ออสซี่เฮ “ตุ่นปากเป็ด” – สเตรตส์ไทมส์ และรอยเตอร์รายงานข่าวน่าตื่นเต้นของการร่วมมือกันขององค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่าหลายๆ องค์กรในประเทศออสเตรเลีย เพื่อนำ “ตุ่นปากเป็ด” กลับมายังอุทยานแห่งชาติออสเตรเลียอีกครั้ง หลังไม่มีการพบเห็นประชากรตุ่นปากเป็ดในพื้นที่ดังกล่าวนานกว่าครึงศตวรรษ
ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์ประจำถิ่นที่มีเอกลักษณ์อย่างมากของออสเตรเลีย ถูกนำกลับมาอีกครั้งในอุทยานแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ ทางตอนใต้ของนครซิดนีย์ เมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา ในโครงการอนุรักษ์ครั้งสำคัญ หลังจากตุ่นปากเป็ดได้หายไปจากพื้นที่อุทยานนี้นานกว่า 50 ปี
ตุ่นปากเป็ดเป็นที่รู้จักกันดีจากปากที่เป็นเอกลักษณ์ เท้าเป็นพังผืด และเดือยมีพิษ ตุ่นปากเป็ดเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่วางไข่เพียง 2 ตัวทั่วโลก และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในน้ำในเวลากลางคืน เนื่องจากมีนิสัยรักสันโดษและความต้องการถิ่นที่อยู่ที่เฉพาะเจาะจง ทำให้ชาวออสเตรเลียแทบไม่เคยเห็นตุ่นชนิดนี้ในธรรมชาติมาก่อน
การย้ายถิ่นฐานครั้งนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (ยูเอ็นเอสดับเบิลยู) องค์กรทารองก้า คอนเซอร์เวชั่น โซไซตี้ ออสเตรเลีย ของสวนสัตว์ทารองก้า องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลแห่งออสเตรเลีย (ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ) และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าแห่งนิวเซาท์เวลส์
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาตุ่นปากเป็ดเพศเมีย 4 ตัว ถูกปล่อยตัวเข้าสู่อุทยานแห่งชาติรอยัล เนชั่นแนล พาร์ก ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2422 และเป็นอุทยานแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก มีรายงานการอย่างไม่เป็นทางการว่าพบเห็นตุ่นปากเป็ดอยู่ห่างจากนครซิดนีย์ไปทางใต้ประมาณ 35 กิโลเมตร หรือใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ราว 1 ชั่วโมง
ในช่วงทศวรรษที่ 1970 (พ.ศ.2513-2522) การย้ายถิ่นฐานเกิดขึ้นเมื่อตุ่นปากเป็ดถูกคุกคามมากขึ้น ทั้งการทำลายที่อยู่อาศัย ความเสื่อมโทรมของแม่น้ำ นักล่าที่ดุร้าย และสภาพอากาศที่สุดโต่ง เช่น ภัยแล้งและไฟป่า การประมาณการจำนวนประชากรตุ่นปากเป็นจึงค่อนข้างกว้างมากตั้งแต่ 30,000-300,000 ตัว
ดร.กิลลาด ไบโน นักวิจัยที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ระบบนิเวศแห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า “เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากที่เราได้เห็นตุ่นปากเป็ดกลับมาที่อุทยานเพื่อให้พวกมันเติบโตอย่างมั่นคงที่นี่ และให้ชาวซิดนีย์ได้เพลิดเพลินกับสัตว์ที่น่าทึ่งนี้”
ตุ่นปากเป็ดส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของประเทศ และรัฐแทสมาเนีย โดยตุ่นปากเป็ดทั้งสี่ตัวถูกรวบรวมมาจากหลายๆ พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งอยู่ภายใต้การตรวจสอบก่อนการย้ายถิ่นฐาน
นักวิจัยกล่าวว่า “ตุ่นปากเป็ดแต่ละตัวจะถูกติดตามเป็นเวลา 2 ปี เพื่อทำความเข้าใจวิธีการแทรกแซงและย้ายถิ่นฐานในกรณีที่เกิดภัยแล้ง ไฟป่า หรือน้ำท่วม”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- ตุ่นปากเป็ด “สัตว์ประหลาดผู้น่ารัก” มีพันธุกรรมของสัตว์ 3 ประเภทอยู่รวมกัน
- ตุ่นปากเป็ดออสเตรเลียมีขนชนิดพิเศษ เรืองแสงอัลตราไวโอเลตได้