เรียกได้ว่ายังคงเป็นอีกหนึ่งนโยบายรัฐที่นำโดย พรรคเพื่อไทย นั้นได้ชูเป็นนโยบายหลัก ตั้งแต่ช่วงหาเสียงเลือกตั้งกับประเด็นของ โครงการ ‘เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท’ โดยความคืบหน้าล่าสุดในตอนนี้ นั้นคงอยู่ที่การเจรจา ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ใช้กันในปี 2567 ซึ่งมีเกณฑ์การจ่ายและเงื่อนไข ดังนี้ กำหนดให้ประชาชนอายุ 16 ปีขึ้นไป ได้รับเงิน 10,000 บาท โดยเข้าดิจิทัลวอลเล็ตที่ถูกสร้างโดยรัฐบาล ที่พรรคเพื่อไทยเป็นผู้สร้าง ในระบบ Blockchain ที่จะส่งผลเอื้อต่อระบบการชำระงินรูปแบบใหม่และเป็นการเปิดประเทศ สู่สังคมดิจิทัล สำหรับประชาชนที่มีสวัสดิการอื่นๆ เช่น คนพิการ คนชรา ก็จะได้รับเต็มจำนวนไม่หักลด
- 1.ต้องใช้ในรัศมี 4 กิโลเมตร จากที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน จะซื้ออาหาร เครื่องดื่ม ยารักษาโรค เครื่องมือทำกิน ได้ทั้งนั้น แต่สามารถปรับเปลี่ยนตามภูมิประเทศได้ ส่วนจะขยายรัศมีเป็นเท่าไร ขอเวลาในการศึกษาก่อน
- 2. ต้องใช้ในระยะเวลา 6 เดือน จะใช้ทีเดียว หรือ ทยอยใช้ก็ได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่อย่างรวดเร็ว เหมาะสมกับสภาวะการณ์ของประเทศ
- 3.สำหรับประชาชนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ จะไม่พบปัญหา เพราะสามารถใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวกับโค้ดส่วนตัวมาใช้แทนได้
ล่าสุดนั้นได้มีการเปิดเผยรายชื่อของ นักวิชาการและคณาจารย์เศรษฐศาสตร์ หลายคน ที่ได้ร่วมกันลงชื่อคัดค้านนโยบาย ‘เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท’ ด้านนักเศรษฐศาสตร์ของไทย มีความเห็นพ้องต้องกันที่จะเรียกร้องให้ถึงรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ยกเลิกนโยบายเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท เพราะเป็นนโยบายที่ “ได้ไม่คุ้มเสีย” ซึ่งทางแถลงการณ์นั้นมีระบุไว้ ดังนี้
- เช็กเลย! ใครมีสิทธิรับ ‘เงินดิจิทัล’ 1 หมื่น จากพรรคเพื่อไทยได้บ้าง
- เตือน! แอพปลอม ลงทะเบียน ‘เงินดิจิทัล 10,000 บาท’ ระบาดหนัก
- กิตติศักดิ์ ติดใจ! ทำไม นโยบายแจก ‘เงินดิจิทัล’ ไม่แจกเงินสด
เหตุผลที่ไม่ควรทำนโยบาย เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท
1) เศรษฐกิจกำลังอยู่ในภาวะฟื้นตัว โดยสำนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ดาดว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.8 ในปีนี้และร้อยละ 3.5 ในปีหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่รัฐจะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อกระตุ้น การบริโภค ภายในประเทศ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ผ่านมามีการบริโภคส่วนบุคคลเป็นตัวจักร สำคัญ ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ การบริโภคขยายตัวถึงร้อยละ 7.8 ซึ่งสูงที่สุด ใน 20ปี คิดเป็นกว่า 2 เท่าของค่าเฉลี่ย 10 ปี คาดว่าปีนี้ทั้งปีจะขยายตัวร้อยละ 6.1 และ 4.6 ในปีหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่รัฐจะกระตุ้นการบริโภคส่วน บุคคล แต่ควรเนันการใช้จ่ายของภาครัฐในการสร้างศักยภาพในการลงทุนและ การส่งออกมากกว่า นอกจากนี้ การกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศยังอาจจะเป็นปัจจัยให้ เกิดเงินเฟอสูงขึ้นมาอีก หลังจากที่เงินเฟ้อได้ลดลงจากร้อยละ 6.1 มาอยู่ที่ ประมาณร้อยละ 2.9 ในปีนี้ ท่ามกลางราคาพลังงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะ หลัง การกระตุ้นการบริโภคในช่วงเวลานี้จะทำให้เงินเอดาดการณ์ (inflation expectation) สูงขึ้น และอาจนำไปสู่สภาวะที่ต้องขึ้นดอกเบี้ยในที่สุด
2) เงินงบประมาณของรัฐที่มีจำกัดย่อมมีค่าเสียโอกาสเสมอ เงิน จำนวนมากถึงประมาณ 560,000 ล้านบาทนี้ ทำให้รัฐเสียโอกาสที่จะลงทุนใน โครง สร้างพื้นฐาน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในการสร้าง digital infrastructure หรือในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เป็นต้น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งล้วนแต่จะสร้างศักยภาพในการเจริญเติบโตในระยะยาวแทนการใช้เงินเพื่อการกระตุ้นการบริโภคระยะสั้นๆ ซึ่งไม่สมเหตุสมผลต่อการสร้างภาระหนี้สาธารณะให้เป็นภาระแก่คนรุ่นต่อไปค่าเสียโอกาสสำคัญคือการใช้เงินสร้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้ประชาชน
3) การกระตุ้นเศรษฐกิจให้รายได้ประชาชาติ (GDP) ขยายตัวโดยรัฐ แจกเงินจำนวน 560,000 ล้านบาทเข้าไปในระบบเป็นการคาดหวังที่เกินจริงเพราะปัจจุบัน ข้อมูลเชิงประจักษ์จากงานวิจัยทำให้นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ตัวทวีคูณทางการคลัง (fiscal multiplier) ที่เกิดจากการใช้จ่ายของรัฐในลักษณะเงินโอนหรือการแจกเงิน มีค่าต่ำกว่า 1 และต่ำกว่าตัวทวีคูณทางการคลังสำหรับการใช้จ่ายโดยตรงและการลงทุนของภาครัฐ การที่ผู้กำหนด นโยบายหวังว่านโยบายนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจจึงเป็นสิ่งที่เลื่อนลอย ไม่มีใครเสกเงินได้ ไม่มีเงินที่งอกจากต้นไม้ ไม่มีเงินที่ลอยมาจากฬาไม่ว่าจะแอบซ่อนมาในรูปใดก็ตา ม สุดท้ายแล้วประชาชนจะต้องจ่ายคืนเสมอ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะจ่ายภาษีเพิ่มขึ้นและ/หรือ ราคาสินค้าแพงขึ้นเพราะเงิน เฟ้ออันเนื่องจากการเพิ่มปริมาณเงิน
4) เราอยู่ในวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2565 เพราะเงินเอสูงขึ้นมาก การก่อหนี้จำนวนมาก ไม่ว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตรหรือกู้เงินจากรัฐวิลาหกิจหรือกู้สถาบันการเงินของภาครัฐ ก็ล้วนแต่จะทำให้รัฐบาลและคนทั้งประเทศต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทั้งสิ้น หนี้สาธารณะของรัฐที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 10.1 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 61.6 ของรายได้ประชาชาติ (GDP) จะต้องมีภาระที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นในยามที่ต้องจ่ายคืนหรือกู้ใหม่ ซึ่งจะมีผลต่อภาระเงินงบประมาณของรัฐในแต่ละปี นี่ยังไม่นับจำนวนเงินค่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากการแจกเงิน digital คนละ 10,000 บาทนี้ด้วย
5) ในช่วงที่โลกเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอยรัฐบาลแทบทุกประเทศต่างก็จำเป็นที่จะต้องมีการขาดดุลการคลังและสร้างหนี้จำนวนมากเพื่อใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุข กระตุ้นเศรษฐกิจ และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ แต่หลังจากวิกฤตโรดระบาดและภาวะเศรษฐกิจถดถอยผ่านไป หลายประเทศได้แสดงเจตนารมย์ที่ฉลาดรอบคอบโดยลดการขาดดุลภาครัฐและหนี้สาธารณะลง (fiscal consolidation) ทั้งนี้เพื่อสร้าง ‘ที่ว่างทางการคลัง’ (fiscal space) ไว้รองรับวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต นโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาทนี้ ดูจะสวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่มีอัตราส่วนรายรับจากภาษี เพียงร้อยละ 13.7 ของรายได้ประชาชาติ (GDP) ซึ่งถือว่าต่ำกว่าประเทศอื่นๆ มากการทำนโยบายการคลังโดยไม่รอบคอบระมัดระวัง และไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ยังจะส่งผลต่ออันดับความนำเชื่อถือ (creditrating) ของประเทศ ซึ่งจะทำให้ตันทุนการกู้เงินของทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนไทยสูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นด้วย
6) การแจกเงินดนละ 10,000 บาท ให้ทุกคนที่อายุเกิน 16 ปี เป็นนโยบายที่สร้างความไม่เป็นธรรมในสังคมอย่างยิ่ง เศรษฐีและมหาเศรษฐี ที่อายุเกิน 16 ปี ล้วนได้รับเงินช่วยเหลือ ทั้งๆที่ไม่มีความจำเป็น
7) สำหรับประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัยเช่นประเทศไทย การเตรียมตัวทางด้านการคลังเป็นสิ่งจำเป็น ขณะที่จำนวนคนในวัยทำงานลดลง แต่สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาระการใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการและสาธารณสุขจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผู้บริหารประเทศที่มองการณ์ไกลจึงควรใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าและรักษาวินัยและเสถียรภาพทางด้านการคลังอย่างเคร่งครัด
ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ข้างต้น บรรดานักวิชาการและดณาจารย์เศรษฐศาสตร์ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก ‘นโยบายแจกเงิน digital 10,000 บาท’ แก่ผู้มีอายุ 16 ปีขึ้นไป เพราะประโยชน์ที่ประเทศจะได้นั้นน้อยกว่าต้นทุนที่เสียไปอย่างมาก นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้มีการแจกเงินเพื่อกระตุ้นให้คนจับจ่ายใช้สอยในระยะสั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงวินัยและเสถียรภาพการคลังในระยะยาว
แม้รัฐบาลทุกรัฐบาลจะต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องไม่ทำลายความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว หากจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มคนรายได้น้อย ก็ควรทำแบบเฉพาะเจาะจงแทนการเหวี่ยงแหครอบคลุมคนทุกกลุ่มเพราะเสถียรภาพทางการคลังของไทยและความสามารถในการจัดเก็บภาษี ไม่เอื้อให้ประเทศทำเช่นนั้น
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY