วันที่ 4 มิ.ย. 2567 ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศลงนามคำสั่งฝ่ายบริหาร ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ระงับการขอเข้าสหรัฐฯ ในฐานะผู้ลี้ภัยจากชายแดนเม็กซิโก หากจำนวนคนเข้าเมืองใน 1 สัปดาห์ เกินค่าเฉลี่ย 2,500 คนต่อวัน และจะเปิดชายแดนอีกครั้งเมื่อค่าเฉลี่ยลดลงเหลือต่ำกว่า 1,500 คนต่อวัน โดยคำสั่งนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เที่ยงคืนวันอังคาร 4 มิ.ย. 2567 เป็นต้นไป
จากการแถลงที่ทำเนียบขาว โจ ไบเดน ระบุว่ารีพับลิกันในสภาคองเกรสขัดขวางมาตรการชายแดนที่ 2 พรรคตกลงร่วมกัน ทำให้เขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องใช้คำสั่งฝ่ายบริหาร มีผลบังคับใช้ เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ จะสามารถส่งตัวผู้อพยพที่เข้าสู่สหรัฐฯ อย่างผิดกฎหมายกลับประเทศต้นทางได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง
- สลดใจ! ผู้อพยพ แทงคอ ตำรวจเยอรมัน กลางวงประท้วงอิสลาม เสียชีวิต
- ผิดอะไร? พนง.ถูกไล่ออก หลังอพยพหนีตาย จากเหตุไฟไหม้ที่มาบตาพุด
- ด่วน! ถังเก็บแก๊สโซลีนระยอง ถังที่ 3 ระเบิดแล้ว เร่งอพยพคนด่วน
ซึ่งหากโควตาในแต่ละวันเกินเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว โดยไม่ต้องเข้ากระบวนการตรวจสอบการขอลี้ภัย เว้นแต่จะเข้าข่ายยกเว้น เช่น เป็นเด็กที่ไม่มีผู้ใหญ่มาด้วย, เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์, ผู้ที่ต้องรับการรักษาพยาบาลเร่งด่วน หรือมีอันตรายต่อชีวิตและความปลอดภัยอย่างปัจจุบันทันด่วน
หากผู้อพยพมีความพยายามจะเข้ามาอีกครั้ง อาจต้องโทษซึ่งรวมถึงการห้ามเข้าสหรัฐฯ 5 ปี หรือถูกดำเนินคดีอาญา ซึ่งตั้งแต่โจ ไบเดนเข้ามาบริหารหยุดผู้อพยพไม่ให้เข้าประเทศอย่างผิดกฎหมายไปแล้วมากกว่า 6.4 ล้านคน
ซึ่งนะตอนนี้คำสั่งดังกล่าวยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังเป็นความพยายามสร้างความได้เปรียบในประเด็นเรื่องผู้อพยพ ก่อนที่ไบเดนกับโดนัลด์ ทรัมป์ คู่แข่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี จะดีเบตกันเป็นครั้งแรกในช่วงสิ้นเดือนนี้
หากพิจารณาแล้วว่าอาจเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และเป็นกฎหมายเดียวกับที่ โดนัลด์ ทรัมป์ เคยพยายามใช้ ห้ามชาวมุสลิมเข้าประเทศ ในสมัยที่เขาเป็นประธานาธิบดี แต่ถูกฟ้องร้องคัดค้าน และคำสั่งของ ไบเดน ก็ต้องเผชิญการต่อสู้ทางกฎหมายเช่นกัน
นายลี เกเลิร์นท์ รองผู้อำนวยการของ ACLU ย้ำว่า พวกเขาไม่ได้สนับสนุนให้รับทุกคนที่เป็นผู้ลี้ภัย แต่สหรัฐฯ ได้เคยให้สัญญาไว้แล้วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่า เราจะไม่ส่งใครกลับไปโดยไม่ทำการคัดกรองพวกเขาก่อน คำสั่งล่าสุดไม่แม้แต่จะคัดกรองด้วยซ้ำว่าพวกเขาตกอยู่ในอันตราย เพราะความเชื่อทางศาสนา หรือมุมมองทางการเมืองหรือไม่