ตะลึงพบ “ซากประตูลับ” กว่า 130 บานบนกำแพงเมืองจีน คาดเป็นช่องทางสอดแนม

Home » ตะลึงพบ “ซากประตูลับ” กว่า 130 บานบนกำแพงเมืองจีน คาดเป็นช่องทางสอดแนม



ตะลึงพบ ซากประตูลับ กว่า 130 บานบนกำแพงเมืองจีน คาดเป็นช่องทางสอดแนม

ตะลึงพบ “ซากประตูลับ” – ซินหัว รายงานการค้นพบครั้งสำคัญเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากทีมวิจัยระบบการป้องกันของ “กำแพงเมืองจีน” หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก เปิดเผยว่าพบซากประตูที่ถูกซ่อนอยู่กว่า 130 บานบนกำแพงเมืองจีนผ่านการถ่ายภาพต่อเนื่องที่มีความละเอียดเกือบระดับเซนติเมตร

ทีมงานทำการวิเคราะห์รูปภาพเพิ่มเติมและลงพื้นที่สำรวจประตูลับดังกล่าว พบว่าประตูลับแต่ละบานออกแบบมาให้เข้ากันได้ดีกับภูมิประเทศในท้องถิ่น ในอดีตเส้นทางลับเหล่านี้มีไว้เป็นทางผ่านของทหารสอดแนม ขณะที่บางเส้นทางถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกกำแพงเมืองจีน หรือเพื่อการค้าและการพาณิชย์สมัยโบราณ

ตะลึงพบ “ซากประตูลับ”

Ruins of over 130 hidden doors on the Great Wall, one of the world’s great wonders, have been recently unveiled through close to centimeter-resolution continuous shooting, said a research team on the Great Wall’s defense system. (Tianjin University/Handout via Xinhua)

เอกสารทางการบางฉบับที่มีอายุย้อนกลับไปสมัยราชวงศ์หมิง (ปีพ.ศ.1911-2187) ระบุว่าชนเผ่าเร่ร่อนได้รับอนุญาตให้ใช้งานประตูลับเพื่อการเลี้ยงปศุสัตว์ระหว่างภูมิภาคชิงไห่และเหอเท่า ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรน้ำและหญ้าอุดมสมบูรณ์ในห้วงเวลานั้น

นายจาง อวี้คุน ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทียนจิน หัวหน้าทีมวิจัย ชี้ว่าการเลี้ยงปศุสัตว์ข้างต้นมีหลักฐานยืนยันเป็นประตูลับขนาดใหญ่บางส่วนที่สามารถให้ม้าสองตัวเดินผ่านจากทั้งสองทิศทาง ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยพิสูจน์ว่ากำแพงเมืองจีนไม่ได้ปิดสนิท แต่จะเปิดอย่างเป็นระบบ

ตะลึงพบ “ซากประตูลับ”

Based on further picture analysis and field trips to the secret doors, the team found each hidden door designed to be highly compatible with the local topography. In history, those secret passages were for scouts to pass through, while some were built as channels for communication between inside and outside of the Great Wall, or for trade and commerce in ancient times. (Tianjin University/Handout via Xinhua)

ก่อนหน้านี้จีนมีการศึกษาเกี่ยวกับทางลับดังกล่าวน้อยมาก แต่การค้นพบครั้งใหม่นี้สามารถช่วยนำเสนอกลไกทางสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์และเด่นชัดของกำแพงเมืองจีนได้ ทีมงานยังพบประตูทางออกที่ลึกลับที่สุดของเส้นทางลับเหล่านี้ ซึ่งถูกบันทึกไว้โดยเหล่านักวิชาการในสมัยราชวงศ์ถัง ซ่ง หมิง และชิง แต่ไม่เคยมีหลักฐานทางกายภาพของทางออกลับประเภทนี้ปรากฏมาก่อน

นายหลี่ เจ๋อ หนึ่งในทีมวิจัย อธิบายว่าประตูทางออกฝั่งที่หันไปทางข้าศึกถูกพรางด้วยอิฐ ส่วนฝั่งที่หันไปทางทหารในกำแพงเมืองจีนถูกสร้างให้เป็นโพรง ทำให้ศัตรูแทบไม่สามารถแยกแยะตำแหน่งของทางออกเมื่อมองจากภายนอก

พร้อมชี้ว่าเมื่อด่านกำแพงหลักที่อยู่ใกล้เคียงถูกโจมตี ทหารจีนสามารถพังประตูจากด้านในได้เสมือนการทุบเปลือกไข่ และทำการโจมตีแบบสายฟ้าแลบซึ่งนับเป็นเครื่องยืนยันชั้นดีถึงภูมิปัญญาทางการทหารของจีนในสมัยโบราณ

ตะลึงพบ “ซากประตูลับ”

According to some official documents dating back to the Ming Dynasty (1368-1644), nomadic tribes were allowed to use such secret gates for grazing their cattle between northwest China’s Qinghai and Hetao, a region with abundant water and grass resources at that time. Such practice is also evidenced by some large secret doors that could allow two horses to pass in both directions, said Zhang Yukun, a professor from Tianjin University, also head of the research team. (Tianjin University/Handout via Xinhua)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

  • ผ่านกฎคุ้มครองกำแพงเมืองจีน “ด่านฉี” เก่าแก่สุดที่ยังเหลืออยู่-สร้างตั้งแต่ยุคชุนชิว
  • ใต้กำแพงเมืองจีน มีสถานี รถไฟ “ความเร็วสูง” ลึกที่สุดในโลก

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ