โรคไข้น้ำนม หรือ ภาวะไข้น้ำนม (Eclampsia) เป็นโรคที่เกิดอย่างเฉียบพลันทันทีที่ระดับแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) พบได้บ่อยในช่วงที่แม่สุนัขกำลังให้นมลูก ช่วง 2 -3 สัปดาห์หลังคลอด เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่เหล่าลูกๆ มีความต้องการน้ำนมค่อนข้างมาก ตามขนาดตัวของลูกที่เพิ่มขึ้น ร่างกายแม่หมาไม่สามารถนำแคลเซียมจากภายในเซลล์ออกมาใช้ได้ทัน หรืออาจเป็นเพราะแม่หมาตัวนั้นอาจได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในช่วงเวลานั้นจึงทำให้ป่วยได้
- ทำความรู้จัก “ปลากะพงขาว” นักล่าเอเลี่ยนน้ำปลาหมอคางดำ
- “ไบโอฟิล์ม” ในชามอาหารหมา – แมว อันตรายกว่าที่คิด!
- วันนี้วันอะไร? 10 กรกฎาคม เป็นวันลูกแมวแห่งชาติ (National Kitten Day)
อาการของไข้น้ำนม
โรคไข้น้ำนม พบได้บ่อยในสุนัขมากกว่าแมว แม่สุนัขที่มีลูกจำนวนมากในแต่ละครอก ท้องแรกมีโอกาสเสี่ยงสูงในการเกิดโรคไข้น้ำนม โดยมีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย , อยู่ไม่เป็นสุข , หอบมาก , ตัวเกร็ง , เดินลำบาก , ตะคริว , กล้ามเนื้อสั่นกระตุกหรือเกร็งแข็ง , ชัก , ไข้ขึ้นสูงมาก , หายใจถี่และแรง ,หมดสติและตายในที่สุด
วิธีการรักษาโรคไข้น้ำนม
โรคไข้น้ำนม ถือเป็นกรณีฉุกเฉินต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยการรักษาต้องให้ระดับแคลเซี่ยมกลับเข้าสู่ภาวะปกติเร็วที่สุด และลดการสูญเสียแคลเซี่ยมของร่างกาย โดยอาจต้องทำการหย่านมลูกสัตว์แล้วให้นมผสมกับลูกสัตว์แทน การรักษามักทำโดย ให้แคลเซี่ยมเข้าหลอดเลือดดำ ให้แม่สุนัขกินน้ำตาลเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
ในรายที่ชักต้องให้ยากันชัก โดยเฉพาะในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการฉีดแคลเซี่ยมและให้น้ำตาลกินลดอุณหภูมิร่างกายสัตว์ลงโดยการประคบด้วยน้ำแข็ง หรือเช็ดตัวด้วยน้ำผสมแอลกอฮอล์ หย่านมลูกแล้วให้นมผสมแทน
โดยต้องแยกแม่ออกจากลูกอย่างเด็ดขาด ให้แคลเซี่ยมเสริมโดยการกินเมื่ออาการคงที่แล้วบางรายอาจให้วิตามิน ดี เสริมการดูดซึมของแคลเซี่ยม
การดูแลสัตว์ที่เป็นโรคไข้น้ำนม
ให้ยาตามที่สัตวแพทย์สั่ง ต้องแยกแม่ออกจากลูกโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะในระยะ 24 – 48 ชั่วโมงแรกภายหลังได้รับการรักษาระมัดระวังเรื่องการให้นมลูกสัตว์ ไม่ควรเปลี่ยนนมบ่อย เพราะจะทำให้ลูกท้องเสียง่ายและอาจตายได้ ถ้าลูกยังเล็กควรให้ได้รับความอบอุ่นอย่างเพียงพอโดยเฉพาะในฤดูหนาว ถ้าแม่สุนัขแสดงอาการอีกให้รีบนำกลับไปหาสัตวแพทย์
ที่มา thailand dog show