พ่อค้าแม่ค้า “ขายของออนไลน์” ควรรู้!! ลำดับขั้นการยื่น “เสียภาษี” จากรายได้การขายออนไลน์ แม้ไม่ใช่นิติบุคคล ระวังโดนเรียกเก็บย้อนหลัง
ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เชื้อว่าแผนชีวิตของใครหลายคนนั้นเปลี่ยนไป บางต้องเปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน บางก็ออกจากงาน หรือหารายได้เสริมจากงานอื่นๆที่พอจะมาสามารถทำได้ หนึ่งในอาชีพที่เป็นที่นิมยมในตอนนี้ นั้นก็คือ การขายของออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นของกิน ของใช้ หรือแม่กระทั่งต้นไม้ หรือ สัตว์เลี้ยง ก็มาขายในออนไลน์กันแล้ว ซึ่งเป็นช่องท่งที่ง่าน ไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก อีกทั้งยังสามารถติดต่อกับลูกค้าโดยทาง
แต่รู้หรือไม่ว่า อีหหนึ่งเรื่องที่พ่อค้าแม่ค้ามือให้ในยุคออนไลน์ ควรที่จะต้องรู้ นั้นก็คือ การเสียภาษี จากรายได้ในการขายของออนไลน์ ซึ่งรายได้จากการขายของออนไลน์ก็ต้อง ‘เสียภาษี’ และยื่นภาษีให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนดไว้ รายได้จากการขายของออนไลน์ ถือว่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 คือ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม รวมไปถึงการขายของออนไลน์ เป็นต้น
ในกรณีบุคคลธรรมดาผู้ที่มีรายได้จากการขายของออนไลน์ เมื่อมีได้รายเกิน 60,000 บาท (กรณีโสด) หรือมีรายได้เกิน 120,000 บาท (กรณีสมรส) จะต้องยื่นภาษีเงินได้ ตามหลักเกณฑ์คือยิ่งมีเงินได้สุทธิมากยิ่งเสียภาษีในอัตราที่มาก ตามขั้นบันได เช่น
- เงินได้สุทธิ 1-150,000 บ. ได้รับการยกเว้นภาษี
- เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บ. เสียภาษี 5%
- เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บ. เสียภาษี 10%
- เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บ. เสียภาษี 15%
เมื่อร้านค้ารู้ตัวว่าต้องเสียภาษีขายของออนไลน์ สามารถเลือกหักค่าใช้จ่าย ได้ 2 แบบ ดังนี้
– หักค่าใช้จ่ายตามจริงเหมาะสำหรับร้านค้าที่มีต้นทุนสินค้าที่สูง
– แบบเหมาจ่าย 60%เหมาะสำหรับร้านค้าที่มีกำไรสูง ซึ่งข้อดีของการยื่นแบบนี้ คือไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายใดๆ กับกรมสรรพากร และทำให้เราได้ประโยชน์ทางภาษีในส่วนต่างของต้นทุนที่แท้จริง กับค่าใช้จ่ายแบบเหมานั่นเอง
ช่วงเวลาที่พ่อค้าแม่ค้าต้องยื่นภาษีจะมีอยู่ 2 ช่วง
- ยื่นภาษีประจำปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค. เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา
- ยื่นภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย. เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยที่ ค่าลดหย่อน บางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวจะลดลงจาก 30,000 เหลือ 15,000
โดยการลดหย่อนภาษีในกรณีบุคคลสามารถลดหย่อนได้ตามที่สรรพากรประกาศออกมาในแต่ละปี
ขอบคุณข้อมูลจาก K SME