วันที่ 14 ก.พ. ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมของ จระเข้ สายพันธุ์ที่มีการค้นพบใหม่ในรัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย ด้วยอายุย้อนกลับไปถึงยุคครีเทเชียสว่า อาหารมื้อสุดท้ายที่มันกินคือไดโนเสาร์วัยโต
กระดูกฟอสซิลของจระเข้ตัวดังกล่าวที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ confractosuchus sauroktonos ถูกขุดค้นเมื่อปี 2553 จากฟาร์มเลี้ยงแกะแห่งหนึ่งใกล้วินตัน ฟอร์เมชั่น (Winton Formation) ซึ่งเป็นหินดานทางธรณีวิทยา (geological rock bed) ที่มีอายุเกือบ 95 ล้านปีก่อน
ภายในท้องจระเข้ที่มีลำตัวยาว 2.5 เมตร นักวิทยาศาสตร์ระบุว่าเป็นซากของ ออร์นิโธพอด (ornithopod) วัยโตที่ถูกย่อยบางส่วน ตามรายงานการตั้งชื่อสายพันธุ์ใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ กอนด์วานา รีเสิร์ช (Gondwana Research) เมื่อวันที่ 11 ก.พ.
พิพิธภัณฑ์ยุคไดโนเสาร์แห่งออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้ค้นพบดังกล่าว ระบุว่า นี่เป็นหลักฐานชิ้นแรกที่บ่งชี้ว่าจระเข้กำลังล่าไดโนเสาร์ในออสเตรเลีย
ตัวอย่างจระเข้ดังกล่าว ซึ่งเดิมถูกเก็บรักษาในมวลหินตะกอน ถูกบดขยี้เป็นบางส่วน อย่างไรก็ตาม ความเสียหายเผยกระดูกขนาดเล็กจำนวนหนึ่งจากโครงกระดูกของสิ่งมีชีวิตยุคครีเทเชียสขนาดเล็กชนิดหนึ่ง
นักวิทยาศาสตร์ใช้เทคโนโลยีรังสีเอ็กซ์และซีทีสแกนเพื่อค้นหากระดูกภายในตัวอย่างจระเข้ รวมถึงการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นเวลา 10 เดือนเพื่อสร้างกระดูก 3 มิติขึ้นใหม่
เนื่องด้วยจระเข้น้ำจืดตัวดังกล่าวยังเหลือโครงอยู่ 35% นักวิจัยจึงสามารถกู้คืนกะโหลกของมันในสภาพเกือบสมบูรณ์ได้ แม้จะไม่สามารถจำแนกไดโนเสาร์วัยโตที่อยู่ในท้องจระเข้ได้ แต่อธิบายว่าเป็นไดโนเสาร์วัยโตที่มีน้ำหนักเกือบ 1.7 กิโลกรัม
แถลงการณ์พิพิธภัณฑ์ออสเตรเลียระบุว่า จระเข้ สังหารไดโนเสาร์วัยโต หรือกินมันเป็นอาหารไม่นานหลังจระเข้ตาย การค้นพบดังกล่าวเป็นสิ่งที่หายากมาก เนื่องจากมีตัวอย่างการล่าไดโนเสาร์เพียงไม่กี่ตัวอย่างเท่านั้นที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก
“แม้ว่า จระเข้ confractosuchus จะไม่มีความเชี่ยวชาญในการกินไดโนเสาร์ แต่ไม่เคยมองข้ามอาหารง่ายๆ เช่น ornithopod วัยโตที่ยังอยู่ในท้องของจระเข้ มีแนวโน้มว่าไดโนเสาร์ต่างๆ จะประกอบขึ้นเป็นทรัพยากรสำคัญในห่วงโซ่อาหารทางนิเวศในยุคครีเทเชียส” ดร.แมตต์ ไวท์ ผู้ร่วมวิจัยของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย ระบุ
“เนื่องจากขาดตัวอย่างจากทั่วโลก จระเข้ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตัวนี้และอาหารมื้อสุดท้ายจะยังให้เบาะแสเกี่ยวกับความสัมพันธ์และพฤติกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียเมื่อหลายล้านปีก่อน” ดร.แมตต์ ไวท์ กล่าว
ทั้งนี้ confractosuchus sauroktonos เป็นจระเข้ตัวที่สองที่ได้รับการตั้งชื่อจาก Winton Formation หินดานที่มีการเปิดเผยการค้นพบทางวิทยาศาสตร์มากมายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมถึง เทอร์โรซอร์ (pterosaur) ที่มีอายุ 96 ล้านปี ในเดือนต.ค. 2562
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ไดโนเสาร์ : ฟอสซิลตัวอ่อนอายุ 66 ล้านปี เผยความเชื่อมโยงกับสัตว์ปีกยุคปัจจุบัน