ทีมนักวิทย์พบ “หัวใจ” จากฟอสซิลปลาโกโก 380 ล้านปี-ตะลึงเนื้อเยื่อสมบูรณ์

Home » ทีมนักวิทย์พบ “หัวใจ” จากฟอสซิลปลาโกโก 380 ล้านปี-ตะลึงเนื้อเยื่อสมบูรณ์



ทีมนักวิทย์พบ “หัวใจ” จากฟอสซิลปลาโกโก 380 ล้านปี-ตะลึงเนื้อเยื่อสมบูรณ์

ทีมนักวิทย์พบ “หัวใจ” – บีบีซี รายงานวันที่ 16 ก.ย. ถึงความคืบหน้าครั้งสำคัญหลังจากคณะนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเคอร์ติน ในเมืองเพิร์ธ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย ค้นพบ “หัวใจ” อายุกว่า 380 ล้านปีในฟอสซิล “ปลาโกโก” ปลาจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

โดยตัวอย่างหัวใจสภาพดีของปลาโกโกที่เพิ่งค้นพบนี้เก็บรักษากุญแจที่จะไขสู่วิวัฒนาการของอวัยวะสูบฉีดเลือดที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด รวมถึงมนุษย์

ศาสตราจารย์เคต ไทรนาจส์ติก หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเคอร์ติน เปิดเผยการค้นพบชวนตะลึงผ่านวารสารวิทยาศาสตร์ไซแอนซ์ว่าช่วงเวลาที่เจอตัวอย่างหัวใจปลาโกโก ตนและนักวิทยาศาสตร์เพื่อนร่วมงานเพิ่งตระหนักได้ว่านี่คือการค้นพบที่ใหญ่ที่สุดในชีวิต “ผู้คนมากมายมุงอยู่รอบๆ คอมพิวเตอร์ เราเพิ่งรู้ว่านี่คือมีหัวใจและแทบไม่อยากเชื่อเลย มันน่าตื่นเต้นมาก”

ทีมนักวิทย์พบ “หัวใจ”

The fish are perfectly preserved in boulders found in the Kimberley region of Western Australia.

ศาสตราจารย์ไทรนาจส์ติกกล่าว และว่าปกติแล้วฟอสซิลอายุเก่าแก่มากขนาดนี้จะเป็นกระดูกมากกว่าเนื้อเยื่อ แต่การค้นพบที่เขตโกโกฟอร์เมชัน ในภูมิภาคคิมเบอร์ลีย์นั้น แร่ธาตุในบริเวณดังกล่าวช่วยเก็บรักษาอวัยวะภายในของปลาดึกดำบรรพ์ตัวนี้ไว้อย่างดี รวมทั้งตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้ และหัวใจ

ศาสตราจารย์จอห์น ลอง เพื่อนร่วมงานจากมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์สในเมืองแอดิเลด รัฐเซาท์ออสเตรเลีย กล่าวว่าเป็นการค้นพบที่น่าเหลือเชื่อและชวนให้ต้องอ้าปากค้าง “เราไม่เคยรู้เกี่ยวกับเนื้อเยื่อในสัตว์ที่มีอายุเก่าแก่ขนาดนี้จนกระทั่วตอนนี้” ศาสตราจารย์ลองกล่าวย้ำ

และว่าปลาโกโกเป็นปลาชนิดแรกในชั้น พลาโคเดิร์ม (Placoderm) ทั้งยังเป็นปลาชนิดแรกที่มีกรามและฟัน แถมมีขนาดใหญ่ต่างจากปลาในยุคก่อนหน้านั้นซึ่งปกติมีความยาวลำตัวไม่เกิน 30 เซนติเมตร แต่ปลาในชั้นพลาโคเดิร์มสามารถเติบโตได้มากถึง 9 เมตร มีชีวิตมากกว่า 100 ล้านปีก่อนที่ไดโนเสาร์ตัวแรกจะมีชีวิตบนโลกใบนี้

ทีมนักวิทยาศาสตร์ยังระบุอีกว่า การสแกนฟอสซิวปลาโกโกจากภูมิภาคคิมเบอร์ลีย์แสดงให้เห็นว่าหัวใจของมันมีความซับซ้อนกว่าที่คิดไว้สำหรับปลาดึกดำบรรพ์ หัวใจของปลาโกโกมี 2 ห้อง ห้องหนึ่งซ้อนทับบนหัวใจอีกห้อง และมีโครงสร้างคล้ายกับหัวใจมนุษย์ สิ่งนี้ทำให้หัวใจของปลาโกโกมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นขั้นตอนสำคัญที่เปลี่ยนจากปลาเคลื่อนไหวช้าไปเป็นนักล่าใต้น้ำที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว

ทีมนักวิทย์พบ “หัวใจ”

Artist’s impression of the Gogo fish : Researchers have discovered a 380-million-year-old heart preserved inside a fossilised prehistoric fish. They say the specimen captures a key moment in the evolution of the blood-pumping organ found in all back-boned animals, including humans.

จากฟอสซิลปลาโกโก 380 ล้านปี-ตะลึงเนื้อเยื่อสมบูรณ์

A fossil of the head of a Gogo fish with large eye sockets. The heart belonged to a fish known as the Gogo, which is now extinct. BBC

จากฟอสซิลปลาโกโก 380 ล้านปี-ตะลึงเนื้อเยื่อสมบูรณ์

The researchers scanned inside the boulders to discover a liver, stomach, intestines and a heart, shown in red.

ทีมนักวิทย์พบ “หัวใจ”

The Gogo fish’s heart had two chambers, one above the other, which went on to evolve into the human heart.

จากฟอสซิลปลาโกโก 380 ล้านปี-ตะลึงเนื้อเยื่อสมบูรณ์

The preserved stomach of a Gogo fish fossil under the microscope. CREDIT:CURTIN UNIVERSITY

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

  • พบฟอสซิลปลาโบราณ 2 สายพันธุ์ “หน้าคล้ายอีโมจิ” เก่าแก่กว่า 430 ล้านปี
  • พบฟอสซิลปลาพันธุ์ใหม่ “ญาติตะเพียน” เมื่อ 30 ล้านปีก่อนในที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต
  • อังกฤษพบซากปลาดึกดำบรรพ์ เผยสภาพสมบูรณ์-อายุกว่า180ล้านปี

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ