ไม่ให้เครื่องเอฟ-16 สหรัฐฯประสานเสียงเยอรมนีขีดเส้นส่งบินรบให้ยูเครน

Home » ไม่ให้เครื่องเอฟ-16 สหรัฐฯประสานเสียงเยอรมนีขีดเส้นส่งบินรบให้ยูเครน


ไม่ให้เครื่องเอฟ-16 สหรัฐฯประสานเสียงเยอรมนีขีดเส้นส่งบินรบให้ยูเครน

ไม่ให้เครื่องเอฟ-16 สหรัฐฯประสานเสียงเยอรมนีขีดเส้นส่งบินรบให้ยูเครน

ไม่ให้เครื่องเอฟ-16 – วันที่ 31 ม.ค. บีบีซีรายงานว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐอเมริกาปฏิเสธที่จะส่งเครื่องบินขับไล่รุ่นเอฟ-16 ให้ตามคำขอของทางการยูเครน เช่นเดียวกันกับทางการเยอรมันที่ประกาศชัดเจนว่าจะส่งเครื่องบินรบรุ่นดังกล่าวให้ยูเครน

ความชัดเจนดังกล่าวมาจากปากของประธานาธิบดีไบเดนเองหลังผู้สื่อข่าวถามถึงคำขอของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน ที่ต้องการเครื่องบินรบที่มีความทันสมัยจากชาติตะวันตกมาใช้ปกป้องน่านฟ้าจากกองทัพอากาศรัสเซีย ส่งผลให้ผู้นำสหรัฐฯ ตอบสั้นๆ ว่า “ไม่”

ไม่ให้เครื่องเอฟ-16

เจเนอรัล ไดนามิกส์ เอฟ-16

รายงานระบุว่า เครื่องบินรบ รุ่น เอฟ-16 ถือเป็นหนึ่งในเครื่องบินรบที่ได้รับการยอมรับว่ามีสมรรถะพึ่งพาได้ ปัจจุบัน ยังมีใช้เป็นเครื่องบินรบหลักในกองทัพอากาศของหลายชาติทั่วโลก ในจำนวนนี้ รวมถึงทอ.เบลเยียม และปากีสถานด้วย

หากยูเครนได้รับเครื่องบินรบรุ่นดังกล่าวจะส่งผลให้ทอ.ยูเครน มีแสนยานุภาพเพิ่มขึ้นอย่างใหญ่หลวงเพราะเป็นการยกระดับจากเครื่องบินรบรุ่นที่ใช้มาตั้งแต่สมัยอดีตสหภาพโซเวียต และก่อนที่ยูเครนจะประกาศแยกตัวออกจากอดีตสหภาพโซเวียตเมื่อกว่า 30 ปีที่ผ่านมา

ไม่ให้เครื่องเอฟ-16

มิโคยัน มิก-29

อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีไบเดนพยายามต่อต้านคำขอของทางการยูเครนมาโดยตลอดและหันไปมุ่งให้การสนับสนุนยุทโธปกรณ์ด้านอื่นแทน ล่าสุด เป็นรถถังเอ็ม 1 เอบรามส์ ซึ่งเป็นรถถังหลักใช้ในกองทัพบกสหรัฐฯ จำนวน 31 คัน เช่นเดียวกันกับรถถังชาเลนเจอร์ 2 ของอังกฤษ และเลพเพิร์ด 2 ของเยอรมนี

นายอันดรี เมลนิก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศยูเครน กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ชาติพันธมิตรของยูเครนประกาศจะส่งรถถังที่ทันสมัยมาให้ แต่นายเมลนิกยังเรียกร้องให้ชาติพันธมิตรของยูเครนสร้างแนวร่วมเครื่องบินรบขึ้นมาเพื่อส่งเครื่องบินรุ่นใหม่ที่ทันสมัยให้ยูเครน

ไม่ให้เครื่องเอฟ-16

ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น

เครื่องบินรบรุ่นใหม่ที่ทางการยูเครนร้องขอไป อาทิ ยูโรไฟเตอร์ ไต้ฝุ่น และทอร์นาโดของอังกฤษ ดาโซ ราฟาล ของฝรั่งเศส และกริพเพนของสวีเดน

ข้อเรียกร้องดังกล่าวส่งผลให้นายโอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมัน ระบุว่า การหารือกันเรื่องการส่งความสนับสนุนการทหารครั้งใหม่อาจบ่อยเกินไป เพราะทางการเยอรมันเพิ่งตัดสินใจจะส่งรถถังเลพเพิร์ด 2 ไปให้ยูเครน

ไม่ให้เครื่องเอฟ-16

พานาเวีย ทอร์นาโด

นายชอลซ์ กล่าวย้ำด้วยว่า องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ไม่ได้อยู่ในสถานะทำสงครามกับรัสเซีย และจะไม่ยอมให้สงครามยูเครนแผ่ขยายออกไปมากกว่าที่เป็นอยู่

ความเคลื่อนไหวของผู้นำเยอรมนีเกิดขึ้นท่ามกลางข้อครหาจากทางการรัสเซีย ว่านาโต้ โดยเฉพาะเยอรมนีและสหรัฐอเมริกากำลังพยายามทำสงครามตัวแทนกับรัสเซียผ่านยูเครน ส่งผลให้หลายประเทศลังเลที่จะส่งการสนับสนุนให้ยูเครน เพราะหวาดเกรงว่าสงครามจะลุกลาม

ไม่ให้เครื่องเอฟ-16

ดาโซ ราฟาล

เช่นเดียวกันกับท่าทีของประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส ที่กล่าวย้ำว่า แม้ฝรั่งเศสไม่ได้ปิดประตูในประเด็นใดๆ แต่กรณีการสนับสนุนทางการทหาร มองว่าไม่ควรที่จะทำให้สถานการณ์ลุกลามหรือกระทบต่อความสามารถในการป้องกันตัวเองของฝรั่งเศส

ส่วนชาติสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น รวมถึงเนเธอร์แลนด์ยังสงวนท่าทีต่อคำขอเครื่องบินรบรุ่นใหม่จากยูเครน ขณะที่โปแลนด์เป็นชาติเดียวที่ยืนยันว่าจะเตรียมส่งเครื่องบินรบรุ่นใหม่ให้ยูเครน แต่ต้องรอไฟเขียวจากนาโต้ก่อนเท่านั้น

ไม่ให้เครื่องเอฟ-16

ซ้าบ ยาส 39 กริพเพน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ