งานวิจัยเผย คนไทยต้องมีเงินเท่าไร จึงจะมีความสุขใน 1 ปี ไปดูเลย

Home » งานวิจัยเผย คนไทยต้องมีเงินเท่าไร จึงจะมีความสุขใน 1 ปี ไปดูเลย

นักวิทยาศาสตร์มากมายได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง “เงิน” และ “ความสุข” มาเป็นเวลาหลายทศวรรษ และผลการศึกษาก็นะไปสู่ข้อสรุปที่บอกว่า “เงินสามารถซื้อความสุขได้” เงินช่วยให้ผู้คนได้ทำสิ่งที่ตัวเองต้องการ เงินช่วยให้คนมีชีวิตอยู่ได้นานมากขึ้น เงินช่วยปกป้องผู้คนจากความกังวลและอันตรายต่างๆ และมีเหตุผลอีกมากมายที่พิสูจน์ว่าเงินทำให้คนมีความสุขได้ 

Sanook เปิดงานวิจัยว่า “ราคาแห่งความสุข” ของคนแต่ละประเทศคือเท่าไร และคนไทยจำเป็นต้องมีเงินหรือรายได้มากแค่ไหน ถึงจะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขใน 1 ปี 

ราคาแห่งความสุข

งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเพอร์ดู รัฐอินดีแอนา สหรัฐอเมริกา ในปี 2018 ค้นพบว่า รายได้ของคนมีผลต่อความสุขและความพึงพอใจของคนนั้นๆ ต่อมา S Money ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ได้ต่อยอดงานวิจัยดังกล่าว และได้เผยแพร่ข้อมูลที่ว่าด้วยประชากร 1 คนจากแต่ละประเทศ ต้องมีเงินหรือมีรายได้เท่าไร เพื่อทำให้ตัวเองมีความสุขในระยะเวลา 1 ปี 

AFP

S Money สำรวจทั้งหมด 173 ประเทศจากทั่วโลก และพบว่าประเทศอิหร่านเป็นประเทศที่ต้องใช้เงินซื้อความสุขสูงที่สุด หรือใช้เงินประมาณ 8.6 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากภาวะเงินเฟ้อของอิหร่าน ที่ปรับตัวสูงขึ้น 47.7% ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รองลงมาคือเยเมน (6.1 ล้านบาท) ออสเตรเลีย (4.3 ล้านบาท) ซิมบับเว (4.2 ล้านบาท) และนอร์เวย์ (4.2 ล้านบาท) 

ขณะที่ประเทศเซียร์ราลีโอน เป็นประเทศที่ต้องใช้เงินซื้อความสุขต่ำที่สุด ประมาณ​ 3.09 แสนบาท ตามมาด้วยซูรินาม (3.6 แสนบาท) มาดากัสการ์ (4.07 แสนบาท) กายอานา (4.1 แสนบาท) และซูดาน (4.2 แสนบาท) ซึ่ง 10 ประเทศที่ติดอันดับประเทศที่ใช้เงินซื้อความสุขต่ำที่สุด อยู่ในทวีปแอฟริกา อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ทั้งหมด เป็นเพราะอัตราค่าครองชีพในประเทศเหล่านี้ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ หรือต่ำกว่าค่าครอฝชีพในสหรัฐฯ กว่า 72% 

ประเทศไทยต้องใช้เท่าไร

สำหรับประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า คนไทย 1 คนต้องมีรายได้หรือเงินเฉลี่ย 1.3 ล้านบาท (36,745 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพื่อทำให้ตัวเองมีความสุขในระยะเวลา 1 ปี 

AFP

ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศสิงคโปร์ต้องใช้เงินซื้อความสุขมากที่สุด คือ 2.7 ล้านบาท รองลงมาคือบรูไน (1.8 ล้านบาท) และมาเลเซีย (1.39 ล้านบาท)

อ่านงานวิจัยตัวเต็มได้ที่นี่

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ