จากสถานการณ์ของพายุ โนรู ที่มีต่อประเทศไทย ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งกับมีลมแรงในทุกภาคของประเทศไทย ในช่วงวันที่ 28-30 กันยายน 2565 นั้น
ต่อมาเนื่องจากศูนย์กลางของพายุโซนร้อน มีโอกาสเบี่ยงได้ หลังจากเคลื่อนผ่านเวียดนาม เข้าลาว และมาไทย คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับในระยะต่อไป
- ภาคไหนบ้าง เตือน 17 จังหวัด พายุโนรูอาละวาดเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน
- เช็กให้ไวอัปเดตเส้นทางพายุ โนรู คาดฝนถล่มหนักไทย เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลันอีสาน
- เช็กที่นี! พายุโนรู อีสานกระทบเต็มๆ แจ้งเบอร์ฉุกเฉิน พร้อมช่วยเหลือ 24 ชม.
อย่างไรก็ตามวานนี้ (29 ก.ย.) ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุถึง พายุโนรู ว่า “พายุหมุนเกิดในทะเล ตายในเทือกเขานี่คือประโยคสั้นๆ แต่ผมคิดว่าอธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยดีสุดโนรูที่รุนแรงตอนขึ้นฝั่ง อ่อนแรงลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศไทยไม่เดือดร้อนมากไปกว่านี้แล้วโนรูตายที่ไหน ? คำตอบคือพายุหมดแรงบน “อันนัม” เทือกเขาที่เป็นเสมือนเกราะคุ้มครองไทย
ทั้งนี้ เทือกเขาอันนัม ไม่ได้อยู่ในเมืองไทย แต่เทือกเขาอยู่ในเวียดนาม ในลาว และมีส่วนปลายอยู่ในเขมร โดยเทือกเขาอันมัน ยาว 1,100 กิโลเมตร สูงถึง 2,800 เมตร อันนัมทอดยาวขนานชายฝั่งเวียดนาม แบ่งเขตชายฝั่งออกจากลุ่มน้ำแม่โขงที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินทุกครั้งที่มีไต้ฝุ่นหรือพายุใหญ่เข้ามาทางเวียดนาม อันนัมหยุดแรงลมไว้ ทำให้พายุที่เกรี้ยวกราดลดความแรงลมเหลือเพียงดีเปรสชั่น แม้ฝนจะตกอยู่ แต่แรงลมเบาลงมาก ความชื้นในอากาศส่วนหนึ่งถูกกักเก็บไว้”
โดย ผศ.ดร.ธรณ์ ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า อันนัม เป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าดิบชื้นเรื่อยจนถึงป่าดิบเขาที่สำคัญในอินโดจีน เป็นถิ่นที่อยู่ของ “ซาวลา” แอนทีโลปหายากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก พบเฉพาะแถวอันนัมตอนเหนือ ในลาวและเวียดนามอันนัมยังป้อนน้ำให้ลำโขง ทำให้ผู้คนในลาวและเขมรมีความสุขและนั่นคือเรื่องที่อยากเล่าให้เพื่อนธรณ์ฟัง ถึงปราการแห่งอินโดจีนเทือกเขาที่มีความหมายมากมายต่อไทยและจะยิ่งทวีความสำคัญ เมื่อโลกร้อนขึ้น เมื่อสภาพอากาศสุดขั้วแรงขึ้นอันนัมยังคงตั้งตระหง่าน
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY