อนุทิน ชี้หาซื้อ 'ไซยาไนด์' ไม่ใช่เรื่องง่าย หน่วยงานเกี่ยวข้อง ต้องรับผิดชอบ

Home » อนุทิน ชี้หาซื้อ 'ไซยาไนด์' ไม่ใช่เรื่องง่าย หน่วยงานเกี่ยวข้อง ต้องรับผิดชอบ



“อนุทิน” ชี้การหาซื้อ ไซยาไนด์ ไม่ได้ใช่เรื่องง่าย เชื่อการจัดหามาใช้ผิดกฎหมาย หน่วยงานที่ขออนุญาตครอบครองและใช้ ต้องรับผิดชอบ

เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 66 หลังจากสภาเภสัชกรรม ชี้แจงว่าโพแทสเซียมไซยาไนด์ รวมทั้งโซเดียมไซยาไนด์ ไม่ใช่ยา แต่เป็นสารเคมีที่เป็นวัตถุอันตรายที่มีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้กำกับดูแลภายใต้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ปกติจะนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรม ไม่ได้นำมาใช้ทางยา ส่วนประเด็น เภสัชกร เข้าไปพัวพันกับคดีนั้นหากพบว่า กระทำผิดจริง พร้อมจะพิจารณาโทษทางจรรยาบรรณ ตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ อย่างเคร่งครัด

ต่อมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สัมภาษณ์ถึงเรื่องนี้ว่า ได้รับทราบตามข่าวเหมือนกัน ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะการเข้าถึงไซยาไนด์ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่มีการใช้ในทางการแพทย์ แต่ใช้ในทางอุตสาหกรรม หาไม่ได้ในร้านขายยาหรือจะนำเข้ามาได้ ก็ต้องเป็นการลักลอบทำผิดกฎหมาย ซึ่งต้องไปป้องกัน

ส่วนต้องปรับเพิ่มระดับวัตถุอันตรายหรือไม่ ก็เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สธ.ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงเรื่องนำเข้าส่งออกสารอันตราย แต่ สธ.มีหน้าที่ดูแลการขึ้นทะเบียนหรือผู้นำเข้าสารพิษวัตถุอันตรายต้องขออนุญาต ถ้านำเข้าไซยาไนด์เข้ามา สธ.ไม่อนุญาต ยกเว้นเป็นหน่วยงานมีการนำเสนอชัดเจน

  • อ่าน สภาเภสัช ย้ำ ไซยาไนด์ ไม่ใช่ยา แต่เป็นเคมี วัตถุอันตราย เล็งเอาผิดคนเอี่ยว
  • อ่าน ‘บิ๊กโจ๊ก’ เผย พี่สาวแอม เปิดร้านขายยา เจอเหยื่อรอดเพิ่มอีก 1 พบไซยาไนด์ศพ สว.ปู
  • อ่าน เปิดใจ แต้ว สาวรอดชีวิต วงแชร์มรณะ แอม ไซยาไนด์ สุดผวา คนในวงแชร์ตาย3ศพ

ไซยาไนด์เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 ต้องแจ้งการครอบครองใช้งาน ส่วนใหญ่ของพวกนี้เป็นผลิตภัณฑ์นำเข้าต่างประเทศ หลายอย่างตนต้องลงนามเห็นชอบ การเห็นชอบจะมาตามขั้นตอน ต้องเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจริง มีการชี้แจงถึงวิธีการป้องกันอันตรายต่าง ๆ ขั้นตอนเยอะมาก อย่างสารเสพติดที่นำเข้ามาศึกษาวิจัย อย.ก็ต้องผ่านเรื่องมา

หน่วยงานที่เอาเข้ามาต้องรับผิดชอบ ปัดความรับผิดชอบไม่พ้น เพราะขอ อย.เพื่อเอามาใช้ในภารกิจงานต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ สธ.อนุมัติให้เข้ามาตามภารกิจ เอาเข้ามาใครแอบเอากลับบ้านก็ต้องเป้นความรับผิดชอบของผู้ขออนุญาต ที่ต้องควบคุมป้องกันและครอบครองด้วยความระมัดระวัง

ถามว่าหากเผลอโดนไซยาไนด์ต้องทำอย่างไร นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษก สธ. กล่าวว่า ต้องรีบขอความช่วยเหลือ 1669 พบแพทย์ ใช้การปฐมพยาบาลพื้นฐานทางเดินหายใจและรีบส่งต่อ เพราะพวกนี้ออกฤทธิ์เรื่องการหยุดหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต เมื่อถึง รพ.ไม่ว่าเข้าทางไหนก็จะล้างท้อง ให้สารละลายน้ำต่างๆ และแอนตี้โดสของมัน ซึ่งถ้าปฐมพยาบาลเบื้องต้นเข้าถึงการรักษารวดเร็ว โอกาสรอดชีวิตก็เพิ่มขึ้น

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ