นักวิจัยพบฟอสซิล “สัตว์ขาปล้องน้ำจืด” มีหนามแหลมรอบตัว-อายุ 420 ล้านปี

Home » นักวิจัยพบฟอสซิล “สัตว์ขาปล้องน้ำจืด” มีหนามแหลมรอบตัว-อายุ 420 ล้านปี



นักวิจัยพบฟอสซิล “สัตว์ขาปล้องน้ำจืด” – ซินหัว รายงานว่าคณะนักวิจัยร่วมของจีนและสหราชอาณาจักรค้นพบซากฟอสซิล “สัตว์ขาปล้อง” (arthropod) ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดและมีเดือยแหลม ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ ประเทศจีน

คณะนักวิจัยจากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน ระบุว่าสิ่งที่พบเป็นซากฟอสซิลลำตัวสัตว์ขาปล้องน้ำจืดเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบในจีน มีอายุราว 420 ล้านปี

นักวิจัยพบฟอสซิล “สัตว์ขาปล้องน้ำจืด”

นักวิจัยพบฟอสซิล “สัตว์ขาปล้องน้ำจืด” – Collecting arthropod and plant fossils in the fieldwork. (Image by NIGPAS)

สัตว์ขาปล้องชนิดนี้มีชื่อว่า “Maldybulakia saierensis” ลักษณะเหมือนแมลงมีหนามแหลมรอบลำตัวที่แบ่งเป็นหลายส่วนอย่างสมมาตรทั้งสองด้าน ส่วนหางงอกยาวเรียวแหลม

จากการวิเคราะห์ระดับความเค็มและข้อมูลอื่นๆ ของจุดที่ค้นพบซากฟอสซิล ทำให้สรุปได้ว่าสัตว์ขาปล้องชนิดนี้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมน้ำจืด เช่น แม่น้ำหรือทะเลสาบตามเทือกเขา

นายสวี หงเหอ ผู้เขียนงานวิจัยจากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง กล่าวว่าสัตว์ขาปล้องเป็นไฟลัมขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรสัตว์ ตั้งแต่กุ้งและปูในทะเลและน้ำจืดจนถึงยุง แมลงวัน และแมงมุมบนบก

ก่อนเสริมว่าการอุบัติขึ้นมาของสัตว์ขาปล้องน้ำจืดเป็นจุดเชื่อมการเปลี่ยนแปลงสำคัญในการ “ขึ้นบก” ของสัตว์ทะเล โดยการค้นพบนี้เป็นหลักฐานสำคัญเพื่อทำความเข้าใจวิธีที่สัตว์ย้ายจากมหาสมุทรขึ้นมาบนบก

นักวิจัยพบฟอสซิล “สัตว์ขาปล้องน้ำจืด”

นักวิจัยพบฟอสซิล “สัตว์ขาปล้องน้ำจืด” – Silurian Maldybulakia saierensis sp. nov. from the Saier Mountains, western Junggar, Xinjiang. A, five types of partially articulated sclerites (holotype, BGEG-SE-06a). B, complete T-tergite (paratype, BGEG-SE-04). C, ring tergite (paratype, BGEG-SE-05). D, internal mould of a B-pleurotergite, showing medium-sized tubercles on the median lobe of the posterior part (paratype, BGEGSE-28-1). E, caudal pleurotergite (paratype, BGEG-SE-23). F, B-pleurotergite with forward-bending paratergal spines (paratype, BGEGSE-02-1). G, a complete T-tergite (upper) and B-pleurotergite with backward-bending paratergal spines (lower), with a magnified view of the ornament (inset) (paratype, BGEG-SE-21a-1, 2), H, articulated caudal pleurotergite and telson sclerite (holotype, BGEG-SE06b). I, telson sclerite (paratype, BGEG-SE-21b-3). J, three-dimensionally preserved B-pleurotergite (paratype, BGEG-SE-16a-1). Abbreviations: bp, B-pleurotergites; cp, caudal pleurotergite; rt, ring tergite; ts, telson sclerite; tt, T-tergite. Scale bars represent: 5 mm (A, F– I); 2 mm (B–E, J). (Image by NIGPAS)

นักวิจัยพบฟอสซิล “สัตว์ขาปล้องน้ำจืด”

นักวิจัยพบฟอสซิล “สัตว์ขาปล้องน้ำจืด” – Spores and plant fragments co-bearing with Maldybulakia saierensis from the Silurian of Xinjiang. (Image by NIGPAS)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

  • พบร่องรอยมนุษย์โบราณ 43,000 ปี หลังกระแสน้ำซัด “ซากฟอสซิล” เกยตลิ่งเสฉวน
  • นักวิทย์เผย “ฟอสซิลกุ้ง” ในยูนนานเป็น “สายพันธุ์ใหม่” อายุเก่าแก่ 518 ล้านปี!
  • รุดหน้าวิจัยฟอสซิลกะโหลก “มนุษย์อวิ๋นเซี่ยน” หมายเลข 3 อายุนับล้านปี

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ