เป็นอีกหนึ่งคนดังในวงการบันเทิงที่ตัดสินใจเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 สำหรับซุปตาร์สาว ชมพู่-อารยา เอ ฮาร์เก็ต โดยล่าสุดหลังเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ครบ 1 อาทิตย์ เจ้าตัวก็ตัดสินใจรีวิวทุกอย่างตามที่แฟนๆ ได้เรียกร้องมาก่อนหน้านี้
ซึ่ง ชมพู่ อารยา ยอมรับว่าเคยคิดที่จะบินไปฉีดวัคซีนที่เมืองนอกเช่นกัน แต่พอได้ศึกษาหาข้อมูลอย่างจริงจังจึงทำให้ตัดสินใจได้ว่า วัคซีนที่ดีคือวัคซีนที่ได้ฉีดเร็วที่สุด
“สวัสดีค่ะ รีวิว การฉีดวัคซีน sinovac ค่ะ
ก่อนอื่น ขอแชร์ว่า ส่วนตัวตัดสินใจแน่วแน่ที่จะรับวัคซีน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดตอนนี้ที่หนักหน่วง + มีลูกเล็ก + ห่วงว่าจะเป็นพาหะให้ยายหนิง และที่สำคัญที่สุดคือมีแพนที่จะตั้งครรภ์ แต่มองไม่เห็นเลยว่าสถานการณ์นี้จะยืดเยื้อไปอีกเท้าไหร่ อยากจะให้ตัวเองมีภูมิคุ้มกันให้มากที่สุด นอกเหนือไปจากการตั้งการ์ดให้สูงที่สุด รักษาร่างกายให้แข็งแรง รวมไปถึงการกิน / ใช้ทุกอย่างที่แชร์กันตาม social ว่าช่วยในการสู้รบกับเชื้อ covid-19 ได้ (ของฤทธิ์ร้อน สมุนไพร ยาจีน ยาเขียว น้ำยาบ้วนคอ bla bla bla)”
“จึงเริ่มศึกษาหาข้อมูลถึงตัวเลือกต่างๆ ที่มี บอกตามตรงว่าในช่วงแรกๆ ที่มีข่าวการผลิตวัคซีนออกมา ก็คิดว่าถ้ามีโอกาสก็คงจะเลือกยี่ห้อที่ชื่อติดหูเรา เช่น Pfizer หรือ J&J และขอสารภาพตามตรงว่า ความคิดที่จะดิ้นรนไปฉีด ตปท. ก็มีค่ะ ระหว่างนั้นก็ได้พยายามหาความรู้เท่าที่จะหาได้เกี่ยวกับวัคซีนแต่ละยี่ห้อออกมาประกอบการตัดสินใจ เรียกว่าจะมีให้ฉีดรึเปล่าค่อยว่ากัน แต่อยากรู้ว่าแต่ละตัวมีข้อดี ข้อเสีย และประสิทธิภาพต่างกันยังไง แล้วคอยคิดว่าจะหามาฉีดยังไง”
“ทีนี้มาดูเกณฑ์ในการประกอบการตัดสินใจของชมนะคะ
1. Efficiency rate
2. Side effect
3. เทคโนโลยีที่ใช้ผลิต”
“ในส่วนของ efficiency rate จะเห็นว่าตัวเลขที่แชร์ กัน ค่า efficiency rate ของ Pfizer จะสูงที่สุด รองลงมาคือ moderna ส่วน sinovac จะอยู่ท้ายๆ หน่อย ซึ่งมองดูแล้วคิดแบบง่ายๆ ค่า efficiency สูงก็น่าจะหมายถึงประสิทธิภาพในการป้องกันสูง ถูกมั้ยคะ ทีนี้ไอ้ค่า efficiency rate เนี่ย มันได้มายังไง ชมมีคลิปนึง (สามีส่งมาให้) อธิบายได้เคลียร์มาก จะแปะ link ไว้ใน story นะคะ เผื่อใครสนใจจะหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ”
“แต่สรุปรวมๆ ก็คือ วัคซีนแต่ละยี่ห้อก็เก็บข้อมูลของตัวเอง ต่างสถานที่ ต่างเวลา ในระยะของการระบาดที่ไม่เท่ากัน ดังนั้น จะนำมาเปรียบเทียบกันว่าอันไหนกันการติดเชื้อได้มากกว่า ก็ดูจะไม่แฟร์เท่าไหร่ แต่ที่แน่ๆ คือ ไม่มียี่ห้อไหนที่กันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ที่ทุกยี่ห้อมีเหมือนกันคือ กันไม่ให้มันเล่นเราหนัก ลดอัตราการเป็นผู้ป่วย ICU ช่วยแบ่งเบาภาระของบุคคลากรทางการแพทย์ และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เพื่อให้ pandemic นี้จบเร็วที่สุด”
“ในตอนท้ายของคลิป นางสรุปว่า The best vaccine is whatever vaccine you were offered. ก็คล้ายๆ กับที่คุณหมอบ้านเรากำลังบอกพวกเราแหละค่ะ ว่าวัคซีนที่ดีที่สุด คือวัคซีนที่ฉีดได้เร็วที่สุด”
“ประกอบกับชมเชื่อว่าไม่ว่าจะฉีดยี่ห้ออะไร เราก็ยังห้ามการ์ดตกอยู่ดี ก็ใช่ว่าฉีดปุ๊บจะได้ถอดแมสปั๊บ แต่ฉีดเพื่อ ‘เสริม’ ภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง ประเด็นของ efficiency rate ที่ว่าๆ กัน สำหรับชมเมื่อพิจารณาแล้ว แทบจะปัดตกไปเลยค่ะ”
“ทีนี้มาที่เรื่องของ side effect ค่ะ เท่าที่เห็นจากข้อมูลในประเทศต่างๆ โอกาสแพ้วัคซีนหรืออาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ชมเห็นว่าเหิดขึ้นกับแทบจะทุกยี่ห้อ แต่มีอัตราส่วนที่น้อยมากตามความเข้าใจของชมเอง (คหสต.) มันน่าจะเป็นเรื่องของการตอบสนองของแต่ละคนแตกต่างกันไป สภาพร่างกาย โรคประจำตัว และปัจจัยอื่นๆ อีกที่เราคงไม่รู้ แต่เมื่อเทียบอัตราส่วนแล้ว ชมคิดวาโอกาสตาย / เจ็บตัว / หรือแม้แต่แค่เป็นพาหะ และนำไปสู่ความสูญเสียอื่นๆ อันเนื่องมาจากการติดเชื้อ covid (โดยเฉพาะในเวลาที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มในแต่ละวันเบอร์นี้) สูงกว่า โอกาสตายจาก side effect ของวัคซีนแน่นอน (รื้อฟื้นวิชาคณิตศาสตร์ : ความน่าจะเป็น)”
“ทั้งนี้ทั้งนั้น ชม consider ว่าตัวเองค่อนข้างแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว จึงไม่ค่อยห่วงข้อนี้มาก แต่สำหรับใครที่ไม่แน่ใจก็ลองปรึกษาคุณหมอดูค่ะ”
“เทคโนโลยีที่ใช้ผลิต Pfizer และ moderna ผลิตด้วย เทคโนโลยี MRNA คือเป็นวัคซีนชนิดสารพันธุกรรม เอาเป็นว่าถ้าใครอยากจะศึกษาเพิ่มเติมก็ลองหาข้อมูลดูนะคะ คือยาวมากอ่ะ”
“Astra Zeneca คือวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ อันนี้ก็ยาวอีก สั้นๆ คือ เป็นไวรัสที่มีชีวิตแต่ไม่สามารถแบ่งตัวได้ เมื่อฉีดเข้าไปก็จะเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้าง anti body แต่เนื่องจากเป็นเชื้อที่มีชีวิต ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องมากๆ”
“Sinovac คือการฉีดเชื้อที่ตายแล้ว เป็นเทคโนโลยรที่มีมานานแล้ว คือ classic”
“ส่วนตัว รู้สึกสบายใจที่สุดกับการฉีดเชื้อตายค่ะ ถึงแม้ efficiency rate (ที่จริงๆ แล้วก็เอามาเทียบกันไม่ได้) จะน้อยกว่าเพื่อน เนื่องจากยังไม่มีใครตอบชมได้ถึงผลระยะยาวของวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่มากๆ ดังนั้น ณ เวลานี้ ชมจึงมุ่งไปที่ sinovac ส่วนตัวอื่น ขอเวลาหาข้อมูลให้มากกว่านี้ จะเป็นเข็ม 3 เข็ม 4 ค่อยมาว่ากันอีกที”
“เมื่อชมทราบจากเพื่อนบ้านว่ามี จนท. มาตั้งโต๊ะฉีดวัคซีนที่วัดมหาไถ่ ซ.ร่วมฤดี เนื่องจาก zone แถวบ้านเป็น พท.เสี่ยง จึงไม่ลังเลเลยค่ะ อิฉันอยู่เขตประทุมวันค่ะ ก่อนหน้านี้ก็มีจองฉีดวัคซีนกับ รพ.เอกชนที่ใช้บริการประจำ แต่คิดอีกนานเลยค่ะ พอรู้ว่ามีอันนี้มานี่เท รพ.เลยค่ะ เพราะอยากได้วัคซีนเร็วที่สุด”
“ฉีดไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 พ.ค. นี่ก็ผ่านมาอาทิตย์นึงแล้ว ยังอยู่ดีนะคะ ส่วน effect ก็คือ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยค่ะ บางคนเตือนว่าจะเพลีย จะง่วง จะหลับมันมาก หรืออาจจะมีไข้อ่อนๆ แต่ของชมคือปกติแบบไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยค่ะ (จริงๆ ก็อยากหลับแบบที่เค้าว่าบ้าง)”
“คิดอยู่นานเหมือนกันค่ะ ว่าจะออกมาแชร์ดีไหม เนื่องจากเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องที่คนยังมีความเห็นที่หลากหลายกันไป แต่สำหรับคนใกล้ตัวชม คนที่ชมแคร์ คมที่ชมรัก ถ้ามีโอกาสชมก็จะบอกเค้าว่าไปฉีดเถอะ ชมไม่ใช่ผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญที่ไหน ชมเข้าใจว่าชมคงไม่สามารถเปลี่ยน mindset ของทุกคนได้”
“หากคุณอ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้ว จะตัดสินใจอย่างไร คุณอาจจะยังกลัว effect กลัวตายจากวัคซ๊น หรือลิ่มเลือดอุดตันอะไรอย่างที่ได้ยินในข่าว ชมเคารพการตัดสนิใจของคุณ ชมรู้ว่าใครๆ ก็รักชีวิตของตัวเอง ส่วนชมก็รักชีวิตของชมเหมือนกัน ชมก็เป็นแม่ มีครอบครัว มีคนที่รัก มีงานการที่ต้องเป็นห่วง และนี่คือการตัดสินใจของชม”
“สุดท้าย การที่เราจะยุติ pandemic นี้ได้ก็คือ การสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งภูมิคุ้มกันหมูจะเกิดได้ก็คือ 1.พวกเราคนติดเชื้อกันหมดแล้วเราก็จะมีภูมิกันทุกคน หรือ 2.การฉีดวัคซีนให้กับประชากรเป็นเปอร์เซ็นต์ที่มากพอที่จะทำให้เชื้อไม่แพร่ระบาด จุดนี้ชมสะดวกเลือกข้อ 2 นะคะ”
“สุดท้ายยิ่งกว่า ขอใช้โอกาสนี้ขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านค่ะ คุณคือ hero ตัวจริงค่ะ”
“With each shot that goes to someone’s arm, we get closer to the end of this pandemic.”
- “ชมพู่ อารยา” ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว แม่ยิ้มสู้ชาวเน็ตบอกอยากให้รีวิว