วันที่ 5 พฤศจิกายน 2566 รายงานความคืบหน้ากรณี แสงเขียวพะเนินทุ่ง ที่กลายเป็นกระแสไวรัลไปทั่วโซเชียล เนื่องจากแสงประหลาดดังกล่าวมีความสวยงาม สีเขียวเหมือน แสงเหนือ หรือ Aurora หนึ่งในสิ่งมหัสจรรย์ของโลก ซึ่ง นายมงคล ไชยภักดี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน รานงานว่า ตามที่มีภาพข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ และได้รับความสนใจจากประชาชน ว่าเมื่อคืนวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 เวลาประมาณ 19.00 – 21.00 น. นักท่องเที่ยวพบแนวลำแสงประหลาด “แสงเขียว” ปรากฎบนท้องฟ้าด้านทิศตะวันตกของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ กจ.19 เขาพะเนินทุ่ง ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นั้น
ต่อมา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 ตนได้เดินทางไปตรวจสอบที่หน่วยฯ เขาพะเนินทุ่ง บริเวณที่พบปรากฏการณ์ ได้พบกับกลุ่มชมรมรักษ์เขาพะเนินทุ่ง และนักท่องเที่ยวที่ขึ้นมากางเต็นท์พักแรมประมาณ 200 คน เวลาประมาณ 19.00 น. จะเริ่มปรากฏการณ์เป็นจุดแสง ทางทิศตะวันตกของเขาพะเนินทุ่ง มองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นจุดแสงสีขาว แต่เมื่อใช้กล้องถ่ายจะเห็นว่ามีแสงสีเขียวอยู่ตรงกลางกลุ่มแสง แนวลำแสงจะมองเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆ ชัดที่สุดเวลา 21.00 น. มองเห็นเป็นแนวยาว ซึ่งสามารถมองเห็นเป็นแสงสีเขียวได้ด้วยตาเปล่า จนกระทั่งเวลา 22.00 น. พระจันทร์ขึ้นทำให้ท้องฟ้ามีแสงสว่างเพิ่มขึ้น ปรากฎการณ์แสงเขียวดังกล่าวจึงหายไป
- นายก เศรษฐา จ่อ ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ และ เจ้าหน้าที่รัฐ
- เปิดคำพูดสุดซึ้งในงานแต่ง หมอกฤตไท จากเพจ สู้ดิวะ ทำเอาบ่อน้ำตาแตก
- one night stand ต้องดู สาวป่วย HIV เที่ยวผับ แพร่เชื่อให้ชายมา 7 เดือน
โดยกลุ่ม อาจารย์ป๊อก และกลุ่มช่างภาพถ่ายภาพสัตว์ป่าและธรรมชาติ ซึ่งถ่ายภาพปรากฎการณ์แสงเขียวดังกล่าวได้ ให้ข้อมูลมาว่า เมื่อคืนวันที่ (3 พ.ย. 66) ที่ผ่านมา มีปรากฎการณ์แสงเขียวเกิดขึ้นจริง สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เพราะในปีที่ผ่านๆมาเคยมีนักถ่ายภาพ ถ่ายปรากฎการณ์พิเศษนี้ได้มาแล้วจำนวน 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ (2 พฤศจิกายน 2564) กับเมื่อวันที่ (1 มกราคม 2565) และพร้อมยินดีมอบภาพถ่ายปรากฎการณ์ดังกล่าวให้กับทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งในปีที่ผ่านมาจะพบเหตุการณ์นี้เพียงปีละ 1 วันเท่านั้น สำหรับในปีนี้สามารถพบเห็นได้เป็นวันที่ 2 และอาจพบเห็นได้ไปอีกหลายวัน แต่คาดการณ์ไม่ได้ว่าปรากฎการณ์แสงเขียวจะหายไปในวันไหน สำหรับสาเหตุของปรากฎการณ์แสงเขียวพะเนินทุ่งดังกล่าว คาดว่าจะเกิดจากการหักเหของแสงช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว เกิดจากแหล่งกำเนิดแสงมากระทบกับแนวก้อนเมฆที่ลอยเหนือยอดเขาตะนาวศรีที่มียอดเขาสูงประมาณ 1,200 เมตร และอยู่ในระดับเดียวกันกับเขาพะเนินทุ่ง ขณะเกิดเหตุยอดเขาพะเนินทุ่ง มีอุณหภูมิอยู่ที่ 20 องศาเซลเซียส แต่ต้นกำเนิดของแสงจะมาจากแสงธรรมชาติ หรือแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น ขณะนี้ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้
ทั้งนี้ เขาพะเนินทุ่ง ตั้งอยู่ในเขตของ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าและป่าดิบ อากาศหนาวเย็นตลอดปี ประกอบด้วยทิวทัศน์ที่งดงามทั้งยามปกติและยามมีทะเลหมอกใในช่วงปลายฤดูฝนและต้นฤดูหนาวที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งเหมาะแก่การพักแรม โดยอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 50 กิโลเมตร บนยอดเขาปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าและไม้ต้นเล็กๆ สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ 2 ส่วน ได้แก่
1.จุดชมวิวเขาพะเนินทุ่ง เป็นจุดที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 900 เมตร เขาพะเนินทุ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพอยู่ในระดับสูง และเป็นที่นิยมมาท่องเที่ยว เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ มีทิวทัศน์ที่สวยงามและอากาศสดชื่นเย็นสบาย โดยเฉพาะในช่วงตอนเช้าที่สามารถชมทะเลหมอกได้บริเวณจุดชมวิวของยอดเขาพะเนินทุ่ง อุทยานแห่งชาติได้กำหนดเวลาในการใช้เส้นทางสายนี้ คือ จะเปิดให้รถขึ้นเขาขาไป 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงเวลา 05.30 – 07.30 น. และช่วงเวลา 13.00 – 15.00 น. สำหรับขาลงมี 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงเวลา 09.00 – 10.00 น. และช่วงเวลา 16.00 – 17.00 น. ทั้งนี้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
2.ยอดเขาพะเนินทุ่ง เป็นเขาที่สูงประมาณ 1,207 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง การเดินเท้าขึ้นยอดเขาพะเนินทุ่งมี 2 เส้นทาง เส้นทางแรกเริ่มจากกิโลเมตรที่ 27.5 ของเส้นทางสายวังวน – พะเนินทุ่ง โดยเดินข้ามลำธารหลายสายก่อนขึ้นถึงยอดเขา ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง อีกเส้นทางหนึ่งเริ่มจากบริเวณกิโลเมตรที่ 30 ของเส้นทางสายวังวน – พะเนินทุ่ง ใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมง โดยต้องข้ามเนินเขาหลายลูก เป็แหล่งดูนกป่า โดยเฉพาะนกกะลิงเขียดหางหนาม ซึ่งหากินในบริเวณใกล้เคียง ผู้สนใจต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่ช่วยนำทาง
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY