จากฟอสซิลหนัก 8 ตัน ทีมนักโบราณคดีพบ “ไดโนเสาร์ยุคครีเทเชียส” 9 สายพันธุ์

Home » จากฟอสซิลหนัก 8 ตัน ทีมนักโบราณคดีพบ “ไดโนเสาร์ยุคครีเทเชียส” 9 สายพันธุ์



จากฟอสซิลหนัก 8 ตัน ทีมนักโบราณคดีพบ “ไดโนเสาร์ยุคครีเทเชียส” 9 สายพันธุ์

จากฟอสซิลหนัก 8 ตัน – ซินหัว รายงานว่า หน่วยงานท้องถิ่นมณฑลเจียงซี ทางตะวันออกของ ประเทศจีน เผยว่าคณะนักโบราณคดีในเจียงซีเสร็จสิ้นการทำความสะอาด ฟอสซิลไดโนเสาร์ น้ำหนักมากถึง 8 ตันที่ค้นพบบริเวณเขตก่อสร้างในเมืองก้านโจวเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา

คณะโบราณคดีสามารถแยก รวมถึงตั้งชื่อไดโนเสาร์ในก้านโจวได้ทั้งหมด 9 สายพันธุ์ และส่งผลให้เมืองก้านโจวถือเป็นพื้นที่ที่มีฟอสซิลตัวอ่อนไดโนเสาร์จำนวนมากแห่งเดียวของโลกจนถึงขณะนี้

จากฟอสซิลหนัก 8 ตัน

Archaeologists in east China’s Jiangxi Province have finished cleaning 8-tonne dinosaur fossils found at a local construction site last March, according to local authorities. The fossils, found in the city of Ganzhou, were preliminarily identified as belonging to the group Hadrosauridae, or duck-billed dinosaurs, said Han Fenglu, an associate professor at the China University of Geosciences (Wuhan) and leader of the research team. The fossils include parts of the skull, teeth, spine, limb bones and ribs. (Xinhua)

นายหาน เฟิงลู่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งประเทศจีน และหัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่าฟอสซิลเหล่านี้ถูกระบุในเบื้องต้นว่าเป็นของไดโนเสาร์กลุ่ม “ฮาโดรซอริเด” หรือ “ไดโนเสาร์ปากเป็ด” (duck-billed dinosaurs)

ตัวฟอสซิลประกอบด้วยชิ้นส่วนของกะโหลกศีรษะ ฟัน กระดูกสันหลัง กระดูกแขนขา และซี่โครง ผู้เชี่ยวชาญยังเชื่อว่าฟอสซิลกระดูกดังกล่าวมาจากไดโนเสาร์อย่างน้อย 3 ตัว หากพิจารณาตามตำแหน่งและขนาดของพวกมัน

นายหานเผยอีกว่าก่อนหน้านี้ฟอสซิลของตัวอ่อนไดโนเสาร์ปากเป็ดเคยถูกพบในก้านโจวมาแล้ว แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการศึกษารายละเอียดวิวัฒนาการฟอสซิลของไดโนเสาร์โตเต็มวัย การค้นพบครั้งนี้จึงมีคุณค่าด้านการวิจัยอย่างมาก เนื่องจากช่วยให้เข้าใจวิวัฒนาการและการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคของไดโนเสาร์ปากเป็ดช่วงปลายยุคครีเทเชียส

จากฟอสซิลหนัก 8 ตัน

ภาพประกอบ: The dinosaur fossils before the collection. So far, archaeologists have found and named nine dinosaur species in Ganzhou. The city is also the world’s only known concentrated area of fossilized dinosaur embryos. The Cretaceous period began 145 million years ago and ended 66 million years ago. Most dinosaurs in Ganzhou lived in the late Cretaceous period, which was very close to the date of the dinosaur mass extinction. /Xiaolin Wang/

ทั้งนี้ ยุคครีเทเชียสเริ่มต้นเมื่อ 145 ล้านปีก่อนและสิ้นสุด 66 ล้านปีที่แล้ว ข้อมูลจากฟอสซิลที่มีอยู่บ่งชี้ว่าไดโนเสาร์ในก้านโจวส่วนใหญ่อาศัยอยู่ช่วงปลายยุคครีเทเชียสซึ่งใกล้เคียงกับวันที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เป็นอย่างมาก

ด้านนายหวัง เสี่ยวหลิน นักวิจัยจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมานุษยวิทยาบรรพกาล (ไอวีพีพี) สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (ซีเอเอส) เผยว่าการศึกษาฟอสซิลไดโนเสาร์และไข่ไดโนเสาร์ในก้านโจว อาจช่วยให้เราเข้าใจการสูญพันธุ์ใหญ่ครั้งที่ 5 บนโลกมากขึ้น

พิพิธภัณฑ์บรรพชีวินวิทยาจีนระบุว่าจีนได้ตั้งชื่อไดโนเสาร์ 338 สายพันธุ์โดยพิจารณาจากฟอสซิลกระดูก เมื่อนับถึงเดือนเมษายน ซึ่งไดโนเสาร์จีนเหล่านี้อาศัยอยู่ในช่วงตั้งแต่ยุคจูราสสิกตอนต้นจนถึงยุคครีเทเชียสตอนปลาย

จากฟอสซิลหนัก 8 ตัน

ภาพประกอบ: Photo shows a drawing of the dinosaur fauna more than 100 million years ago in Fuxin City, northeast China’s Liaoning Province. (China University of Geosciences/Handout via Xinhua)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

  • ฮือฮาพบ “รอยเท้าไดโนเสาร์” กว่า 4,300 รอยบนหินเก่าแก่ 150 ล้านปี!
  • ตะลึง! จีนพบฟอสซิลอายุ 6 ล้านปี ช่วยไขปมนิ้วที่ 6 ของหมีแพนด้า
  • ตะลึงฟอสซิลตัวอ่อน “ฮาโดรซอร์” ในไข่-มีสภาพสุดสมบูรณ์ แม้อายุกว่า 70 ล้านปี (คลิป)

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ