใจกลางกรุง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ที่มีเสียงดังคล้ายเสียงปืนหลายนัด ภายในห้างดัง ทำให้ลูกค้าทั้งชาวไทย และต่างชาติ ต่างวิ่งหนีกันสุดชีวิต ท่ามกลางความชุลมุน และยังทำให้ตอนนั้นทางโลกออนไลน์ออกมาพูดถึงจนติดเทรนทวิตเตอร์อันดับ 1

ซึ่งหลังจากที่เกิดเหตุการณ์นั้น ทางเจ้าหน้าได้ทำการจับกุมผู้ก่อเหตุ และพบว่าเป็นเยาวชนชาย อายุ 14 ปี มีอาการหวาดระแวงว่าจะมีคนตามมาทำร้าย โดย พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ให้สัมภาษณ์ ระบุว่าผู้ก่อเหตุมีอาการทางจิตเวช รักษาที่โรงพยาบาลราชวิถี อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถสอบปากคำผู้ก่อเหตุได้มากนัก แต่ผู้ก่อเหตุอ้างว่ามีคนสั่งว่าต้องยิงใคร ส่งผลให้เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก

และอีกเหตุการณ์ที่เป็นข่าวที่สร้างความตกใจ ให้กับสังคมอีกครั้ง กรณีคดี “ป้าบัวผัน” สาวใหญ่ วัย 47 ปี ถูกฆาตกรรมทิ้งในสระน้ำ ข้างโรงเรียนที่ จ.สระแก้ว ซึ่งทีแรกตำรวจได้มีการจับกุมสามีผู้ตาย สิ่งที่ทำให้น่าตกใจคือ ผู้ที่ลงมือก่อเหตุครั้งนี้ เป็นกลุ่มเยาวชนที่มีอายุเพียง 13 – 16 ปีเท่านั้น

จากข้อกำหนดทางกฎหมายหลายฉบับ เกี่ยวกับการรับโทษทางอาญาของเยาวชน ทำให้เกิดเงื่อนไขในเรื่องของอายุเยาวชน ที่ทำให้ไม่ต้องรับโทษเท่าผู้ใหญ่ คำถามเรื่องการแก้ไขกฎหมาย ลดอายุอาชญากรรมเด็ก จึงถูกนำกลับมาพูดในสังคมอีกครั้ง

เด็กหรือเยาวชน ถ้าถูกจับในคดีอาญา กฎหมายจะระบุโทษ และดำเนินคดีอย่างไร?

เด็กและเยาวชน เมื่อกระทำความผิดจะได้รับโทษไม่เท่ากับผู้ใหญ่ แต่เคยสงสัยไหมว่าในทางกฎหมายแล้วจำแนกเกณฑ์อายุของผู้กระทำความผิดว่าเป็นเด็กหรือเยาวชนอย่างไร และแต่ละช่วงวัยได้รับโทษแตกต่างกันอย่างไรบ้าง บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจ พร้อมอัปเดตบทลงโทษล่าสุดให้ทราบกัน

การจำแนกเกณฑ์อายุเด็กหรือเยาวชน

ในกระบวนการและขั้นตอนการจับกุมเด็กและเยาวชน มีกฎหมายที่ใช้หลักๆ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565

  • ลือหึ่ง! สามีป้าบัวผัน ถูก ตร.นำตัวออกหลัง สภ. หลบหนี ‘นักข่าว’ จริงหรือ?
  • สถาบันวัคซีน แถลงข้อเท็จจริง สถานการณ์ภาวะ ‘ลองโควิด-19’
  • เปิดคลิป ป้ากบ ก่อนดับสลด ชาวบ้านเผยนิสัย ป้าเป็นคนจิตใจดีมาก

นอกจากนี้ยังมีการกำหนดนิยามของคำว่า เด็ก และ เยาวชน ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 4 ดังนี้

  • เด็ก หมายความว่า บุคคลอายุไม่เกิน 15 ปี บริบูรณ์
  • เยาวชน หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปี บริบูรณ์

การแบ่งเกณฑ์อายุเด็กในกรณีกระทำความผิดอาญา

เด็กหรือเยาวชนเมื่อทำผิดจะถูกดำเนินคดีภายใต้ศาลเยาวชนและครอบครัว จะมีขั้นตอนการดำเนินคดีแตกต่างไปจากผู้ใหญ่ โดย พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ที่เป็นกฎหมายกำหนดขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดีกับเด็กหรือเยาวชน มีเจตนารมณ์และบทบัญญัติที่มุ่งฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนที่ทำความผิดทางอาญามากกว่ามุ่งลงโทษ ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำแนกตามเกณฑ์อายุเด็กหรือเยาวชน ดังนี้

อายุต่ำกว่า 12 ปี
ตำรวจส่งเรื่องแจ้งไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองเด็กจะดำเนินการดังนี้

  • สืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้อง แล้วกำหนดแนวทางคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
  • จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแผนแก้ไขฟื้นฟูเด็ก วิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพ การยุติการคุ้มครอง และการเยียวยาผู้เสียหาย

อายุ 12 – 15 ปี
ตำรวจส่งเรื่องแจ้งผู้ปกครองและสถานพินิจฯ เพื่อดำเนินการสืบเสาะ และจัดทำแผนแก้ไข้บำบัดฟื้นฟูส่งให้ตำรวจ/อัยการ/ศาล ภายใน 30 วัน แล้วนำตัวเด็กส่งต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ภายใน 24 ชั่วโมง หากศาลเยาวชนและครอบครัวพิจารณาคดี เห็นว่ายังไม่เห็นสมควรพิพากษาลงโทษ จะดำเนินการต่างๆ คือ

  • ว่ากล่าวตักเตือน
  • ปล่อยตัวชั่วคราว (มี/ไม่มีประกัน)
  • ส่งตัวเด็กไปยังสถานศึกษา/ฝึกอบรม
  • มอบตัวเด็กให้อยู่กับบุคคล/องค์กรที่ศาลเห็นสมควร

***ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขภายในระยะเวลาที่กำหนด

อายุ 15 – 18 ปี
เมื่อตำรวจดำเนินการส่งตัวมาที่สถานพินิจ จะมีการส่งเรื่องต่อไปยังอัยการและจะนำตัวเด็กส่งต่อศาลเยาวชนและครอบครัวภายใน 24 ชั่วโมง

  • หากศาลเห็นว่า ยังไม่เห็นสมควรพิพากษาลงโทษ จะให้ดำเนินการเช่นเดียวกับเด็กและเยาวชนอายุ 12 – 15 ปี
  • หากศาลเห็นว่า เห็นสมควรพิพากษาลงโทษ จะดำเนินการดังนี้

– ลดโทษกึ่งหนึ่งของโทษทางกฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดในคดีอาญา
– สั่งโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้ (ถ้าเด็กหรือเยาวชนที่ทำความผิด มีร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และนิสัยเหมือนผู้ใหญ่)

จากรายละเอียดการจำแนกเกณฑ์อายุเด็กและเยาวชน และแนวทางดำเนินการข้างต้น เด็กและเยาวชนแม้ไม่ได้รับโทษอาญาแต่ยังต้องรับผิดในทางแพ่งโดยพ่อแม่ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย ดังนั้นเราในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่จึงควรช่วยกันสอดส่อง อบรม ดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เด็กและเยาวชนของเราเติบโตไปอย่างมีคุณภาพ ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคมส่วนรวม

พระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเกณฑ์อายุเด็กในกรณีที่เด็กกระทำความผิดอาญา

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565 (เพิ่มเกณฑ์อายุเด็กในกรณีที่เด็กกระทำความผิดอาญา) มีสาระสำคัญว่าด้วย การปรับเพิ่มเกณฑ์อายุขั้นต่ำในการรับโทษทางอาญาของเด็กจาก 10 ปี ไปเป็น 12 ปี เพื่อให้มีความเหมาะสมกับเหตุผลทางการแพทย์ มาตรฐานของรัฐธรรมนูญ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก รวมถึงการปกป้องคุ้มครองเด็ก และการแก้ไขปัญหาเด็กตามกลไกการทบทวนสิทธิมนุษยชนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ การสงเคราะห์ คุ้มครองสิทธิ และสวัสดิภาพของเด็ก โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ เพื่อให้เด็กที่อายุไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องรับโทษทางอาญาหรือเป็นผู้ต้องหาที่อ่อนความรับผิดทางอาญาสามารถออกจากกระบวนการยุติธรรมได้เพิ่มขึ้น และได้รับการปฏิบัติในการคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมกับลักษณะของการกระทำความผิดของเด็กตามหลักอาชญาวิทยา ทั้งนี้ “การนำเด็กเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตั้งแต่อายุยังน้อย จะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี” ซึ่งหากมีการปรับเพิ่มเกณฑ์อายุขั้นต่ำในการรับโทษทางอาญา จาก 10 ปี เป็น 12 ปี จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งใน 3 มิติ ได้แก่ ต่อตัวเด็ก ต่อครอบครัวและสังคม และต่อประเทศชาติ

กฎหมาย-01-min
ที่มา : สำนักงานกิจการยุติธรรม

โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา 2 มาตรา (มาตรา 73 และมาตรา 74) ได้แก่
1) การแก้ไขเพิ่มเติมเกณฑ์อายุเด็กซึ่งไม่ต้องรับโทษ แม้ได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด จากอายุยังไม่เกิน 10 ปี เป็นอายุยังไม่เกิน 12 ปี (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๗๓ วรรคหนึ่ง)
2) การแก้ไขเพิ่มเติมเกณฑ์อายุเด็กในการพิจารณาเพื่อใช้วิธีการสำหรับเด็ก จากอายุกว่า 10 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี เป็นอายุกว่า 12 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 74)

ตารางเปรียบเทียบ (อ่านที่นี่)

ที่มา : สำนักงานกิจการยุติธรรม , ธรรมนิติ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ