ไขข้อสงสัย! คนเราอดอาหารได้มากที่สุดกี่วัน?

Home » ไขข้อสงสัย! คนเราอดอาหารได้มากที่สุดกี่วัน?
อดอาหาร-min

ร่างกายขาดอาหารได้มากสุดกี่วัน? และหากไม่มีสารอาหารตกถึงท้องเลย ร่างกายจะเป็นอย่างไร วันนี้มีคำตอบ!

หากการอดอาหาร คือทางเลือกแรกสำหรับการลดน้ำหนัก หรือคนที่เสพติดความผอม วันนี้เราจะพามาดูกลไลการทำงานของร่างกาย เมื่ออดอาหารร่างกายจะมีปฏิกิริยาอย่างไร รวมถึงข้อเสียที่จะตามมาอีกด้วย โดยปกติแล้วร่างกายจะดึงพลังงานทดแทนมาใช้ เมื่อ “อดอาหาร” ปกติเวลารับประทานอาหารเข้าไป ส่วนที่เกินจากที่ร่างกายใช้ จะมีการสะสมเอาไว้ เพื่อนำไปใช้ในตอนที่ขาดสารอาหาร เรียกว่า “ไกลโคเจน” (glycogen) โดยจะสะสมบริเวณตับและกล้ามเนื้อ ใช้สำหรับเป็นแหล่งของพลังงาน เมื่อปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดลดลง หรือร่างกายขาดสารอาหาร ตับจะเปลี่ยนไกลโคเจนให้เป็น “น้ำตาลกลูโคส” (glucose)

หลังจากร่างกายมีการดึงมาใช้เรื่อยๆ จนหมด ร่างกายจะมีการสลายตัวไขมัน หรือการดึงไขมันในร่างกายของเราออกมาใช้ โดยเรียกสิ่งนี้ว่า “คีโตน” เปรียบเสมือนโมเลกุลของน้ำตาล ถ้ากระบวนขาดสารอาหารอย่างต่อเนื่องจนร่างกายดึงทุกส่วนมาใช้หมดแล้ว จึงจะเริ่มดึงเอากล้ามเนื้อ โปรตีน มาใช้ทดแทน

  • ส่องข้อดีของ โปรตีนพืช เทรนด์สุขภาพมาเเรงที่สามารถทดแทนเนื้อสัตว์ได้ !!
  • เปิดเหตุผล! โปรตีนพืช ดีต่อสุขภาพผู้สูงวัยอย่างไร?
  • อาหารคลีนคืออะไร รู้จักประโยชน์ของอาหารคลีนให้มากขึ้น!

กลไกการทำงานของร่างกาย เมื่ออดอาหาร

12 ชม.

ใน 3-4 ชม. แรก ร่างกายจะดึงพลังงานจากอาหารมื้อล่าสุดที่กิน เพื่อเอามาใช้งานก่อน หลังจากนั้นถ้าพลังงานตรงนี้หมด จะไปดึงพลังงานส่วนไกลโคเจนมาใช้แทน ขั้นนี้ยังสบายๆ อยู่

24 ช.ม (1 วัน)

พอครบ 24 ชม. ร่างกายจะเริ่ม โหยๆ เพลียๆ นิดหน่อย ท้องจะเริ่มส่งเสียงร้องระงมว่าต้องการอาหาร ระดับโซเดียมในเลือดสูงขึ้น ความดันเพิ่มขึ้นเล็กน้อย พอไกลโคเจนในเลือดหมดแล้ว ร่างกายจะดึงพลังงานมาใช้ก็คือกลูโคสหรือน้ำตาลส่วนที่เล็กที่สุดในร่างกายนั่นเอง หลักๆ จะดึงกลูโคสไปใช้งานกับสมองก่อน เพราะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด

36 ชม.

ระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดลดลง เพราะว่าไม่มีสารอาหารประเภทคาร์บหรือไขมันตกถึงท้อง ถ้ากลูโคสหมด ร่างกายจะดึงโปรตีนมาใช้ต่อ หรือถ้าไม่พอก็จะเริ่มดึงเริ่มดึงไขมันที่สะสมใต้ผิวหนังมาใช้แทน ผิวหนังจะเริ่มซีดลง ลิ้นแห้งและอาจมีตุ่มเล็กๆ ขึ้นบริเวณลิ้น เริ่มมีกลิ่นปากที่รุนแรงขึ้น เพราะของเสียจากการเผาไขมันจำพวกคีโตนทำให้มีกลิ่นที่รุนแรง

48 ชม. (2 วัน)

ครบสองวัน ดวงตาจะเริ่มอ่อนแรง อาจมีอาการแทรกเช่นการปวดหัว หรือรู้สึกไม่มีแรง ร่างกายจะขุดไขมันสะสมมาใช้อย่างจริงจัง ปกติไขมันสำรองของคนทั่วไป มักจะสามารถถูกเอามาเผาผลาญเป็นพลังงานต่อไปได้อีกอย่างน้อย 60-80 ชม. ใครที่มีน้ำหนักตัวเยอะ หรือมีไขมันสะสมเยอะก็จะอยู่ได้นานขึ้น

60 ชม.

เข้าวันที่สาม ความหิวเราจะลดลง ตอนนี้ร่างกายจะเริ่มดึงทั้งไขมันและดึงกล้ามเนื้อมาเผาผลาญพลังงานอย่างเต็มที่ เป็นจังหวะที่ร่างกายเราจะเริ่มปรับตัวได้แล้ว ถ้ายังมีน้ำกินอยู่ จะรู้สึกตัวเบา และค่อนข้าง Active เป็นพิเศษได้อีกหลายวัน ถือเป็นกลไกธรรมชาติเหมือนสั่งให้เราห้ามตาย และพยายามลุกออกไปไปหาอาหารมาเติมลงกระเพาะให้ได้

72 ชม. (3 วัน)

อย่างที่บอกว่าร่างกายเราจะยังค่อนข้างตัวเบาๆ โหวงๆ อาจจะมีวูบๆ บ้างเวลาลุกเร็วๆ เพราะน้ำตาลในเลือดเราลดลงอย่างฮวบฮาบ รวมถึงดึงไขมันและกล้ามเนื้อมาเป็นพลังงานแทน

90 ชม. 

ตรงนี้เริ่มน่าเป็นห่วงเล็กน้อย เพราะปกติแล้วเราจะกินคาร์โบไฮเดรตจากอาหารต่างๆ แต่พอเราขาดคาร์บจากการกิน ร่างกายเราเลยไปทำปฎิกิริยากับโปรตีนและไขมันในเส้นเลือด ทำให้เลือดในร่างกายเริ่มค่อยๆ เสียไปเรื่อยๆ ทีละน้อยๆ ส่วนการดำรงชีพก็ยังคงดึงชั้นไขมันมาใช้ได้อยู่เหมือนเดิม

168 ชม. (1 สัปดาห์)

จุดวิกฤตคือประมาณ 7-10 วัน ร่างกายเคย Active หรือกระปรี้กระเปร่า จะเริ่มหมดเรี่ยวแรงไม่สามารถขยับไปไหนได้แล้ว อวัยวะภายในตับไตเริ่มพังทีละส่วน เนื่องจากเลือดเป็นพิษ ถ้าเลือดเป็นพิษถึงระดับ 30% ของเลือดในร่างกายทั้งหมดก็จะเป็นจุดที่อันตรายที่สุด เพราะทำให้มีสารพิษวิ่งเข้าสู่สมองได้ นับว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความยากลำบากของจริง

คนเราสามารถอยู่ได้โดยไม่กินอะไร..นานแค่ไหนกัน?

ถ้าคนเราขาดสารอาหารจะอยู่ได้ประมาณ 6-8 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้ ต้องแยกว่าเราขาดสารอาหาร..แล้วเราขาดน้ำด้วยไหม? เพราะการที่ร่างกายขาดน้ำโดยทั่วไปจะอยู่ได้ไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ เท่านั้น เนื่องจากการที่ขาดน้ำเรื่อยๆ จะทำให้ขับปัสสาวะไม่ออก ของเสียภายในร่างกายเกิดการสะสมมากขึ้น อาจเกิดภาวะไตวาย ความดันต่ำลง หรืออาจถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิตได้

ข้อควรปฏิบัติ…หลังอดอาหารมาหลายวัน

การที่เราจะเริ่มกลับมารับประทานอาหาร เราต้องเลือกรับประทานอาหารที่พร้อมจะดูดซึม อย่าง อาหารเจลที่พร้อมจะปรับลำไส้ เพื่อรับประทานไปแล้วสามารถดูดซึมได้เลย โดยรับประทานต่อเนื่องแบบนี้ประมาณ 4-7 วัน เพื่อทำให้ร่างกายมีการปรับตัวด้วยการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมา และกลับมาย่อยอาหารหรือดูดซึมเองได้ แต่ต้องจำกัดชนิดอาหารและปริมาณในแต่ละวันให้เหมาะสม โดยค่อยๆ เพิ่มการรับประทานอาหารขึ้นมาทีละขั้นตอน แต่ยังไม่ควรจะเป็นอาหารที่มีรสชาติจัดมากจนเกินไป ทั้งนี้เราควรมีการสังเกตอาการควบคู่กันว่าร่างกายมีการถ่ายเหลวอยู่หรือเปล่า ถ้ายังมีการถ่ายเหลวอยู่ก็แปลว่าร่างกายยังไม่พร้อมที่จะย่อยและดูดซึม

นอกจากนี้ การรับประทานอาหารหลังจากที่อดอาหารมานานต้องพึงระวัง “ภาวะรีฟีดดิ้ง ซินโดรม” (Refeeding Syndrome) เนื่องจากร่างกายเราไม่ได้รับสารอาหารนั้นเลย เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารโดยทันที จะทำให้เซลล์ทุกอย่างในร่างกายเริ่มซ่อมแซมส่วนที่ขาดหายพร้อมๆ กัน และดึงพลังงานนำไปใช้พร้อมกันหมด ทำให้ร่างกายของเรานั้นปรับตัวไม่ทัน สามารถทำให้เกิดอาการชา ตะคริว ชัก หรือเกร็งได้ ในขณะเดียวกัน..การสร้างเซลล์ใหม่ๆ เราต้องใช้วิตามินบี 1 เข้าไปช่วยด้วยเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

สรุปการอดอาหารนั้น ส่งผลร้ายแรงกว่าที่คิดไว้มาก เพราะถึงแม้จะเลิกอดอาหารแล้วก็ยังคงมีผลกระทบตามมาในภายหลังทั้งในเรื่องของภูมิคุ้มกันร่างกาย และฮอร์โมนต่างๆ หรือซ้ำร้ายอาจกระต่อสุขภาพจิตได้

ที่มา ส.พ.ส , โรงพยาบาลพญาไทย

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ