ซิมบับเว จะใช้ เหรียญทอง 22 กะรัต 1 ทรอยออนซ์ แก้เงินเฟ้อพุ่งสูง
วันที่ 6 ก.ค. บีบีซี รายงานว่า ซิมบับเว ระบุว่าจะใช้เหรียญทองคำปลายเดือนนี้ ขณะพยายามควบคุมเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นท่ามกลางค่าเงินที่ตกต่ำ ส่วนธนาคารกลางของซิมบับเวสรุปแผนการที่จะทำให้ดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในอีก 5 ปีข้างหน้า
So 1 #MosiOaTunya will cost > USD1800 which is > ZWL1000000.
That means not all will afford it.
For the few that will do I foresee them wallowing in arbitrage paradise.
Talk of unintended consequences. Or is it intended?@daddyhope @advocatemahere @zanupf_patriots @CCCZimbabwe pic.twitter.com/HjEVH21Fn5— Joel Chabata (@joelchabata) July 5, 2022
จอห์น พี มันกุดยา ผู้ว่าการธนาคารแห่งซิมบับเว ระบุใน แถลงการณ์ ว่า เหรียญทองจะขายตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค. ประกอบด้วยทอง 22 กะรัต น้ำหนัก 1 ทรอยออนซ์ หรือน้ำหนัก 31.10 กรัม ซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้ชั่งน้ำหนักโลหะมีค่า เช่น ทอง เงิน และแพลตตินัม ย้อนไปถึงยุคกลาง
“เหรียญทองจะขายแก่สาธารณชนในทั้งค่าเงินท้องถิ่น (ดอลลาร์ซิมบับเว) และดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินต่างประเทศอื่นๆ ที่ราคาตามราคาทองคำระหว่างประเทศและต้นทุนการผลิต” มันกุดยาระบุในแถลงการณ์ ซึ่งเสริมว่า แต่ละเหรียญจะระบุด้วยหมายเลขลำดับ (ซีเรียลนัมเบอร์) และสามารถแปลงเป็นเงินสดได้อย่างง่ายทั้งในและต่างประเทศ
เหรียญทองจะมีชื่อ “เหรียญทองโมซิ-โออา-ตุนยา” (Mosi-oa-Tunya Gold Coin) ซึ่งหมายถึง “ควันที่ระหึ่ม” (The Smoke Which Thunders) อ้างถึงน้ำตกวิกตอเรียที่ตั้งอยู่บนพรมแดนระหว่างซิมบับเวและแซมเบีย
การประกาศดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรัฐบาลซิมบับเวเพื่อจัดการวิกฤตสกุลเงินของประเทศ หลังเมื่อเดือนที่แล้ว อัตราเงินเฟ้อประจำปีพุ่งแตะร้อยละ 191.6 ขณะที่ดอลลาร์ซิมบับเวสูญเสียมูลค่ามากกว่า 2 ใน 3 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ต้นปี 2565
นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. อัตราดอกเบี้ยหลักของธนาคารกลางซิมบับเวถูกปรับขึ้นจากร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 200 ต่อปีเพื่อจัดการกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น
เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสร้างแรงกดดันต่อประธานาธิบดีเอ็มเมอร์สัน มนังกากวา ในซิมบับเว ประเทศที่ยังจดจำความโกลาหลทางเศรษฐกิจ ภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีโรเบิร์ต มูกาเบ เป็นเวลาเกือบสี่ทศวรรษ
อัตราเงินเฟ้อรุนแรงในเวลานั้นทำให้ซิมบับเวต้องละทิ้งดอลลาร์ซิมบับเวในปี 2552 และเลือกใช้สกุลเงินต่างประเทศแทน โดยเฉพาะดอลลาร์สหรัฐ และในช่วงเลวร้ายที่สุดแห่งวิกฤต รัฐบาลหยุดเผยแพร่ตัวเลขเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการ แต่ข้อมูลการประเมินชุดหนึ่งระบุว่า อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 89.7 ล้านล้านล้านล้านล้านล้านดอลลาร์ซิมบับเว เมื่อเทียบเป็นรายปีในกลางเดือนพ.ย. 2551
ในเวลานั้น ธนบัตร 1 แสนล้านดอลลาร์ซิมบับเวถูกมองเป็นสัญลักษณ์ของการล่มสลายทางเศรษฐกิจของประเทศ และแม้ว่าดอลลาร์ซิมบับเวจะมีการนำกลับมาใช้ในทศวรรษต่อมา แต่สูญเสียมูลค่าไปอย่างรวดเร็วอีกครั้ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
อสัญกรรมแล้ว “โรเบิร์ต มูกาเบ” อดีตประธานาธิบดีซิมบับเว 3 ทศวรรษ