อย่าตื่นตระหนก! กรมการแพทย์ เผย ฝีดาษลิง หายเองได้ใน 2-4 สัปดาห์

Home » อย่าตื่นตระหนก! กรมการแพทย์ เผย ฝีดาษลิง หายเองได้ใน 2-4 สัปดาห์

ฝีดาษลิง : กรมการแพทย์ เผย ฝีดาษลิง ติดไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยาก หากใกล้ชิดผู้ป่วย เป็นโรคที่สามารถหายเองได้ภายใน 2-4 สัปดาห์

อีกหนึ่งประเด็นที่เชื่อว่าตอนนี้คนไทยกำลังกังวลอยู่ไม่น้อย นั้นก็คือ ฝีดาษลิง โดยประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อ ฝีดาษลิงรายแรก เป็นเพศชายชาวไนจีเรีย มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย ให้ข้อมูลการป่วยว่าเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อน โดยผู้ป่วยรายดังกล่าวแอบหนีออกจากรพ. ก่อนพบว่าหลบหนีการรักษาไปประเทศกัมพูชา และยังมีการเผยแพร่จากห้องแล็บจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อีกด้วยว่า ยืนยันผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่2 จากโรงพยาบาล(รพ.) วชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร

ข้อมูลเบื่องต้นของผู้ติดเชื้อ ฝีดาษลิง รายที่ 2 เป็นชายไทย อายุ 47 ปี และมีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชาวต่างชาติ ขณะนี้เข้ารับการรักษา และอยู่ในห้องแยกกักโรค ผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิง รายที่2 ของประเทศนั้น มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชาวต่างชาติ ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นทราบเพียงว่า เป็นชาติชาวยุโรป ผิวขาว ไม่ทราบสัญชาติ รู้จักกันผ่านทางออนไลน์ ข้อมูลไม่มากนัก ทำให้มีความลำบากในการติดตามตัวบ้าง

  • เร่งตามหา! ชายยุโรป ไม่ทราบสัญชาติ หลังมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วย ฝีดาษลิง รายที่2
  • ไม่เป็นความจริง! กรณี ฝีดาษลิง รายแรกในกรุงเทพ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับชาวไนจีเรีย
  • เปิดอาการต้องสงสัย ฝีดาษลิง รายที่2 ชายไทย 47ปี เผย มีไข้ ปวดตามตัว

ฝีดาษลิง หายเองได้ใน 2-4 สัปดาห์

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "กรมการแพทย์ เผย 'ฝีดาษวานร' ไม่ได้ติดง่าย แต่ก็ไม่ยาก หากใกล้ชิดผู้ป่วย หายได้เองใน 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีผื่น ตุ่ม หรือแผล ตามผิวหรือเยื่อบุอวัยวะต่างๆ โดยเกิดที่อวัยวะเพศ 56.3%, บริเวณทวารหนัก 41.6% ผู้ป่วยถึง 1 ใน 3 ติด HIV ร่วมด้วย ย้ำตื่นตัวแต่อย่าตื้นตระหนก นก #กรรมกรข่าว"
ขอบคุณรูปภาพ : สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

ล่าสุดเพจ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับ ฝีดาษลิง โดยกรมการแพทย์ได้ออกมาเผยแพร่เกี่ยวกับอาการเบื้องต้นและระยะเวลาในการรักษาที่สามารถหายเองภายใน 2-4 สัปดาห์ โดยมีข้อมูลว่า

กรมการแพทย์ เผย ‘ฝีดาษวานร’ ไม่ได้ติดง่าย แต่ก็ไม่ยาก หากใกล้ชิดผู้ป่วย หายได้เองใน 2-4 สัปดาห์ รักษาตามอาการ ผู้ป่วยจะมีผื่น ตุ่ม หรือแผลตามผิวหรือเยื่อบุอวัยวะต่างๆ โดยเกิดที่อวัยวะเพศ 56.3%, บริเวณทวารหนัก 41.6% ผู้ป่วยถึง 1 ใน 3 ติด HIV ร่วมด้วย ย้ำตื่นตัวแต่อย่าตื่นตระหนก

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรค ‘ฝีดาษวานร’ หรือโรค ฝีดาษลิง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส (POX Virus) กลุ่มเดียวกับโรคไข้ทรพิษ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า

แพทย์หญิงนฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การติดต่อและการแพร่กระจายของโรค พบว่า ส่วนมากติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งจากตุ่มหนอง สะเก็ดแผล (Contact) ของผู้ป่วย ถ้าอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยในระยะประชิด เช่น กินข้าว หรือ อยู่ห้องเดียวกัน หรืออาศัยนอนด้วยกัน การแพร่กระจายอาจติดต่อทางฝอยละออง (Droplet) ได้ไวรัสฝีดาษลิง มีเปลือกหุ้ม ธรรมชาติเป็นไวรัสที่ไม่แข็งแรง โดนสบู่ล้างก็ตาย แต่เชื้อจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมนานหรือไม่ ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ

“จริงๆ ไวรัสตัวนี้ ไม่ได้ติดง่าย แต่ก็ไม่ยาก หากใกล้ชิดผู้ป่วยยืนยันก็มีโอกาส แต่ถ้าล้างมือบ่อยๆ ป้องกันตัวเอง สวมหน้ากาก จะลดโอกาสการสัมผัสเชื้อ ระยะฟักตัวของโรคขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน โดยทั่วไประยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 7- 21 วัน แต่บางรายก็มีระยะฟักตัวนานกว่านั้น”

อาการที่พบในผู้ป่วยฝีดาษวานร นอกจากมีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างการ ต่อมน้ำเหลืองโตแล้ว มีรายงานการศึกษาในวารสารทางการแพทย์ พบว่า ผู้ป่วยจะมีผื่นหรือแผลตามผิวหนองหรือเยื่อบุในอวัยวะต่างๆ ผื่น ตุ่ม หรือแผลนั้นเกิดที่อวัยวะเพศ 56.3%, บริเวณทวารหนัก 41.6% โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ (86%) จะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต หรือปวดกล้ามเนื้อ และอาการเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนมีผื่น หรือหลังผื่นขึ้นก็ได้ แต่ก็มีผู้ป่วยบางส่วนที่มีผื่น โดยไม่มีอาการร่วมอื่นๆ เลย

  • อาการผิดปกติอื่นที่พบ คือ ปวดทวารหนัก เจ็บคอ แผลในช่องปาก และองคชาติบวม มีผู้ป่วยถึง 1ใน 3 ที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย

อาการหายได้เองภายในระยะ 2-4 สัปดาห์ การรักษาเน้นการรักษาแบบประคับประคอง เป็นการรักษาตามอาการ เช่น มีไข้ ให้ยาลดไข้ ส่วนยารักษาเฉพาะ ยังไม่มียารักษาเฉพาะ มียาที่ใช้รักษาผู้ป่วยไข้ทรพิษ ในต่างประเทศนำมาศึกษาวิจัยในการดูแลผู้ป่วยฝีดาษวานรที่มีอาการรุนแรง

ทั้งนี้ กรมการแพทย์ได้ร่วมกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ จากสมาคมโรคผิวหนัง สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กและผู้ใหญ่ ราชวิทยาลัย กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หารือถึงแนวทางการรักษาพยาบาลโรคฝีดาษลิง เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ขณะนี้ได้ข้อสรุปแล้ว และอยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลเพื่อเสนอในที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน หรืออีโอซี (EOC) ระดับกระทรวง เพื่อพิจารณาอนุมัติในวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคมนี้ ดังนั้นฝีดาษวานร ไม่ติดต่อง่าย ต้องสัมผัสใกล้ชิด ส่วนใหญ่หายได้เอง รักษาตามอาการของโรค อย่าตื่นตระหนก

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ