นักวิชาการชี้ ‘โลกร้อนขึ้น’ ส่งผลให้เครื่องบินตกหลุมอากาศเพิ่มมากขึ้น

Home » นักวิชาการชี้ ‘โลกร้อนขึ้น’ ส่งผลให้เครื่องบินตกหลุมอากาศเพิ่มมากขึ้น
โลกร้อน

นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ชี้อัตราการเกิดหลุมอากาศเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าภายในปี 2050 เครื่องบินต้องเผชิญหลุมอากาศเพิ่มขึ้น 40% สาเหตุจาก ‘โลกร้อนขึ้น’

จากกรณีที่ เครื่องบินของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ321 ตกหลุมอากาศที่ความสูง 37,000 ฟุต ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต จนต้องของลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินสุวรรณภูมิ ล่าสุด วันนี้ (22 พ.ค.67) ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า “โลกร้อนขึ้น โอกาสที่เครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น..เพราะอะไร?

  • สรุปเหตุการณ์ สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ขอลงจอดฉุกเฉินที่สุวรรณภูมิ เพราะตกหลุมอากาศ

1.เครื่องบินที่บินในบริเวณซีกโลกตะวันตกหรือบินจากโลกตะวันตก มายังซึกโลกตะวันออก มีโอกาสที่จะตกหลุมออากาศบ่อยขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้น ทำให้ลมกรด หรือ Jet stream ซึ่งเป็นลมที่ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการบินแปรปรวน

2. Jet Streams หรือลมกรด เป็นกระแสลมที่ไหลเวียนในระดับความสูงประมาณ 7.0 ถึง 16 กม.เหนือจากพื้นโลก มีความเร็วสูงมากถึง 200-400 กม./ชม.เป็นลมที่พัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกของโลก ดังนั้นถ้าเครื่องบิน บินจากซึกตะวันตกมาทางซีกตะวันออก ก็ควรวางแผนการบินให้บินตามกระแสของ Jet stream จะทำให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นช่วยประหยัดพลังงานและลดเวลาในการบินสั้นลง แต่หากจะบินจากตะวันออกมาทางตะวันตก ก็ควรบินหลบ Jet stream ให้มากที่สุด เพราะจะสวนกระแสลม ทำให้ใช้เวลาการบินมากขึ้น

442417016 1067355348084737 556550207331145730 n

3.อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้น เนื่องจากโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ทำให้ลมกรดหรือ Jet stream ลดความเร็วลงในบางช่วง มีงานวิจัยระบุว่าอุณหภูมิในบรรยากาศที่สูงขึ้นในแถบทวีปอาร์กติก ซึ่งร้อนขึ้นเกือบสี่เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก กำลังส่งผลให้กระแสลมกรด (jet stream) ซึ่งเป็นลมที่มีกำลังแรง พัดอยู่บนชั้นบรรยากาศในบางช่วงมีความเร็วลดลง ทำให้เกิดอากาศแปรปรวนในขณะที่อากาศปลอดโปร่ง (Clear Air Turbulance) มากขึ้น (ทั้งที่ไม่ได้บินผ่านเมฆหรือพายุ)

เนื่องจากช่วงที่ความเร็วของลมกรดลดลง จะทำให้ความหนาแน่นของมวลอากาศในช่วงบริเวณดังกล่าวบางลง ซึ่งทำให้เกิด “หลุมอากาศ” ขึ้น ในขณะที่เครื่องบินได้บินผ่านหลุมอากาศ แรงยกจากปีกของเครื่องบิน จะลดลงอย่างกระทันหัน ทำให้ตัวเครื่องตกลงไปในหลุมอากาศ ซึ่งจะตกมากหรือน้อย อยู่ที่ขนาดของความหนาแน่นของมวลอากาศ

4. นักวิจัยชี้ว่าอัตราการเกิดหลุมอากาศจะเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าภายในปี2050 และอาจมีเครื่องบินต้องเผชิญกับหลุมอากาศที่รุนแรงมากขึ้นถึง 40%

441502874 1067355401418065 8917518962554812141 n

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ