เตรียมตัวให้พร้อม! สธ.ให้ รพ. รับผู้ป่วยที่เข้าข่าย ฝีดาษลิง เป็นผู้ป่วยใน

Home » เตรียมตัวให้พร้อม! สธ.ให้ รพ. รับผู้ป่วยที่เข้าข่าย ฝีดาษลิง เป็นผู้ป่วยใน

ฝีดาษลิง : กระทรวงสาธารณสุขยืนยันให้โรงพยาบาลรับผู้ป่วยเข้าข่าย ฝีดาษลิง เป็นผู้ป่วยใน ระหว่างรอผลแล็บยืนยันการติดเชื้อ

อีกหนึ่งประเด็นที่เชื่อว่าตอนนี้คนไทยกำลังกังวลอยู่ไม่น้อย นั้นก็คือ ฝีดาษลิง โดยประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายแรก เป็นเพศชายชาวไนจีเรีย มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย ให้ข้อมูลการป่วยว่าเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อน โดยผู้ป่วยรายดังกล่าวแอบหนีออกจากรพ. ก่อนพบว่าหลบหนีการรักษาไปประเทศกัมพูชา

ล่าสุด สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับมาตรการรับมือและการรักษาเบื้องต้นของผู้ป่วยที่เข้าข่ายติดเชื้อ ฝีดาษลิง ของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมยารักษาที่ประเทศไทยมีเพื่อรองรับการติดเชื้อหรือวางแผนการแก้ไขปัญหาหากมีผู้ป่วยติดเชื้อในไทยจริงๆ

  • ลิงหรือไก่? เช็กความแตกต่าง ฝีดาษลิง VS อีสุกอีใส เผย95%ติดจากกิจกรรมทางเพศ
  • ผู้ป่วย ฝีดาษลิง ชาวอเมริกา เผยอาการระหว่างติดเชื้อ ภูมิอ่อน+คออักเสบ
  • ชัชชาติ หวั่น ฝีดาษลิง ระบาดในกทม.เตรียมนัดประชุมด่วน เร่งตรวจสอบ

สธ.ให้ รพ. รับผู้ป่วยที่เข้าข่าย ฝีดาษลิง เป็นผู้ป่วยใน

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ
ขอบคุณรูปภาพ : สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

สธ.ให้ รพ.รับตัวผู้เข้าข่าย ‘ฝีดาษลิง’ ทุกราย แอดมิทเป็น ผู้ป่วยใน ระหว่างรอผลจากแล็บยืนยัน

  • วันที่ 28 ก.ค.65 นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงข้อกำหนดแนวทางการตรวจรักษาโรค ‘ฝีดาษลิง’ ว่า กรมการแพทย์ ได้สื่อสารทำความเข้าใจกับแพทย์ทั่วประเทศ ในกรณีหากพบผู้ที่มีประวัติสงสัย และอาการเข้าข่าย เป็นโรค ‘ฝีดาษลิง’ เมื่อมาตรวจรักษาที่สถานพยาบาล ขอให้รับตัวผู้เข้าข่ายทุกรายเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน (แอดมิท) ก่อน ในระหว่างรอผลจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเมื่อยืนยันผลแล้ว อาจให้รักษาตัวต่อในโรงพยาบาล หากมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อน หรือรักษาตัวในรูปแบบ Home isolation ได้ เนื่องจากตามข้อมูล โรค ‘ฝีดาษลิง’ ส่วนใหญ่ ผู้ป่วยมักหายได้เอง ภายใน2-4 สัปดาห์

นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวว่า ยาที่เตรียมไว้สำหรับรักษาผู้ป่วย โรค ‘ฝีดาษลิง’ ในตอนนี้เป็นยาที่อยู่ระหว่างการทดลองใช้ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งเป็นการเตรียมตัวกรณีพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อรุนแรง ซึ่งมียาทั้งรูปแบบยารับประทาน และยาฉีด

ส่วนวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิง กรมควบคุมโรค อยู่ระหว่างการประเมินสถานการณ์และความจำเป็นในการนำวัคซีนมาใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษลิง

อย่างไรก็ตาม โรคฝีดาษลิงเหมือนโรคติดเชื้อไวรัสทั่วไป ที่บางกรณีอาจพบอาการรุนแรงได้ ซึ่งอาจมีภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด และผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูง อาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่หากเป็นการติดเชื้อในผู้ที่แข็งแรง จะไม่ส่งผลให้ตัวเชื้อมีความรุนแรง เพียงแต่มีภาวะที่เห็นรอยตุ่มแผลตามร่างกาย

ทั้งนี้ โรคฝีดาษลิง เป็นเชื้อไวรัส ที่ผู้ป่วยสามารถหายเองได้ โดยจากรายงานในต่างประเทศ ขณะนี้พบผู้ป่วยกว่า 10,000 รายทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตเพียง 3 ราย

https://www.facebook.com/photo/?fbid=636398397847103&set=a.328293581990921

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ