หนุ่มเก็บฟืนเจอท่อนไม้ผุๆ สีแปลก หยิบกลับบ้านไปล้างอึ้ง “ซ่อน” ความลับที่ไม่คาดคิด ผู้เชี่ยวชาญเผยคือปรากฏการณ์ “ไม้กลายเป็นหยก” แปลกและหายาก มูลค่ามหาศาล
ตามรายงานพบว่า ชายคนหนึ่งในมณฑลหูหนาน ประเทศจีน ระหว่างออกหาฟืน บังเอิญเห็นท่อนไม้ผุๆ อยู่ข้างทาง ตั้งใจจะนำกลับบ้านไปจุดไฟ แต่เมื่อเข้าไปมองใกล้ๆ เขาก็พบว่าท่อนไม้นี้ฝังอยู่ในดินครึ่งหนึ่ง เมื่อขุดขึ้นมาจึงสังเกตเห็นว่ามันมีสีเขียวแซมอยู่ข้างในเล็กน้อย และมีน้ำหนักมากกว่าท่อนไม้ปกติ ดังนั้น จึงเปลี่ยนใจนำกลับบ้านไปล้างน้ำ
ใครจะคิดว่าหลังจากทำความสะอาดแล้ว ท่อนไม้แปลกๆ ที่ดูผุๆ พังๆ กลับดูเหมือนจะหลายเป็นหินสีเขียวมรกตสวยงาม คล้ายหินเทอควอยซ์ที่มีรูปร่างคล้ายท่อนไม้ สิ่งที่เห็นทำให้เขารู้สึกสับสนมาก สรุปแล้วสิ่งที่เขาหยิบกลับมาบ้านคือต้นไม้หรือหินกันแน่?
เมื่อชาวบ้านได้ยินเกี่ยวกับเรื่องท่อนไม้นี้ ก็พากันมาชื่นชมมันด้วยตาและเริ่มโต้เถียงกัน บางคนบอกว่าไม้ชิ้นนี้เป็นฟอสซิลของต้นไม้บางชนิด ในขณะที่มีคนเห็นว่าเป็นหยกที่มีคุณค่ามาก คนที่เชื่อโชคลางบางคนถึงกับคิดว่ามันเป็น “ลางร้าย” และแนะนำให้ชายที่พบผูกสร้อยข้อมือสีแดงไว้เพื่อเป็นเครื่องป้องกัน
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ชาวบ้านทุกคนแนะนำตรงกันก็คือ ให้เขาไปหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบและระบุที่มาของท่อนไม่นี้จะดีกว่า ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจนำหอบท่อนไม้เข้าเมืองเพื่อรับการประเมิน ท้ายที่สุดผู้เชี่ยวชาญระบุว่าไม่ใช่หยก แต่เป็นไม้หยกตามธรรมชาติ …แล้วไม้หยกคืออะไร?
ตามที่ผู้เชี่ยวชาญระบุ ปรากฏการณ์ที่ “ไม้กลายเป็นหินเนื้อหยก” หรือ Petrified wood ถือเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่แปลกประหลาด กระบวนการนี้เกิดขึ้นใต้พื้นดินเป็นเวลาหลายล้านปี และเนื่องจากการเกิดไม้หยกนั้นหายากมาก จึงถือได้ว่ามีค่าเทียบเท่ากับทองคำ
ไม้หยกมีต้นกำเนิดมาจากป่าดึกดำบรรพ์หลังจากผลกระทบจากภูเขาไฟระเบิด ลำต้นไม้เหล่านี้ถูกฝังอยู่ในลาวาเป็นเวลาหลายล้านปี และค่อยๆ กลายเป็นอัญมณี
ในพื้นที่ที่ต้นไม้ที่ตายแล้วถูกปกคลุมไปด้วยแร่ธาตุจำนวนมากจากการปะทุของภูเขาไฟ แร่ธาตุเหล่านั้นจะแทรกซึมเข้าไปในเส้นเลือดฝอยของไม้ เมื่อโครงสร้างของไม้ค่อยๆ พังทลายลง เส้นใยไม้จะถูกแทนที่ด้วยแร่ธาตุอนินทรีย์อื่นๆ เช่น ควอตซ์ โอปอล โมรา…
ต้นไม้ที่กลายเป็นอัญมณีเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีอยู่ในยุคไทรแอสซิก และจูราสสิก เมื่อประมาณ 100 ล้านถึง 250 ล้านปีก่อน โดยหลักการแล้วการแปรรูปไม้ให้เป็นหยก มีกระบวนการคล้ายกับฟอสซิลกระดูกและซากสัตว์ กระบวนการนี้ต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และขึ้นอยู่กับแร่ธาตุที่ถูกแทนที่ ซึ่งส่งผลให้ไม้หยกจะมีคุณสมบัติและความแข็งต่างกัน
นักเทววิทยาตะวันตกเชื่อว่า เดิมทีเป็นท่อนไม้เน่าเปื่อย หลังจากผ่านกระบวนการควอตซ์แล้วมันก็กลายเป็นหินมีค่า ดังนั้นฟอสซิลไม้จึงมีคุณสมบัติทางแม่เหล็กที่มั่นคง อายุยืนยาว และนิรันดร์
สีของลำต้นของไม้หยกก็มีความหลากหลายเช่นกัน สีเทาและสีน้ำตาลเป็นสีที่พบมากที่สุด แต่ก็มีสีแดง สีเหลืองส้ม สีดำ และที่หายากที่สุดคือ “สีเขียวหยก”
ตั้งแต่สมัยประเทศโบราณ เช่น อัสซีเรีย บาบิโลน และโรมโบราณ ไม้หยกถูกนำมาใช้เป็นหินวิจิตรศิลป์ ผู้คนทำลูกปัดมาติดไว้กับแหวน จี้หยก ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 และ 20 ไม้กลายเป็นหินที่ส่งออกในรัฐแอริโซนาได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นเป็นโต๊ะเล็กๆ แจกันดอกไม้ และเชิงเทียน
เมื่อเทียบกับแผ่นไม้ทั่วไป ไม้หยกมีคุณค่ามากกว่าหลายเท่า เมื่อเปลี่ยนเป็นอัญมณีแล้วจึงจัดเป็น “อัญมณีล้ำค่า” ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าไม้หยกของชายผู้นี้มีอายุย้อนกลับไปประมาณ 200 ล้านปีก่อน มูลค่าทางเศรษฐกิจของจึงเรียกได้ว่า “มหาศาล” และมูลค่าการวิจัยก็สูงมากเช่นกัน