เปิดภาวะหายาก! 'มือกระจก' มีนิ้วเยอะโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่รักษาหายได้

Home » เปิดภาวะหายาก! 'มือกระจก' มีนิ้วเยอะโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่รักษาหายได้


เปิดภาวะหายาก! 'มือกระจก' มีนิ้วเยอะโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่รักษาหายได้

เปิดภาวะหายาก! ‘มือกระจก’ (Mirror hand syndrome) มีนิ้วเยอะตั้งแต่เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่รักษาหายได้ด้วยการผ่าตัด

กระแสไวรัลในโลกออนไลน์กำลังฮือฮากับสภาวะทางการแพทย์หายากเรียกว่า มือกระจก (Mirror hand syndrome) ในทางการแพทย์เรียกว่า ulnar dimelia โดยเป็นความพิการแต่กำเนิดที่หายากมาก ซึ่งเกิดมาพร้อมกับนิ้ว 7-10 นิ้วในมือข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ในบางกรณีแขนและข้อศอกของคุณอาจได้รับผลกระทบ

ภาวะนี้จะแสดงนิ้วมือดูเหมือนภาพสะท้อนในกระจกจากจุดกึ่งกลางของมือมีสามนิ้ว ได้แก่ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย โดยปกติผู้ที่มีภาวะโรคนี้จะไม่มีนิ้วหัวแม่มือ ทำให้นิ้ว แขน และมือเคลื่อนไหวได้จำกัด อาจนำไปสู่ปัญหาด้านความคล่องแคล่ว ซึ่งพบผู้ป่วยรายแรกในปี พ.ศ. 2395 ตั้งแต่นั้นมา มีรายงานผู้ป่วยน้อยกว่า 100 ราย

ภาพจาก AmericanRoentgenRaySociety

ทางการแพทย์ยังไม่สามารถอธิบายสาเหตุของความพิการแต่กำเนิดภาวะนี้ แต่อาจเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและเกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาในครรภ์ โดยคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถวินิจฉัยภาวะมือกระจกได้ตั้งแต่แรกเกิดหรืออัลตราซาวนด์ก่อนคลอดในช่วงระยะการพัฒนาของตัวอ่อน

แพทย์มีผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามีอาการมือกระจกหลายประเภท อาจส่งผลต่อลักษณะของมือ เช่น อาจทำให้คุณมีนิ้วมากกว่าห้านิ้ว (polydactyly) นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ที่จะพัฒนามือหลายข้างที่ปลายแขนของคุณ

ภาพจาก National Library of Medicine

นอกจากลักษณะนิ้วหลายนิ้วและไม่มีนิ้วหัวแม่มือแล้ว ภาวะนี้อาจทำให้ข้อมืองอเล็กน้อยและงอข้อศอกได้ แต่ในบางกรณีข้อศอกอาจตรงและงอหรือหมุนได้ยาก อย่างไรก็ตาม มือกระจกก็สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด เพื่อแก้ไขลักษณะทางกายภาพและการทำงานของมือที่ได้รับผลกระทบ

ทั้งนี้ ศัลยแพทย์จะรอจนกว่าเด็กน้อยจะมีอายุระหว่าง 18 – 24 เดือนจึงจะทำการผ่าตัดได้ ในระหว่างการผ่าตัด จะผ่านิ้วไม่จำเป็นออกและเลือกนิ้วหลัก 1 นิ้วเพื่อใช้เป็นนิ้วหัวแม่มือ แพทย์จะจัดตำแหน่งนิ้วโป้งให้ตรงตำแหน่งที่นิ้วหัวแม่มือจะพัฒนาตามธรรมชาติ พร้อมทั้งพยายามรักษากล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่อไว้ที่มือให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

มือกระจก

ภาพจาก National Library of Medicine

ขอบคุณที่มาจาก Webmd

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ