สำหรับสงครามระหว่าง อิสราเอล-ปาเลสไตน์ โดย กลุ่มฮามาส โดยในตอนนี้มีรายงานว่า กองทัพอิสราเอล ได้ทำการทิ้งบอมบ์ (ระเบิด)ใส่พื้นที่ ฉนวนกาซา รวมแล้ว 6,000 ลูก เพื่อมุ่งทำลายเป้าหมาย 3,600 แห่งของ กลุ่มฮามาส ในช่วง 6 วันที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มทำสงคราม และจากการกระทำนี้ของ อิสราเอล ส่งผลให้มียอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นรวมจากทั้งสองฝ่าย 2,700 คน
ซึ่งจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางอิสราเอล ได้มีการออกคำสั่งให้ประชาชน อพยพออกจากพื้นที่ ฉนวนกาซา ภายใน 24 ชม. ก่อนที่จะมีการโจมตีอีกครั้ง
ในโลกออนไลน์เอง ก็ได้มีการเผยแพร่ คลิปวีดีโอและอัฟเดตสถานการณ์ต่างๆ แต่ก็ได้มาสะดุดอยู่ที่โพสต์หนึ่ง ซึ่งเจ้าโพสต์ได้มีการ เผยแพร่คลิปวีดีโอ เป็นภาพที่ทหารนายหนึ่งกำลังนำกระสุนที่ตนมี มาถูสัมผัสกันตัว “มันหมู” หรือ “ไขมันหมู” พร้อมระบุข้อความว่า “เอาสิ อิสราเอลมีกระสุนน้ำมันหมูปลุกเสก ในสถานะการณ์ตึงเครียด กะพอได้หัวนำยุจิตวิทยาดีมาก55 เลือดเย็นนะพ่อ”
- อิสราเอล สั่ง 1.1 ล้านคนใน ฉนวนกาซา อพยพด่วน! พร้อมส่งกำลังทลายพรมแดน
- วันนี้วันอะไร? 13 ตุลาคม “วันลดภัยพิบัติสากล” ตระหนักถึงวิธีการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
- ยื้อไม่ไหว! เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย ที่กลายเหยื่อเยาวชน 14 ปี ในพารากอน
ซึ่งก่อนหน้านี้เองทางเพจข่าวต่างประเทศเองก็ได้มีการนำข้อมูลเมื่อเผยแพร่ เมื่อช่วงเดือน กุมภาพันธ์ 2565 พร้อมกับระบุข้อความว่า “วิดีโอที่แชร์โดยกองกำลังพิทักษ์ชาติยูเครนบน Twitter ดูเหมือนจะแสดงให้เห็นนักรบคนหนึ่งจุ่มกระสุนลงในไขมันหมู เพื่อใช้กับชาวเชเชนมุสลิมที่ต่อสู้เคียงข้างกองทัพรัสเซีย”
อย่างไรก็ตามการใช้กระสุนจุ่มด้วย “น้ำมันหมู”เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลากหลายครั้งในประวัติศาสตร์ของสงคราม ตั้งแต่ในปี ค.ศ 1857
เหตุการณ์ กระสุนน้ำมันหมู
เมื่อกองทัพอาณานิคมได้นำกระสุนปืนคาบศิลาของ Enfield รุ่นหนึ่งมาใช้ โดยตัวกระสุนถูกชโลมด้วย “น้ำมันหมู” และ “น้ำมันวัว” ซึ่งนับเป็นการดูหมิ่นทั้งชาวมุสลิมและชาวฮินดูในคราวเดียวกัน เนื่องจากชาวฮินดูเองก็ถือกันว่า วัวคือสัตว์ศักดิ์สิทธิ์
กระสุนรุ่นนี้ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้ปากกัดปลอกกระสุนซึ่งทำจากกระดาษ จากนั้นจึงเทดินปืนลงไปในลำกล้อง ซึ่งตัวกระสุนจำเป็นต้องใช้สารหล่อลื่นเพื่อป้องกันการขัดลำกล้อง และสารหล่อลื่นที่จะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์หากเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารย่อมหนีไม่พ้นผลิตภัณฑ์จากสัตว์
ทหารท้องถิ่นหรือที่เรียกว่า “ซีปอย” ที่อังกฤษนำมาฝึกทหารแบบยุโรป พวกเขานับถือศาสนาอิสลามและฮินดูจึงปฏิเสธที่จะใช้ที่ยึดมั่นในหลักความเชื่อศาสนาจึงไม่ต้องการกัดปลอกกระสุนรุ่นนี้ แต่วิธีการอื่น ๆ เช่น ขอให้เปลี่ยนไปใช้น้ำมันเนย หรือ “กี” แทน หรือการใช้มือฉีกปลอกกระสุนก็ถูกกองทัพสั่งห้าม เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมในเชิงปฏิบัติ เมื่อกองทัพไม่เคารพต่อความเชื่อของพวกเขา ทหารกลุ่มนี้จึงปฏิเสธที่จะใช้ปากกัดปลอกกระสุนตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเช่นกัน
เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ทหาร 90 นายจากกองพลทหารม้าที่ 3 ในเมืองมีรุต (Meerut) ถูกจำคุก สร้างความไม่พอใจให้กับเพื่อนทหาร จึงพากันใช้กำลังสังหารเจ้าหน้าที่อังกฤษเพื่อช่วยเหลือนายทหารที่ถูกจำคุก ในวันที่ 10 พฤษภาคม ก่อนยกกองทัพบุกยึดนครเดลี กลายเป็นชนวนให้พื้นที่อื่น ๆ เอาเป็นเยี่ยงอย่าง (ซึ่งแน่นอนว่า ปัจจัยที่ทำให้ชาวอินเดียลุกฮือขึ้นขนาดนี้ย่อมมีเรื่องของความไม่เป็นธรรมอื่น ๆ เป็นเชื้อไฟอยู่แล้ว ก่อนที่เหตุการณ์ดูหมิ่นทางความเชื่อครั้งนี้จะกลายเป็นตัวจุดชนวนสำคัญ)
ฝ่ายกบฏใช้กำลังสังหารผู้ต่อต้านอย่างรุนแรง แต่สุดท้ายก็ถูกปราบปรามได้ภายในปลายปี ค.ศ. 1858 และเหตุการณ์สังหารหมู่ของฝ่ายกบฏได้กลายเป็นข้ออ้างชั้นดีของฝ่ายจักรวรรดินิยมในการเล่นงานฝ่ายตรงข้ามอย่างโหดร้ายยิ่งกว่า
เหตุดังกล่าวนำไปสู่การก่อตั้ง “บริติชราช” (British Raj) ของอังกฤษเพื่อเป็นองค์กรปกครองอินเดียโดยตรง แทนที่บริษัทอินเดียตะวันออก ถึงอย่างนั้นอินเดียก็ยังคงมีผู้ลุกขึ้นต่อต้านจักรวรรดินิยมอังกฤษอยู่เสมอ แต่กว่าพวกเขาได้รับอิสรภาพจากอังกฤษก็กินเวลาหลังจากเหตุการณ์จลาจลในครั้งนี้เกือบ 100 ปี
ที่มา : silpa-mag.com
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY