เช็คระดับความเสียหายรถยนต์น้ำท่วม ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้นทำอย่างไร

Home » เช็คระดับความเสียหายรถยนต์น้ำท่วม ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้นทำอย่างไร
รถยนต์น้ำท่วม

เช็คระดับความเสียหายรถยนต์น้ำท่วม ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้นทำอย่างไร จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ทั่วไทย ทั้งในกทม. จังหวัดต่างๆ

จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ทั้งในกทม. จังหวัดต่างๆ ซึ่งนอกจากน้ำท่วมอาจลามไปตามอาคาร บ้านเรือน ที่พักอาศัย ยังส่งผลกระทบต่อการเดินทาง สัญจรไปมาของประชาชน ทั้งผู้ใช้ ใช้ถนน

โดยเฉพาะผู้ขับรถยนต์ ที่เสี่ยงรถยนต์น้ำท่วม เช่นกัน ดังนั้นมาเตรียมความพร้อมเช็คระดับความเสียหายกรณีหากรถยนต์น้ำท่วม มีข้อควรปฏิบัติเบื้องต้นทำอย่างไรบ้าง ดังนี้

S 427065363

ระดับที่ 1
น้ำท่วมสูงถึงพื้นรถยนต์ แต่ไม่ถึงระดับของเบาะนั่ง

อุปกรณ์และชิ้นส่วนของรถยนต์ ที่อาจเกิดความเสียหาย

  • ระบบเบรกทั้ง 4 ล้อ และผ้าเบรก
  • ห้องเครื่องยนต์ คลัทช์คอมแอร์ สายพานแอร์และไดสตาร์ท
  • พรมภายในห้องโดยสาร

ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น

  • ตรวจเช็คสนิมใต้ท้องรถ
  • ตรวจระบบเบรกของทั้ง 4 ล้อ
  • ตรวจผ้าเบรก
  • ตรวจสอบไดสตาร์ทว่าได้รับความเสียหายมากน้อยแค่ไหน
  • นำพรมไปซัก และตากแดด เพื่อป้องกันกลิ่นอับชื้น
  • ล้างภายนอกรถให้สะอาดโดยเฉพาะใต้ท้องรถ และซุ้มล้อต่างๆ เพื่อล้างคราบโคลนสิ่งสกปรกต่างๆ ที่อาจติดอยู่ภายใน
S 427065373

ระดับที่ 2
น้ำท่วมสูงถึงเบาะนั่ง

อุปกรณ์และชิ้นส่วนของรถยนต์ ที่อาจเกิดความเสียหาย

  • ห้องเครื่องยนต์ กล่อง ECU, แบตเตอรี่, พัดลม , ระบายความร้อน, เครื่องยนต์, น้ำมันเครื่อง, ระบบเกียร์, น้ำมันเกียร์, ขั้วสายไฟต่างๆ, พวงมาลัยไฟฟ้า EPS
  • ไฟหน้าและไฟท้าย
  • เบาะนั่ง
  • แผงนวมประตู สวิตช์แผงประตู และระบบเซ็นทรัลล็อก
  • ชุดตู้แอร์นั่ง
  • ห้องสัมภาระท้าย

ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น

  • ห้ามสตาร์ทรถหรือบิดกุญแจไปที่ ON โดยเด็ดขาด
  • ถอดแบตเตอรี่ออกในทันที
  • ตรวจสอบอุปกรณ์อื่นๆ เช่น พัดลมระบายความร้อน, กล่อง ECU, ระบบเกียร์, ระบบของเหลว, ระบบหล่อลื่นต่างๆ ของรถ
  • ทำการไล่ความชื้นออกจากตัวรถ
  • แนะข้อควรระวังขี่ มอเตอร์ไซค์ลุยน้ำท่วม ลึกได้แค่ไหนไม่เสี่ยงเครื่องพัง
  • เกิดอุบัติเหตุจาก “ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ” ใครจะรับผิดชอบ?
  • ป้ายทะเบียนรถหลุดหาย ! อย่าพึ่งตกใจ ทำใหม่ง่ายๆ ไม่ต้องแจ้งความ
S 427065371-2

ระดับที่ 3
น้ำท่วมสูงถึงคอนโซลหน้า หรือมิดหลังคา

อุปกรณ์และชิ้นส่วนของรถยนต์ ที่อาจเกิดความเสียหาย

  • ตัวถังสีภายนอก
  • ไฟหน้า และไฟท้าย
  • ห้องเครื่องยนต์, ที่กรองอากาศ, ไดชาร์จ, ชุดหัวเทียน, มอเตอร์ปัดน้ำฝน, แผง คอนเดนเซอร์แอร์, หม้อน้ำของเหลวต่างๆ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ , น้ำมันเบรก , น้ำมันพวงมาลัย และน้ำมันเชื้อเพลิงในถัง
  • อุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องโดยสาร เช่นชุดควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล, วิทยุ, คอนโซลหน้า ระบบถุงลม, ระบบไฟส่องสว่างต่างๆ, ผ้าหลังคา, ม่านถุงลม, ซันรูฟ, ช่องแอร์
  • มอเตอร์พัดลมแอร์
  • หน้าปัทม์เรือนไมล์
  • ขอบยางประตู

ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น

  • ห้ามสตาร์ทรถหรือบิดกุญแจไปที่ ON โดยเด็ดขาด
  • ถอดแบตเตอรี่ออกในทันที
  • รีบนำรถส่งช่างผู้เชี่ยวชาญให้ตรวจเช็คของเหลวทุกอย่างภายในรถ เช่นน้ำมันเครื่อง, น้ำมันเกียร์, น้ำมันเบรก, น้ำหล่อเย็น และสารหล่อลื่นอย่างจาระบี
  • ถอดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่แผงหน้าปัทม์และคอนโซลออกมาทำความสะอาด และเป่าให้แห้ง (ช่างผู้เชี่ยวชาญดำเนินการให้ได้)

ขอบคุณข้อมูลเมืองไทยประกันภัย

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ