รู้หรือยัง? แคดเมียม คืออะไร ทำไมตอนนี้คนไทยถึงกลัว

Home » รู้หรือยัง? แคดเมียม คืออะไร ทำไมตอนนี้คนไทยถึงกลัว
แคดเมียม คืออะไร -ปก-min

รู้จักและเข้าใจ วิธีป้องกันตัวเองจาก “แคดเมียม” สารก่อมะเร็ง หากสัมผัสต้องรีบจัดการอย่างไร เช็กได้ที่นี่

จากกรณีพบ การลักลอบเก็บสะสมกากแคดเมียม และสังกะสี จำนวนมากในโรงงานจังหวัดสมุทรสาคร โดยบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดตากได้ขายกากเหล่านี้ให้กับบริษัทในจังหวัดสมุทรสาคร กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินงานทางการแพทย์และสาธารณสุข พร้อมเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกากของเสียอุตสาหกรรมดังกล่าวมีความเป็นอันตราย หากจัดเก็บที่ไม่ถูกต้อง อาจกระทบต่อประชาชน เนื่องจากกากแคดเมียมถือเป็นสารอันตรายต่อสุขภาพ

แร่แคดเมียม คืออะไร

แคดเมียม (Cadmium: สูตรทางเคมี Cd) เป็นแร่โลหะหนักชนิดหนึ่ง ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลากหลายด้าน เช่น ใช้ฉาบและเคลือบเงาผิวโลหะต่าง ๆ เพื่อความเงางาม ทนต่อการกัดกร่อน สารเพิ่มความคงตัวของพลาสติก จำพวกพีวีซี ผลิตเม็ดสี ผลิตแบตเตอรี่ขนาดเล็ก (แคดเมียม – นิกเกิล แบตเตอรี่)

แคดเมียม ยังพบปนอยู่กับแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น แร่สังกะสี แร่ตะกั่ว หรือทองแดง ในการทำเหมืองสังกะสีจะได้แคดเมียมเป็นผลตามมา สามารถพบแคดเมียมปนเปื้อนได้ในอาหาร น้ำ รวมทั้งพบแคดเมียมในสีที่ผสมใช้กับบ้านหรืออาคาร

แร่แคดเมียม-min

ถ้าสัมผัสแคดเมียมจะเกิดอะไรขึ้น

แคดเมียมสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ดังนี้
– ทางผิวหนังผ่านการสัมผัส
– ทางจมูก ด้วยการหายใจ สูดดมฝุ่นละอองที่ปนเปื้อนแคดเมียมเข้าไปในร่างกาย
– ทางปาก ด้วยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารแคดเมียม เช่น ข้าวที่ปลูกบนดินที่มีการปนเปื้อนของแคดเมียมอยู่ สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อน เนื้อหรือนมจากวัวที่กินหญ้าที่เกิดจากดินที่มีการปนเปื้อน

แคดเมียม บางซื่อ (4)-min
  • สลด! สาวไทย aวัย 27 ถูกแทงดับคาบ้านพัก ย่านเวสต์มินสเตอร์
  • เพจดังขยี้อีก สาวใหญ่แอบแซ่บพระ ผ่านชีวิตรักยิ่งกว่าละคร ผัว 5 ลูก 4
  • ผัวหัวร้อน ยิงเมียดับ ก่อนพยายามจบชีวิตตัวเอง เหตุเพราะบิลสั่งของลูกค้า

ผลกระทบต่อสุขภาพจากแคดเมียม

1.พิษเฉียบพลัน: พบในกรณีหายใจเอาไอระเหยของแคดเมียมเข้าไป ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ หายใจลำบาก หรือเจ็บหน้าอก
2.พิษเรื้อรัง: การได้รับสารแคดเมียมเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อความเป็นพิษของไต กระดูก และอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด หากสัมผัสสารนี้มาอย่างยาวนานต่อเนื่อง

สำหรับพิษต่ออวัยวะที่สำคัญ คือ พิษต่อไต โดยจะมีการอักเสบที่ไต ทำให้ไตสูญเสียการทำงาน และอาจทำให้เกิดไตวายเรื้อรังได้ในที่สุด ซึ่งการเกิดความผิดปกติของไตนี้จะเป็นแบบถาวร แม้ไม่ได้รับแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายแล้วไตก็ไม่สามารถกลับคืนสภาพเดิมได้ ส่วนพิษต่อกระดูก คือ แคดเมียมจะเข้าไปสะสมอยู่ในกระดูก เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนและอาจมีอาการปวดกระดูกอย่างมากโดยเฉพาะที่กระดูกสะโพก ซึ่งเป็นอาการของโรคอิไต – อิไต โดยคนกลุ่มนี้จะมีอาการกระดูกเปราะ แตกหักง่าย

กากแคดเมียม (7)-min

พิษของแคดเมียม ยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ เช่น มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้ แคดเมียมยังมีส่วนที่ทำให้อาการของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ส่วนวิธีการรักษา ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการ และการให้คีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) คือ การกำจัดสารโลหะหนักออกจากร่างกายเพื่อบำบัดภาวะผิดปกติทางสุขภาพที่สัมพันธ์กับการสะสมและตกค้างของสารโลหะหนักแบบเรื้อรัง

วิธีป้องกันตัวเองและปฐมพยาบาล

1. หากสูดดม: ให้รีบออกจากพื้นที่ รับอากาศบริสุทธิ์นำส่งแพทย์ทันที
2. หากสัมผัสกับผิวหนัง: ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกหมดทันที ล้างด้วยน้ำไหลผ่าน รีบพบแพทย์
3. หากเข้าตา: ล้างออกด้วยน้ำปริมาณมาก รีบพบจักษุแพทย์
4. หากกลืนกิน /ดื่ม ให้รีบดื่มน้ำตามทันทีอย่างน้อย 2 แก้ว รีบพบแพทย์
5. งดเข้าพื้นที่เกิดเหตุ ติดตามสถานการณ์ สังเกตอาการตนเอง ผิดปกติรีบพบแพทย์ทันที

Young Asia girl wearing medical face mask with dressed in casual

แล้วอย่างนี้ เราจะป้องกันได้อย่างไร

การ หลีกเลี่ยงการสัมผัสแคดเมียม สามารถป้องกันได้โดย
1.ใส่หน้ากาก เช่น หน้ากาก N95 ป้องกันไอระเหยจากสารเคมีโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันการหายใจเอาไอของแคดเมียมเข้าสู่ร่างกาย
2.ใส่ถุงมือตลอดเวลา ในขณะปฎิบัติงาน
3.ล้างมือและทำความสะอาดร่างกาย หลังการทำงานทุกครั้ง
4.ประชาชนทั่วไปให้ เฝ้าระวังและสังเกตอาการ หากเกิดพิษที่เป็นผลจากแคดเมียม
5.วิธีเก็บรักษาแคดเมียม: ควรเก็บแคดเมียมในรูปแบบของสถานะของแข็งและอยู่ในบรรจุภัณฑ์อย่างมิดชิด จะสามารถลดความเสี่ยงการรับสัมผัสสารดังกล่าวได้

ขอบคุณที่มา : Hfocus

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ