นายจ้างรู้ยัง ? สั่งงานผ่านไลน์นอกเวลางานไม่ได้ ! สั่งนอกเวลาจ่ายเพิ่ม OT เท่านั้น!

Home » นายจ้างรู้ยัง ? สั่งงานผ่านไลน์นอกเวลางานไม่ได้ ! สั่งนอกเวลาจ่ายเพิ่ม OT เท่านั้น!

สั่งงานผ่านไลน์นอกเวลางานไม่ได้ หากสั่งงานก็ต้องจ่าย OT หากวันนี้ไม่กล้าร้องเรียนก็เก็บหลักฐานไว้ ออกจากงานค่อยไปร้อง

22 เมษายน 2565 เพจ กฎหมายแรงงาน ได้ออกมารายงานว่า หากนายจ้าง สั่งงานผ่านไลน์ นอกเวลางานไม่ได้หากสั่งงานก็ต้องจ่าย OT ไม่น้อยกว่า 1.5 หรือถ้าสั่งวันหยุดก็ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดเพิ่มอีก 1 เท่า หากวันนี้ไม่กล้าร้องเรียนก็เก็บหลักฐานไว้ ออกจากงานค่อยไปร้อง

โดย เพจ กฎหมายแรงงาน ได้ระบุในโพสต์ว่า “ ไลน์สั่งงานทั้งวันทั้งคืน ทำได้เหรอ…ถ้าสั่งกลางวัน ที่เป็นเวลาทำงานปกติ ถือเป็นการสั่งการหรือมอบหมายงาน หากเป็นหน้าที่ตามที่ตกลงกันก็ไลน์ได้

แต่ถ้าไลน์สั่งงานในเวลาดังนี้

1. นอกเวลาทำงานปกติ

2. ในวันหยุด ไม่ว่าจะหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หยุดพักผ่อนประจำปี

3. นอกเวลาทำงานปกติของวันหยุดทั้ง ๓ ประเภทในข้อ ๒

นายจ้างจะบังคับให้พนักงานหรือลูกจ้างทำงานในเวลาดังกล่าวไม่ได้ ต้องขอความยินยอม ถ้าไม่ยินยอมก็จะบังคับไม่ได้ หากไลน์สั่งงานนอกเวลาทำงานในวันทำงานปกติต้องจ่าย OT ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของค่าจ้างที่ได้รับต่อชั่วโมง

หากไลน์สั่งงานในวันหยุดต้องจ่ายเพิ่มอีก 1 แรง เช่นถ้าเคยได้วันละ 500 บาท ก็ต้องจ่ายเพิ่มอีก 500 บาท

หากไลน์สั่งงานนอกเวลาทำงาน แต่เป็นวันหยุดไม่ว่าจะหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หยุดพักผ่อนประจำปี ต้องจ่าย 3 เท่าของค่าจ้างที่ได้รับต่อชั่วโมงในทางปฎิบัติพนักงาน หรือลูกจ้างก็ทำงานไปด้วยความเกรงใจ ดึก ๆ ดื่น ๆ ก็ต้องเปิดคอมฯ ทำงานหรือบางคนไม่ได้ไลน์สั่ง แต่นายจ้างจะโทรตามเช่นให้ไปซ่อมหรือแก้ไขเครื่องจักร หรือคอมพิวเตอร์ใช้ไม่ได้ เจ้าหน้าที่ไอทีก็อาจถูกโทรตาม ก็ใช้หลักการเดียวกันคือต้องจ่ายเงินเพิ่มเป็นค่า OT หรือค่าทำงานในวันหยุด

วิธีสั่งงานไม่จำกัดเฉพาะไลน์ แต่ยังรวมถึงไลน์สั่งงานนอกเวลางานก็มีสิทธิได้รับเงิน 1.5 เท่ากฎหมายบอกว่าการทำงานล่วงเวลาต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราว ๆ ไป แต่มีปัญหาว่าหากนายจ้างให้ทำงานล่วงเวลา โดยสั่งงานนอกเวลางาน เช่น สั่งงานผ่านไลน์ หรือโทรศัพท์ ซึ่งก็ไม่ได้เคยได้ขอความยินยอมจากลูกจ้าง

แต่ลูกจ้างก็ทำงานไปด้วยความเกรงใจ ดึก ๆ ดื่น ๆ ก็ต้องเปิดคอมฯ ทำงาน การสั่งงานเช่นนี้เป็นการให้ทำงานล่วงเวลา โดยการทำงานล่วงเวลาไม่จำเป็นต้องนั่งทำงานที่สำนักงาน สั่งให้ทำงานที่บ้าน หรือบนรถก็ได้

นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา จะอ้างว่าลูกจ้างไม่เคยให้ความยินยอมเป็นหนังสือไม่ได้ ทั้งนี้ต้องถือว่าที่ลูกจ้าง (ต้องจำใจ หรือเกรงใจ) ทำงานนั่นแหละความยินยอม ก็ต้องจ่ายค่าล่วงเวลา 1.5 เท่าของค่าจ้างรายชั่วโมงในเวลาทำงานปกติส่วนลูกจ้างก็อาจเก็บข้อมูลการทำงานนอกเวลาทำงานไว้ได้ หลักฐานอาจเป็นไลน์สั่งงาน หรือโทรศัพท์ หรืออีเมลล์

ส่วนสถานที่ทำงานจะทำที่บ้าน ทำบนรถ ทำที่สำนักงาน หรือไปกางเต็นท์นอนชิว ๆ อยู่หากถูกสั่งงานก็ถือเป็นการทำงาน OT หรือทำงานในวันหยุดก็ถือเป็นการทำงานทั้งสิ้น

ในวันที่เรายังคงทำงานอยู่ หลายคนก็คงไม่กล้าฟ้อง หรือร้องต่อเจ้าหน้าที่ แต่หากออกจากงานไปแล้วก็สามารถไปฟ้องหรือร้องเรียนย้อนหลังได้ เพียงแต่ต้องเก็บหลักฐานเอาไว้ให้ดี “

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากเพจ : กฎหมายแรงงาน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ