ทำความรู้จัก เรือฟริเกต ปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ ผิวน้ำ อากาศ ใต้น้ำ

Home » ทำความรู้จัก เรือฟริเกต ปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ ผิวน้ำ อากาศ ใต้น้ำ


เรือฟริเกต

เปิดทำความรู้จัก เรือฟริเกต คืออะไร? หลัง สุทิน รมว.กลาโหม เสนอเปลี่ยนจาก เรือดำน้ำ บอกเลยสมรรถนะไม่ธรรมดา ปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ

วันที่ 22 ตุลาคม 2566 มีรายงานว่า นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทำการเสนอเปลี่ยนเรือดำน้ำ ที่พบว่ามีปัญยาหลายด้าน ไปเป็น เรือฟริเกต ให้ครบ 8 ลำ โดยทางกองทัพตอนนี้มีอยู่จำนวน 4 ลำ ซึ่งตามยุทธวิธีแล้วจำเป็นต้องใช้ทั้งสิ้น 8 ลำ การขอเสนอขอเปลี่ยนในครั้งนี้ ทำให้ทั้งฝ่ายค้าน และประชาชนต่างจับตามองเป็นอย่างมากถึงงบประมาณที่เสียไปแล้วหลายพันล้านบาท อีกทั้งหลายคนยังสงสัยว่า เรือรบฟริเกต ดีเช่นไร วันนี้ทีมข่าวไบรท์ทูเดย์ จะมายกตัวอย่าง เรือฟริเกต ที่ทางกองทัพมีอยู่แล้ว

เรือฟริเกต (2)

เรือฟริเกต คืออะไร

เรือฟริเกต ในประเทศไทย หรือ เรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นชุดเรือฟริเกตของกองทัพเรือไทย ออกแบบมาจากแบบของเรือพิฆาตชั้นควังแกโทมหาราช ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี เรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือชุดที่ต่อขึ้นเพื่อทดแทนเรือฟริเกตชุดเรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งปลดปลดประจำการในปี พ.ศ. 2560 โดยกองทัพเรือได้เปลี่ยนเงินงบประมาณซึ่งจากเดิมจะนำไปจัดหาเรือดำน้ำแบบ U-206A จากประเทศเยอรมนี จำนวน 6 ลำ งบประมาณ 7.6 พันล้านบาท ซึ่งถูกระงับโครงการเนื่องจากเลยกรอบระยะเวลาที่ทางการเยอรมนีกำหนด มาใช้งานในโครงการจัดซื้อเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ซึ่งได้รับการอนุมัติโครงการภายใต้รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในปี พ.ศ. 2555 ในการจัดหา
กองทัพเรือได้ลงนามในการผลิตเรือลำแรกกับบริษัท แดวู ชิปบิลดิ้ง แอนด์ มารีน เอ็นจิเนียริ่ง เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556 เพื่อสร้างเรือฟริเกตที่มีสมรรถนะสูง มีความทันสมัย และมีโครงสร้างที่แข็งแรง ด้วยวงเงิน 14,600 ล้านบาท กำหนดส่งมอบเรือลำแรกภายในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยกองทัพเรือทำพิธีต้อนรับเรือเพื่อเข้าประจำการเมื่อวัที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2562 ณ ท่าเรือจุกเสม็ด ฐานทัพเรือสัตหีบ แต่เดิมชื่อว่า เรือหลวงท่าจีน ต่อมาได้รับการพระราชทานชื่อเป็น เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นพระนามของ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สำหรับเรือลำที่สองของชุด คือเรือหลวงประแส วางแผนที่จะต่อในประเทศไทย คาดว่าที่อู่มหิดลอดุลเดช หรือ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ผ่านบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MOU) กับกองทัพเรือ ในการซ่อม สร้าง และการดัดแปลงเรือ แต่ถูกระงับในปี พ.ศ. 2562 เนื่องจาก พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้นเห็นความสำคัญของโครงการต่อเรือดำน้ำของประเทศจีนมากกว่า จึงได้นำงบประมาณในการต่อเรือหลวงประแส และงบประมาณในการจัดหาอากาศยานลาดตระเวนไปจัดซื้อเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ซึ่งจะใช้เป็นเรือพี่เลี้ยงของเรือดำน้ำก่อน ในงบผูกพันธ์กับเรือดำน้ำลำที่ 2 ต่อมาได้มีการเสนอต่อเรือในปี พ.ศ. 2565 – 2566 หลังจากกองทัพเรือยอมถอนงบประมาณในการต่อเรือดำน้ำลำที่ 2 – 3 ออกไป ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนจัดทำแผน และรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี

  • เรียกคืน ยาลดความดัน 8 พันกล่อง เสี่ยงก่อมะเร็ง ให้ลูก-หลานเช็กด่วนที่นี่
  • เช็กด่วน ถนนน้ำท่วม สายเหนือ – สายอีสาน 8 เส้นทาง 9 จังหวัด
  • รถไฟฟ้าสายสีชมพู จ่อเปิด ธ.ค. นี้ เช็กเลยมีสถานนีไหน เชื่อมสายไหนบ้าง

การออกแบบ เรือฟริเกต

เรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือที่พัฒนามาจากแบบของเรือพิฆาตชั้นควังแกโทมหาราช ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีที่ใช้มาตรฐานเดียวกับกองทัพเรือสหรัฐ คือแบบเรือ DW3000F ซึ่งเพิ่มเติมคุณสมบัติด้านการล่องหน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของกองทัพเรือไทย สามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติ คือบนผิวน้ำ ใต้น้ำ และอากาศ สามารถปฏิบัติการได้ในสภาวะแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนทางเคมี ชีวะ รังสี และนิวเคลียร์ สามารถทนทะเลได้ในระดับ 8 ความสูงคลื่นประมาณ 12 เมตร ทำความเร็วได้สูงสุด 30 นอต มีระยะในการปฏิบัติการไกล 4,000 ไมล์ทะเล ปฏิบัติการต่อเนื่องได้ 21 วัน ใช้กำลังพลปฏิบัติงานทั้งหมด 141 นาย โดยมีนายทหารระดับนาวาเอก เป็นผู้บังคับการเรือ
โดยเรือมีการออกแบบให้ใช้เทคโนโลยีในการล่องหน (ตรวจจับได้ยาก) สามารถปฏิบัติการรบได้ทั้ง 3 มิติคือ ผิวน้ำ ผ่านระบบอำนวยการรบที่สามารถปฏิบัติการร่วมกับเรือลำอื่น ๆ ของกองทัพเรือเพื่อปฏิบัติการในรูปแบบของกองเรือ รวมถึงปฏิบัติการร่วมกับอากาศยานทั้งของกองทัพเรือและกองทัพอากาศเองในการโจมตีเรือผิวน้ำ ใต้น้ำ ผ่านการตรวจจับเป้าหมายใต้น้ำด้วยโวนาร์ลากท้ายและโซนาร์ใต้ลำเรือ และต่อต้านทำลายด้วยตอร์ปิโด หรืออาวุธระยะไกล และทางอากาศ ผ่านเรดาร์ตรวจการณ์ระยะไกล 3 มิติ และเรดาร์ตรวจการณ์ระยะกลางสำหรับค้นหาอากาศยานและตรวจจับพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเรือและอากาศยานที่ร่วมการปฏิบัติการรบ และโจมตีด้วยขีปนาวุธหรือปืนประจำเรือ
สำหรับระบบป้องกันตนเองของ เรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช ประกอบไปด้วยระบบอาวุธปล่อยนำวิถี ปืนต่อสู้อากาศยาน ปืนใหญ่เรือ อาวุธป้องกันระยะประชิด ระบบเป้าลวงอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมความเสียหายของเรือที่สามารถทำได้ทั้งจากศูนย์กลางและแบบแยกส่วน รวมไปถึงระบบป้องกันการแพร่สัญญาณต่าง ๆ ออกจากตัวเรือและการดักจับรบกวนสัญญาณต่าง ๆ
นอกจากนี้ พื้นที่บริเวณท้ายเรือซึ่งเป็นดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์และโรงเก็บเครื่องบินนั้นสามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์น้ำหนักไม่เกิน 10 ตัน รวมถึงสามารถดัดแปลงโรงเก็บอากาศยานให้เป็นพื้นที่พักสำหรับผู้ประสบภัยได้ชั่วคราวประมาณ 100 คน

เรือฟริเกต (1)

ยุทโธปกรณ์ เรือรบฟริเกต

เรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช มีการติดตั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ อาทิ ขีปนาวุธต่อต้านเรือดำน้ำแบบ VL ASROC (Vertical Launch Anti-Submarine Rocket) หรือ แอสร็อก ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบ ESSM (Evolved SeaSparrow Missile) จากแท่นยิงขีปนาวุธแนวดิ่งแบบ Mk.41 VLS อาวุธปืนประจำเรือคือปืนใหญ่เรือแบบออโตเมราล่า 76/62 คาลิเบอร์ อาวุธปล่อย่อต้านเรือผิวน้ำแบบ อาร์จีเอ็ม-84ดี ฮาร์พูน และอากาศยานปีกหมุนประจำเรือสำหรับการปฏิบัติการต่อเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำ

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ